กรมราชทัณฑ์รับมอบเงินสนับสนุน 22 ล้านจาก กทม.เพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่ควบคุมตัวผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์และบำบัดยาเสพติด อธิบดีเผยปัจจุบันยาเสพติดระบาดมากขึ้น คาดมีผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศกว่า 2 แสนคน
วันนี้ (13 ก.พ.) นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานรับมอบเงินสนับสนุน จำนวน 22,345,000 บาท จากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่และอาคารแดน 13 เรือนจำกลางคลองเปรม ให้เป็นสถานที่ควบคุมตัว ผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
นายวันชัย กล่าวว่า จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.51 สถิติของผู้ต้องขังที่กระทำผิดในเรือนจำในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด ประมาณ 73 เปอร์เซ็นต์ จากผู้ต้องขังทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นคดีที่ร้ายแรงอีกทั้งปัญหายาเสพติดเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้รับมอบหมายให้ดูแล ควบคุม ผู้อยู่ระหว่างรอตรวจพิสูจน์สารเสพติด แต่สถานที่เดิมมีความคับแคบ แออัดสามารถรองรับผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์ได้เพียง 200-300 คน แต่ภายหลัง พ.ร.บ.ฯ บังคับใช้ ปรากฏว่ามีผู้เข้ารับการตรวจสารเสพติดครั้งละประมาณ 1,000 กว่าคน ทำให้ต้องหาสถานที่ใหม่ ขณะเดียวกันก็ขาดแคลนงบประมาณเพราะทางกรมราชทัณฑ์ไม่คาดคิดว่าจะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า ต่อมาทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เข้ามาช่วยเหลือ โดยอนุมัติงบประมาณมาให้จำนวน 22 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่และอาคารภายในเรือนจำกลางคลองเปรมให้เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ ซึ่งจะกว้างขึ้น 4 เท่า ทำให้ลดความแออัดและดูแลผู้เสพยาเสพติดที่จะเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูต่อไปได้มากขึ้น ทั้งนี้ แนวโน้วของผู้ที่รอเข้ารับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดเพิ่มขึ้นทุกปี โดยขึ้นอยู่กับนโยบายปราบยาเสพติดของรัฐบาลด้วย หากมีการปราบปราบยาเสพติดอย่างเข้มข้นจะก็ทำให้มีการจับกุมผู้ที่เสพยาเสพติดมากขึ้น และตามกฎหมายหากมีการจับกุมก็จะส่งมาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลและบำบัด คือ กรมราชทัณฑ์และกรมคุมประพฤติ เป็นต้น
“ยาเสพติดระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีผู้ติดยาเสพติดรายใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้น การนำตัวผู้ติดยาเสพติดมาบำบัดถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง แต่ก็เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ชี้ว่ามีการผลิตและลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างมาก และยาเสพติดก็ยังระบาดอยู่ทั่วไป ผู้ที่เคยเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้วพบว่าจะกลับเข้ามาอีกน้อย แต่จะมีผู้เสพยาเสพติดที่เป็นหน้าใหม่เข้ามารับการบำบัดตลอดเวลา เป็นตัวชี้วัดที่น่าหนักใจ และคาดว่ามีผู้ที่ยาเสพติดทั่วประเทศประมาณ 2 แสนราย ซึ่งจะต้องได้รับการบำบัด” นายวันชัยกล่าว
วันนี้ (13 ก.พ.) นายวันชัย รุจนวงศ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานรับมอบเงินสนับสนุน จำนวน 22,345,000 บาท จากนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่และอาคารแดน 13 เรือนจำกลางคลองเปรม ให้เป็นสถานที่ควบคุมตัว ผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545
นายวันชัย กล่าวว่า จากการสำรวจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.51 สถิติของผู้ต้องขังที่กระทำผิดในเรือนจำในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด ประมาณ 73 เปอร์เซ็นต์ จากผู้ต้องขังทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นคดีที่ร้ายแรงอีกทั้งปัญหายาเสพติดเริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้รับมอบหมายให้ดูแล ควบคุม ผู้อยู่ระหว่างรอตรวจพิสูจน์สารเสพติด แต่สถานที่เดิมมีความคับแคบ แออัดสามารถรองรับผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์ได้เพียง 200-300 คน แต่ภายหลัง พ.ร.บ.ฯ บังคับใช้ ปรากฏว่ามีผู้เข้ารับการตรวจสารเสพติดครั้งละประมาณ 1,000 กว่าคน ทำให้ต้องหาสถานที่ใหม่ ขณะเดียวกันก็ขาดแคลนงบประมาณเพราะทางกรมราชทัณฑ์ไม่คาดคิดว่าจะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวต่อว่า ต่อมาทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เข้ามาช่วยเหลือ โดยอนุมัติงบประมาณมาให้จำนวน 22 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่และอาคารภายในเรือนจำกลางคลองเปรมให้เป็นสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ ซึ่งจะกว้างขึ้น 4 เท่า ทำให้ลดความแออัดและดูแลผู้เสพยาเสพติดที่จะเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูต่อไปได้มากขึ้น ทั้งนี้ แนวโน้วของผู้ที่รอเข้ารับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดเพิ่มขึ้นทุกปี โดยขึ้นอยู่กับนโยบายปราบยาเสพติดของรัฐบาลด้วย หากมีการปราบปราบยาเสพติดอย่างเข้มข้นจะก็ทำให้มีการจับกุมผู้ที่เสพยาเสพติดมากขึ้น และตามกฎหมายหากมีการจับกุมก็จะส่งมาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลและบำบัด คือ กรมราชทัณฑ์และกรมคุมประพฤติ เป็นต้น
“ยาเสพติดระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีผู้ติดยาเสพติดรายใหม่ตลอดเวลา ฉะนั้น การนำตัวผู้ติดยาเสพติดมาบำบัดถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง แต่ก็เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ชี้ว่ามีการผลิตและลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทยค่อนข้างมาก และยาเสพติดก็ยังระบาดอยู่ทั่วไป ผู้ที่เคยเข้ารับการบำบัดยาเสพติดแล้วพบว่าจะกลับเข้ามาอีกน้อย แต่จะมีผู้เสพยาเสพติดที่เป็นหน้าใหม่เข้ามารับการบำบัดตลอดเวลา เป็นตัวชี้วัดที่น่าหนักใจ และคาดว่ามีผู้ที่ยาเสพติดทั่วประเทศประมาณ 2 แสนราย ซึ่งจะต้องได้รับการบำบัด” นายวันชัยกล่าว