กทม.ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ส่งมอบพื้นที่อาคารแดน 13 ปรับปรุงเป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ในเรือนจำกลางคลองเปรม รองรับผู้ถูกบังคับบำบัดได้กว่าพันคน หวังลดความแออัดสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังแดน 9 ต้องแบกรับถึง 1,400 คนในปัจจุบัน โดยใช้เวลา 10 เดือนดำเนินการ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ร่วมลงนามส่งมอบพื้นที่และอาคารแดน 13 ให้แก่บริษัท เวิลด์ เดสคอน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเพื่อไปดำเนินการปรับปรุงพื้นที่เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ผู้เสพ/ติดยาเสพติด เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดและดูแลผู้เสพที่เตรียมเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างทั่วถึง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ถูกคุมขัง ณ ห้องประชุมเรือนจำกลางคลองเปรม
นายอภิรักษ์ กล่าวในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ว่า ได้จัดสรรงบเบิกจ่ายเป็นกรณีพิเศษจากงบกลาง (กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการ กทม.) จำนวน 22.345 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาความแออัด ไม่พอเพียงของสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ผู้เสพ/ติดยาเสพติดที่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ทั้งนี้ จากดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดมาเป็นเวลากว่า 3 ปี พบว่า ในกรุงเทพฯมีผู้เสพมากเป็นร้อยละ 30 ของผู้เสพทั้งประเทศ ในขณะที่ปัจจุบันมีสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ เพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษมีนบุรี และสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี โดยเฉพาะสถานที่ควบคุมตัวฯ เรือนจำกลางคลองเปรม บรเวณแดน 9 สามารถรองรับผู้ที่ถูกควบคุมและรอการตรวจพิสูจน์ได้ 200 คน แต่สภาพความเป็นจริงต้องรองรับผู้ที่ถูกควบคุมและรอการตรวจพิสูจน์ ถึง 1,400 คนในขณะนี้ซึ่งจะต้องพักอยู่ในแดนนี้ถึง 45 วัน เพื่อแบ่งแยกว่าผู้ที่ต้องเข้ารักษาตัวตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ที่ถือว่าผู้เสพยาเป็นผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา จึงทำให้เกิดความแออัด ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเหมาะสมเท่าที่ควร กทม.จึงได้ร่วมกับกรมคุมประพฤติหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจัดหาสถานที่รองรับเพิ่ม ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้เสนอให้ปรับปรุงทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ (เดิม) ที่ไม่ได้ใช้การแล้ว มีเนื้อที่ 14 ไร่ เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ มีเรือนนอนคอนกรีต 3 ชั้น 2 หลัง สามารถรองรับผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ ได้นับพันคน อีกทั้งมีส่วนประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน เช่น โรงเลี้ยงอาหาร โรงครัว ที่อาบน้ำ ลานอเนกประสงค์ อาคารที่ทำการ โรงฝึกวิชาชีพ เป็นต้น โดยจะใช้เวลาในการปรับปรุงประมาณ 10 เดือน เมื่อปรับปรุงแล้วเสร็จจะทำให้มีสถานที่ควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ให้เหมาะสมกับปริมาณผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในกรุงเทพฯ และช่วยลดความแออัด ทำให้สามารถดูแลผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ดี้ขึ้นเมื่อเทียบกับสภาพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู จะทำให้การฟื้นฟูฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน กทม.อย่างยั่งยืน เพราะกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างถาวร คือ การแก้ไขที่กลุ่มผู้เสพ
“แนวโน้มของผู้ติดยาเสพติดมีเพิ่มขึ้นโดยทุกปีจะถูกจับกุมกว่า 15,000 ราย ในฐานะ คตส.กทม.ก็ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ป.ป.ส.และหน่วยงานอื่น โดยมีการแบ่งหน้าที่ มีมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยง เช่น จัดกิจกรรมตามโรงเรียน ศูนย์เยาวชน รวมถึงให้ความรู้สถานประกอบการที่มีแรงงานจำนวน และร่วมตรวจสถานบันเทิงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายอภิรักษ์ กล่าว
