เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เผย เด็กกว่า 10 ราย เป็นไข้เลือดออกตาย เหตุไม่ได้รับยาโคลลอยด์ ที่ใช้รักษาไข้เลือดออกระยะวิกฤต แต่ญาติไม่เอาเรื่อง พร้อมระบุเรียกร้องไม่ได้อยากได้เงิน แต่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ นำยาบรรจุไว้ในบัญชียาของโรงพยาบาลชุมชน ขณะที่คดีเลื่อนการไต่สวน เป็นวันที่ 10 มีนาคมนี้
วันนี้ (4 ก.พ.) นางไพรวัน ทากางิ มารดาของน้องแพรว ผู้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะต้นสังกัดโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในข้อหาละเมิดทำให้ลูกสาวเสียชีวิต โดยเรียกข้อเสียหาย 10 ล้านบาท ได้เดินทางไปยังศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อขอความเมตตาต่อศาลให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เนื่องจากไม่มีเงินสำหรับเสียค่าธรรมเนียมศาลรวมแล้ว ประมาณ 2 แสนบาท โดยศาลได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม นี้ เนื่องจากอัยการในส่วนของ สธ.ไม่ได้มาให้การ
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า การที่เครือข่ายสนับสนุนให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากเข้าใจในความทุกข์ของญาติผู้ตาย แต่ไม่ได้เพียงต้องการให้ญาติได้รับเงินช่วยเหลือ หรือได้รับเงินค่าเสียหายเพียงเท่านั้น แต่ต้องการจะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ เนื่องจากทางโรงพยาบาล อ้างว่า การที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทัน มีสาเหตุมาจากการที่โรงพยาบาลชุมชนไม่มียาโคลลอยด์ (colloid) ที่ใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยระยะวิกฤต อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลกลับไม่ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มียา และเครื่องมือที่มีความพร้อมมากกว่า
“ขอเสนอให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งควรจะมียาดังกล่าว ในบัญชียา เพื่อพร้อมในการใช้ช่วยชีวิตเด็กจากโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่า มีเด็กกว่า 10 ราย ที่ต้องเสียชีวิตเนื่องจากไม่รับยาดังกล่าว โดยผู้ปกครองไม่อยากดำเนินการฟ้องร้อง”นางปรียนันท์ กล่าว
นางปรียนันท์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ได้ขอให้ สธ.ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อที่จะไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ แต่ก็ยังไม่มีการแต่งตั้งแต่อย่างใด ไม่เคยทราบเรื่องเลย โดยภาคประชาชนต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย แต่ สธ.ก็ทำเหมือนไม่ให้ความสำคัญกับคนไข้ อย่างไรก็ตาม สำหรับร่าง พ.ร.บ.กองทุนชดเชย ผู้ได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์ ซึ่งหลายหน่วยงานช่วยกันผลักดันอยู่ รัฐบาลใหม่น่าจะสานต่อ โดยที่ไม่ต้องกลับไปนับ 1 อีกแล้ว จึงขึ้นอยู่กับกฎหมายจะสามารถบังคับใช้ได้ช้าหรือเร็วเท่านั้น
วันนี้ (4 ก.พ.) นางไพรวัน ทากางิ มารดาของน้องแพรว ผู้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะต้นสังกัดโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในข้อหาละเมิดทำให้ลูกสาวเสียชีวิต โดยเรียกข้อเสียหาย 10 ล้านบาท ได้เดินทางไปยังศาลจังหวัดนนทบุรี เพื่อขอความเมตตาต่อศาลให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา เนื่องจากไม่มีเงินสำหรับเสียค่าธรรมเนียมศาลรวมแล้ว ประมาณ 2 แสนบาท โดยศาลได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม นี้ เนื่องจากอัยการในส่วนของ สธ.ไม่ได้มาให้การ
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า การที่เครือข่ายสนับสนุนให้มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากเข้าใจในความทุกข์ของญาติผู้ตาย แต่ไม่ได้เพียงต้องการให้ญาติได้รับเงินช่วยเหลือ หรือได้รับเงินค่าเสียหายเพียงเท่านั้น แต่ต้องการจะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ เนื่องจากทางโรงพยาบาล อ้างว่า การที่ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทัน มีสาเหตุมาจากการที่โรงพยาบาลชุมชนไม่มียาโคลลอยด์ (colloid) ที่ใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยระยะวิกฤต อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลกลับไม่ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มียา และเครื่องมือที่มีความพร้อมมากกว่า
“ขอเสนอให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งควรจะมียาดังกล่าว ในบัญชียา เพื่อพร้อมในการใช้ช่วยชีวิตเด็กจากโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ที่ผ่านมาพบว่า มีเด็กกว่า 10 ราย ที่ต้องเสียชีวิตเนื่องจากไม่รับยาดังกล่าว โดยผู้ปกครองไม่อยากดำเนินการฟ้องร้อง”นางปรียนันท์ กล่าว
นางปรียนันท์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ได้ขอให้ สธ.ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อที่จะไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ แต่ก็ยังไม่มีการแต่งตั้งแต่อย่างใด ไม่เคยทราบเรื่องเลย โดยภาคประชาชนต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วย แต่ สธ.ก็ทำเหมือนไม่ให้ความสำคัญกับคนไข้ อย่างไรก็ตาม สำหรับร่าง พ.ร.บ.กองทุนชดเชย ผู้ได้รับความเสียหายจากบริการทางการแพทย์ ซึ่งหลายหน่วยงานช่วยกันผลักดันอยู่ รัฐบาลใหม่น่าจะสานต่อ โดยที่ไม่ต้องกลับไปนับ 1 อีกแล้ว จึงขึ้นอยู่กับกฎหมายจะสามารถบังคับใช้ได้ช้าหรือเร็วเท่านั้น