สปสช.เผย ผู้ประกันตนทุพพลภาพไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ เหตุติดขัดข้อกฎหมาย เนื่องจากยังได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมเดือนละไม่เกิน 2,000 บ.ตลอดชีวิต เสนอหากจะให้ใช้สิทธิบัตรทอง ต้องแก้กฎหมายประกันสังคม หรือให้บอร์ดของทั้ง 2 ฝ่ายหารือเพื่อขยายบริการ
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งเดิมใช้สิทธิระบบประกันสังคม แต่ทุพพลภาพ ความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง และคิดว่า สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น โดยหลักการแล้ว สปสช.ยินดีให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ติดขัดทางข้อกฎหมาย เนื่องจากข้อเท็จจริง คือ ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพนั้นมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ดังนั้น แม้ความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลงหรือไม่ก็ตาม หากผู้ทุพพลภาพนั้นได้รับค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานประกันสังคม ก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามมาตรา 10 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเจตนารมณ์มิให้เกิดความซ้ำซ้อนในระบบการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาล อีกทั้งในการขอรับเงินงบประมาณแผ่นดินของ สปสช.ก็มิได้นำบุคคลที่ได้รับสิทธิจากกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมมาเป็นฐานในการคำนวณขอรับเงินงบประมาณด้วย ดังนั้น ผู้ทุพพลภาพผู้ใดที่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน จึงไม่สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า เพื่อให้ผู้ที่ทุพพลภาพในกรณีดังกล่าว สามารถได้สิทธิรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น สปสช.มีข้อเสนอว่า ให้สำนักงานประกันสังคมเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมให้มีการตกลงกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขยายบริการ หรือให้แก้ไขประกาศของสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เพื่อเพิ่มสิทธิด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ หรือแก้ไขกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม มิให้มีบทบัญญัติกำหนดประโยชน์ทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับกรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ
นพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งเดิมใช้สิทธิระบบประกันสังคม แต่ทุพพลภาพ ความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง และคิดว่า สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น โดยหลักการแล้ว สปสช.ยินดีให้ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพใช้สิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ติดขัดทางข้อกฎหมาย เนื่องจากข้อเท็จจริง คือ ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพนั้นมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ดังนั้น แม้ความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลงหรือไม่ก็ตาม หากผู้ทุพพลภาพนั้นได้รับค่ารักษาพยาบาลจากสำนักงานประกันสังคม ก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามมาตรา 10 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเจตนารมณ์มิให้เกิดความซ้ำซ้อนในระบบการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาล อีกทั้งในการขอรับเงินงบประมาณแผ่นดินของ สปสช.ก็มิได้นำบุคคลที่ได้รับสิทธิจากกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมมาเป็นฐานในการคำนวณขอรับเงินงบประมาณด้วย ดังนั้น ผู้ทุพพลภาพผู้ใดที่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน จึงไม่สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า เพื่อให้ผู้ที่ทุพพลภาพในกรณีดังกล่าว สามารถได้สิทธิรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น สปสช.มีข้อเสนอว่า ให้สำนักงานประกันสังคมเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมให้มีการตกลงกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อขยายบริการ หรือให้แก้ไขประกาศของสำนักงานประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ เพื่อเพิ่มสิทธิด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ หรือแก้ไขกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม มิให้มีบทบัญญัติกำหนดประโยชน์ทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับกรณีผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