บริษัทถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของจีน เดินทางหารือกับ อภ.ครั้งแรก เยี่ยมชมโรงงานสร้างความมั่นใจ พร้อมเจรจาต่อรองเงินค่าตอบถ่ายทอดความรู้ เผยเตรียมจ้างเจ้าหน้าที่จากองค์การอนามัยโลกเป็นผู้จัดการโครงการดูแลการสร้างโรงงาน ด้านประธานบอร์ด อภ.มั่นใจ สร้างโรงงานวัคซีนไม่สะดุด เสร็จตามเป้า
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทน China National Biotech Group หรือ CMBG ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชีววัตถุ และวัคซีนของจีน ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อประชุมหารือกับคณะกรรมการบอร์ด อภ.รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านคุณภาพมาตรฐานเป็นครั้งแรก เพื่อเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน 2 ล้านเหรียญ ซื่งขณะนี้ อภ.ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ 1 ตัว จากทั้งหมด 3 ตัว และได้เริ่มทดลองผลิตวัคซีนตัวที่ 2 แล้ว หากประสบความสำเร็จจึงจะนำวัคซีนทั้ง 3 ตัวผสมกันเพื่อใช้สำหรับฉีด อย่างไรก็ตาม ในการผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังผลิตสูง มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากจีน
“ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนยินยอมสนับสนุนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแก่ไทย รวมทั้ง นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.และทีมงานในเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานหลายครั้ง ซึ่งบริษัท CMBG มีโรงงานที่อยู่ในสังกัดถึง 6 แห่ง แต่เนื่องจาก CMBG เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ มีหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะ ดังนั้น แม้รัฐบาลจีนจะสนับสนุน ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยน ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างการตกลงค่าตอบแทนเทคโนโลยีว่าจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ดี ได้พาตัวแทนบริษัท CMBG เยี่ยมชมโรงงานผลิตวัคซีนของไทย โดยเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ผลิตวัคซีนไข้สมองอักเสบที่ผลิตใช้ภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่า ไทยมีศักยภาพในการผลิตวัคซีน” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ โดยหลักการการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนอาจต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโรงงานแห่งแรก โดยเฉพาะขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย อภ.จะต้องส่งคนไปศึกษาดูงานอยู่ที่ประเทศจีน ขณะเดียวกัน ทางฝั่งเจ้าหน้าที่ของจีนก็จะต้องมาประจำอยู่ในประเทศไทย ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะต้องมีการคำนวณกันอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุข ได้ของบประมาณส่วนหนึ่งกับองค์การอนามัยโลกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้เงินจากงบประมาณรัฐบาลด้วย
“ในที่ประชุมเขาอยากให้เราเป็นคนเสนอ แต่เราไม่เคยทำโรงงานผลิตวัคซีนมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ เลยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เงินค่าถ่ายทอดเทคโนโลยีเท่าไหร่ ซึ่งทางบริษัทก็ได้นำเสนอรูปแบบต่างๆ ให้ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะมีรายละเอียดเยอะมาก นอกจากนี้ อภ.ได้ลงมติจ้างผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก 2 คน ให้เป็นผู้จัดการโครงการ เพื่อดูแลการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม แม้การเจรจาเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากจีนยังไม่ได้ข้อยุติแต่การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีน ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ด้วยงบประมาณ 1,400 ล้านบาท จะยังคงเป็นไปตามแผนการเดิม โดยเป็นการดำเนินการทั้ง 2 ด้าน พร้อมกัน ทั้งนี้ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างได้ในกลางปีนี้ โดยใช้เวลา 1-2 ปี การก่อสร้างจึงจะแล้วเสร็จ โดยโรงงานวัคซีนแห่งนี้จะมีกำลังผลิตสูงสุด 2 ล้านโด๊ส สามารถรองรับการระบาดใหญ่ได้ มีวัคซีนเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ