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ร่วมลงนามส่งมอบพื้นที่และอาคารแดน 13 ให้แก่บริษัท เวิลด์ เดสคอน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ชนะการประกวดราคาเพื่อไปดำเนินการปรับปรุงพื้นที่เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ผู้เสพ/ติดยาเสพติด เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดและดูแลผู้เสพที่เตรียมเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูอย่างทั่วถึง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ถูกคุมขัง ณ ห้องประชุมเรือนจำกลางคลองเปรม
นายอภิรักษ์ กล่าวในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) ว่า ได้จัดสรรงบเบิกจ่ายเป็นกรณีพิเศษจากงบกลาง (กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการ กทม.) จำนวน 22.345 ล้านบาท เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาความแออัด ไม่พอเพียงของสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ผู้เสพ/ติดยาเสพติดที่ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ทั้งนี้ จากดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดมาเป็นเวลากว่า 3 ปี พบว่า ในกรุงเทพฯมีผู้เสพมากเป็นร้อยละ 30 ของผู้เสพทั้งประเทศ ในขณะที่ปัจจุบันมีสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ เพียง 3 แห่งเท่านั้น คือ เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษมีนบุรี และสถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี โดยเฉพาะสถานที่ควบคุมตัวฯ เรือนจำกลางคลองเปรม บรเวณแดน 9 สามารถรองรับผู้ที่ถูกควบคุมและรอการตรวจพิสูจน์ได้ 200 คน แต่สภาพความเป็นจริงต้องรองรับผู้ที่ถูกควบคุมและรอการตรวจพิสูจน์ ถึง 1,400 คนในขณะนี้ซึ่งจะต้องพักอยู่ในแดนนี้ถึง 45 วัน เพื่อแบ่งแยกว่าผู้ที่ต้องเข้ารักษาตัวตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ที่ถือว่าผู้เสพยาเป็นผู้ป่วยต้องได้รับการรักษา จึงทำให้เกิดความแออัด ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ เนื่องจากไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและเหมาะสมเท่าที่ควร กทม.จึงได้ร่วมกับกรมคุมประพฤติหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยจัดหาสถานที่รองรับเพิ่ม ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้เสนอให้ปรับปรุงทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ (เดิม) ที่ไม่ได้ใช้การแล้ว มีเนื้อที่ 14 ไร่ เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ มีเรือนนอนคอนกรีต 3 ชั้น 2 หลัง สามารถรองรับผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ ได้นับพันคน อีกทั้งมีส่วนประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน เช่น โรงเลี้ยงอาหาร โรงครัว ที่อาบน้ำ ลานอเนกประสงค์ อาคารที่ทำการ โรงฝึกวิชาชีพ เป็นต้น โดยจะใช้เวลาในการปรับปรุงประมาณ 10 เดือน เมื่อปรับปรุงแล้วเสร็จจะทำให้มีสถานที่ควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ให้เหมาะสมกับปริมาณผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ในกรุงเทพฯ และช่วยลดความแออัด ทำให้สามารถดูแลผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ดี้ขึ้นเมื่อเทียบกับสภาพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู จะทำให้การฟื้นฟูฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน กทม.อย่างยั่งยืน เพราะกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างถาวร คือ การแก้ไขที่กลุ่มผู้เสพ
“แนวโน้มของผู้ติดยาเสพติดมีเพิ่มขึ้นโดยทุกปีจะถูกจับกุมกว่า 15,000 ราย ในฐานะ คตส.กทม.ก็ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ป.ป.ส.และหน่วยงานอื่น โดยมีการแบ่งหน้าที่ มีมาตรการให้ความรู้เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยง เช่น จัดกิจกรรมตามโรงเรียน ศูนย์เยาวชน รวมถึงให้ความรู้สถานประกอบการที่มีแรงงานจำนวน และร่วมตรวจสถานบันเทิงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” นายอภิรักษ์ กล่าว