สธ.ป้องโรงพยาบาลบางใหญ่ ชี้ดูแล “น้องแพรว” เหยื่อไข้เลือดออกที่เสียชีวิตรักษาตามมาตรฐานเต็มที่ ด้านผู้เชี่ยวชาญโรคไข้เลือดออกยืนยันยาคอลลอยด์ที่ใช้รักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก เพื่อทดแทนน้ำเหลืองมีความจำเป็นเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น อีกร้อยละ 80 สามารถดูแลประคับประคองตามอาการได้
จากกรณีที่นางไพรวัน ทากางิ ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะต้นสังกัดของโรงพยาบาลบางใหญ่ ในข้อหาละเมิดทำให้ลูกสาว คือน้องแพรว อายุ 15 ปี เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก โดยเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท นั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รับการร้องเรียนเมื่อเดือนมกราคม 2550 และตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550
โดย น้องแพรว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 โดยโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ให้การรักษาโรคไข้เลือดออกตามแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 ของโรงพยาบาลชุมชน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2549 ประมาณเวลา 01.00 น.อาการน้องแพรวอยู่ในภาวะช็อกระดับที่ 2 แต่ยังรู้สึกตัวดีอยู่
จึงได้ส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อให้ได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง เมื่อไปถึงได้รับการดูแลโดยมีการให้ยาเดกซ์แตรน (Dextran) ซึ่งเป็นคอลลอยด์ (colloid) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำเหลืองเข้าไปในช่องปอดและช่องท้อง
แต่เนื่องจากห้องผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเต็ม ทางโรงพยาบาลจึงรับตัวผู้ป่วยไว้ที่ ตึกอายุรกรรมโดยได้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และเวลาประมาณ 05.00 น.มารดาผู้ป่วยได้นำตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนนทเวช จังหวัดนนทบุรี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 09.30 น.ซึ่งขอยืนยันว่าทางทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
ในเบื้องต้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้พิจารณาชดเชยค่าเสียหายตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเงิน 120,000 บาท แต่ทางมารดาผู้เสียชีวิตต้องการ 200,000 บาท ซึ่งเกินอำนาจการจัดการของจังหวัดจึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ยกคำฟ้องเนื่องจากโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ทำการรักษาน้องแพรวตามแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 แล้ว
ด้านศาสตราจารย์คลินิก (พิเศษ) พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ หัวหน้าศูนย์โรคไข้เลือดออกสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กล่าวว่า ยาคอลลอยด์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกนั้น เป็นยาที่มีความเข้มข้นกว่าน้ำเลือด จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำเหลืองมาก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีความจำเป็นใช้ยาชนิดนี้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น อีกร้อยละ 80 สามารถให้การรักษาตามอาการเพื่อป้องกันภาวะช็อค โดยยาคอลลอยด์ขณะนี้มีใช้ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนนั้นมีใช้เป็นบางแห่ง แต่ไม่ใช่ปัญหาในการรักษาแต่อย่างใด เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีระบบการส่งต่อผู้ป่วย และทำงานอย่างเป็นเครือข่าย เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว
จากกรณีที่นางไพรวัน ทากางิ ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะต้นสังกัดของโรงพยาบาลบางใหญ่ ในข้อหาละเมิดทำให้ลูกสาว คือน้องแพรว อายุ 15 ปี เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก โดยเรียกค่าเสียหาย 10 ล้านบาท นั้น
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รับการร้องเรียนเมื่อเดือนมกราคม 2550 และตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550
โดย น้องแพรว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบางใหญ่ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 โดยโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ให้การรักษาโรคไข้เลือดออกตามแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 ของโรงพยาบาลชุมชน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2549 ประมาณเวลา 01.00 น.อาการน้องแพรวอยู่ในภาวะช็อกระดับที่ 2 แต่ยังรู้สึกตัวดีอยู่
จึงได้ส่งตัวผู้ป่วยไปโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าซึ่งเป็นโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อให้ได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง เมื่อไปถึงได้รับการดูแลโดยมีการให้ยาเดกซ์แตรน (Dextran) ซึ่งเป็นคอลลอยด์ (colloid) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำเหลืองเข้าไปในช่องปอดและช่องท้อง
แต่เนื่องจากห้องผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเต็ม ทางโรงพยาบาลจึงรับตัวผู้ป่วยไว้ที่ ตึกอายุรกรรมโดยได้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และเวลาประมาณ 05.00 น.มารดาผู้ป่วยได้นำตัวผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนนทเวช จังหวัดนนทบุรี และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2549 เวลาประมาณ 09.30 น.ซึ่งขอยืนยันว่าทางทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งได้ดูแลผู้ป่วยอย่างดีที่สุด
ในเบื้องต้นทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้พิจารณาชดเชยค่าเสียหายตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเงิน 120,000 บาท แต่ทางมารดาผู้เสียชีวิตต้องการ 200,000 บาท ซึ่งเกินอำนาจการจัดการของจังหวัดจึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ยกคำฟ้องเนื่องจากโรงพยาบาลบางใหญ่ได้ทำการรักษาน้องแพรวตามแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ปี 2548 แล้ว
ด้านศาสตราจารย์คลินิก (พิเศษ) พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ หัวหน้าศูนย์โรคไข้เลือดออกสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี กล่าวว่า ยาคอลลอยด์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกนั้น เป็นยาที่มีความเข้มข้นกว่าน้ำเลือด จะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำเหลืองมาก ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกมีความจำเป็นใช้ยาชนิดนี้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น อีกร้อยละ 80 สามารถให้การรักษาตามอาการเพื่อป้องกันภาวะช็อค โดยยาคอลลอยด์ขณะนี้มีใช้ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชนนั้นมีใช้เป็นบางแห่ง แต่ไม่ใช่ปัญหาในการรักษาแต่อย่างใด เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีระบบการส่งต่อผู้ป่วย และทำงานอย่างเป็นเครือข่าย เพื่อดูแลประชาชนอย่างดีที่สุดอยู่แล้ว