“มั่นใจว่า การสร้างโรงงานวัคซีนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำควบคู่กันไปเป็นคู่ขนาน ไม่น่าจะเกิดการสะดุด หรือติดขัดปัญหาประการใด และสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้มีการทำข้อตกลงในการสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับองค์การอนามัยโลก แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าอาจจะมีปัญหาอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทน China National Biotech Group หรือ CMBG ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชีววัตถุ และวัคซีนของจีน ได้เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อประชุมหารือกับคณะกรรมการบอร์ด อภ.รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านคุณภาพมาตรฐานเป็นครั้งแรก เพื่อเตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน 2 ล้านเหรียญ ซื่งขณะนี้ อภ.ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ 1 ตัว จากทั้งหมด 3 ตัว และได้เริ่มทดลองผลิตวัคซีนตัวที่ 2 แล้ว หากประสบความสำเร็จจึงจะนำวัคซีนทั้ง 3 ตัวผสมกันเพื่อใช้สำหรับฉีด อย่างไรก็ตาม ในการผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังผลิตสูง มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจากจีน
“ก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนยินยอมสนับสนุนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนแก่ไทย รวมทั้ง นพ.มงคล ณ สงขลา รมว.สธ.และทีมงานในเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานหลายครั้ง ซึ่งบริษัท CMBG มีโรงงานที่อยู่ในสังกัดถึง 6 แห่ง แต่เนื่องจาก CMBG เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ มีหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะ ดังนั้น แม้รัฐบาลจีนจะสนับสนุน ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยน ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างการตกลงค่าตอบแทนเทคโนโลยีว่าจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ดี ได้พาตัวแทนบริษัท CMBG เยี่ยมชมโรงงานผลิตวัคซีนของไทย โดยเป็นโรงงานขนาดเล็กที่ผลิตวัคซีนไข้สมองอักเสบที่ผลิตใช้ภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่า ไทยมีศักยภาพในการผลิตวัคซีน” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ โดยหลักการการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนอาจต้องใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโรงงานแห่งแรก โดยเฉพาะขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย อภ.จะต้องส่งคนไปศึกษาดูงานอยู่ที่ประเทศจีน ขณะเดียวกัน ทางฝั่งเจ้าหน้าที่ของจีนก็จะต้องมาประจำอยู่ในประเทศไทย ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่จะต้องมีการคำนวณกันอย่างรอบคอบ อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุข ได้ของบประมาณส่วนหนึ่งกับองค์การอนามัยโลกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้เงินจากงบประมาณรัฐบาลด้วย
“ในที่ประชุมเขาอยากให้เราเป็นคนเสนอ แต่เราไม่เคยทำโรงงานผลิตวัคซีนมาก่อน ไม่มีประสบการณ์ เลยไม่รู้ว่าจะต้องใช้เงินค่าถ่ายทอดเทคโนโลยีเท่าไหร่ ซึ่งทางบริษัทก็ได้นำเสนอรูปแบบต่างๆ ให้ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะมีรายละเอียดเยอะมาก นอกจากนี้ อภ.ได้ลงมติจ้างผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก 2 คน ให้เป็นผู้จัดการโครงการ เพื่อดูแลการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม แม้การเจรจาเพื่อให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนจากจีนยังไม่ได้ข้อยุติแต่การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีน ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ด้วยงบประมาณ 1,400 ล้านบาท จะยังคงเป็นไปตามแผนการเดิม โดยเป็นการดำเนินการทั้ง 2 ด้าน พร้อมกัน ทั้งนี้ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างได้ในกลางปีนี้ โดยใช้เวลา 1-2 ปี การก่อสร้างจึงจะแล้วเสร็จ โดยโรงงานวัคซีนแห่งนี้จะมีกำลังผลิตสูงสุด 2 ล้านโด๊ส สามารถรองรับการระบาดใหญ่ได้ มีวัคซีนเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ
“มั่นใจว่า การสร้างโรงงานวัคซีนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะทำควบคู่กันไปเป็นคู่ขนาน ไม่น่าจะเกิดการสะดุด หรือติดขัดปัญหาประการใด และสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนที่ได้มีการทำข้อตกลงในการสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับองค์การอนามัยโลก แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าอาจจะมีปัญหาอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่” นพ.วิชัย กล่าว