“เด็กแอลดี” คือ คำเรียกขานเด็กกลุ่มที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ คนส่วนใหญ่ที่ไม่เข้าใจภาวะแอลดีอย่างถ่องแท้จะมองว่าเด็กแอลดีเป็นเด็กไอคิวต่ำ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กแอลดีโดยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีไอคิวเท่าเด็กปกติ ซ้ำบางส่วนยังมีไอคิวสูงกว่าเด็กปกติเสียด้วย แต่ปัญหาที่ทำให้เด็กแอลดีเหล่านี้ไม่สามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กอื่นๆ อยู่ที่ระบบการประมวลผลในสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งในอดีตอาจจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อยที่จะทำให้เด็กเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ แต่ในปัจจุบันกับการพัฒนาคิดค้นรูปแบบการศึกษาพิเศษของเหล่านักวิชาการ ทำให้เด็กแอลดีมีช่องทางในการเรียนรู้และศึกษาได้มากขึ้น
ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง ผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) ม.ราชภัฏสวนดุสิต นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษเปิดเผยถึงการสังเกตลักษณะแอลดี หรือ Learning Disabilities ว่าส่วนใหญ่พ่อแม่ผู้ปกครองจะพบอาการนี้ในลูกวัยเข้าโรงเรียน ช่วงประมาณอนุบาล 2 จะพบมากที่สุด
“คือ อาการช่วงเด็กๆ ก่อนวัยเรียนจะสังเกตไม่ได้ชัดมากนัก จะชัดจริงๆ ตอนเข้าโรงเรียน เพราะลักษณะแอลดีที่ชัดมาก คือ เด็กมีปัญหาในการอ่านและเขียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนไปได้ระยะหนึ่ง ประมาณชั้นอนุบาล 2 ที่ควรจะเริ่มอ่านเรียนเขียนได้บ้าง จะเริ่มสังเกตได้ในระยะนั้นเมื่อเด็กอื่นๆ เริ่มหัดเขียนหัดอ่านได้ แต่ลูกเราอ่านหรือเขียนไม่ได้เลย โดยมากแล้วครูจะเป็นผู้พบปัญหานี้ก่อนเพราะใกล้ชิดเด็กมากกว่า”
ดร.มลิวัลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อครูนำปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มาบอกพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับเด็กโชคร้ายบางคนก็จะถูกทำโทษและถูกพ่อแม่ดุด่าว่าขี้เกียจ ไม่เอาใจใส่การเรียน โดยละเลยที่จะหาเหตุผลที่แท้จริงในปัญหาที่เด็กไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้ และเมื่อมีปัญหามากๆ เข้า พ่อแม่บางคนก็จะตีตราที่หน้าผากลูกหลานผู้โชคร้ายคนนั้นไปเลยว่า “เด็กโง่” หรือเด็ก “หัวไม่ดี” ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยพบว่า มีเด็กที่เป็นเด็กแอลดีอยู่ประมาณ 600,000 คน
ดร.มลิวัลย์ ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า หากเป็นในอดีต อาจจะมีเด็กเป็นจำนวนมากในจำนวน 600,000 คนนี้ ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย แต่นับว่าเคราะห์ดีที่ในปัจจุบันนี้บรรดานักวิชาการผู้ค้นคว้ารูปแบบการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิเศษ ได้พยายามคิดค้นหลักสูตรโปรแกรมการศึกษาพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรองเด็กแอลดีออกจากเด็กปกติ รวมถึงวิธีการสอนที่หาทางให้เด็กแอลดีสามารถเข้าถึงการศึกษาและสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กปกติคนอื่นๆ
“ที่สำคัญมาก ก็คือ อยากให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูมาเรียนเพิ่มเติมด้านการศึกษาพิเศษเพิ่มเติม โดยมีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี เพื่อนำวิชาการศึกษาพิเศษไปสอนเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเริ่มจากครูที่มีลูกศิษย์เป็นเด็กพิเศษ” อ.มลิวัลย์ ทิ้งท้าย
ด้าน ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู อดีตหัวหน้าภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ขยายความว่า ปัจจุบันปัญหาเด็กแอลดีเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ และยืนยันว่าหากเด็กแอลดีได้รับการศึกษาพิเศษที่ถูกวิธี จะสามารถเรียนรู้ได้เท่าเด็กปกติ
อ.ผดุง กล่าวต่อไปอีกว่า เด็กแอลดีสามารถพัฒนาศักยภาพการอ่านเขียนของตัวเองได้ แต่จะได้มากน้อยแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับความผิดปกติของระบบการประมวลผลของแต่ละคนด้วยว่าเป็นมากน้อยเท่าใด ที่ผ่านมามีการพยายามสอนเด็กแอลดี แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นั่นเพราะการสอนที่ผิดวิธี
“พ่อแม่นี่สำคัญมาก ต้องทำงานร่วมกับครู ต้องคอยสังเกตบุตรหลานว่ามีความผิดปกติไหม ถ้ายิ่งสังเกตได้เร็ว ก็จะพามาพบได้เร็ว เคยมีประสบการณ์พ่อแม่พาลูกที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มาหา แล้วมาถามว่าลูกเป็นอะไร ก็ต้องสังเกตพ่อแม่เหมือนกันว่ารับได้มากน้อยแค่ไหน บางคนพอรู้ว่าลูกเป็นแอลดีก็ช็อก เคยเจอทั้งช็อกมากช็อกน้อย ตอนเราบอกผู้ปกครองก็ต้องดูเหมือนกันว่าคุณพ่อคุณแม่รับได้มากแค่ไหน”
“สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการสอนเด็กแอลดี คือ ต้องรู้ว่าเด็กแอลดีเหล่านี้มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร เช่นหาเขาเรียนรู้รับรู้ได้ด้วยการมอง ไม่ใช่การอ่าน เขาเห็นภาพเป็นรูปทรงได้ เห็นโลโก้แล้วเข้าใจ เราสามารถให้การศึกษาเขาได้ด้วยการให้เขามองรูปภาพที่มี Concept ที่เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหา ซึ่งวิธีการนี้เหมาะกับการนำมาสอนเด็กแอลดีในวิชาสังคม เลข วิทยาศาสตร์”
ศ.ดร.ผดุง ให้ภาพการสอนด้วย Concept จากรูปภาพ โดยยกตัวอย่างให้ชัดเจนด้วยการอธิบายตัวอย่างการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบการศึกษาพิเศษว่า หากเด็กจำตัวเลขไม่ได้ ควรให้มองภาพและสอนแบบการนับจำนวนภาพที่เพิ่มขึ้น ลดลง แทนการบวกหรือลบ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าในความคิดรวบยอดของสาระการสอนคณิตศาสตร์นั้นๆ แต่ถ้าเป็นวิชาเนื้อหาจะสอนด้วยวิธีอ่านให้ฟัง ซึ่งแม้การอ่านจะเป็นอุปสรรคในการรับสาระ แต่การฟังเนื้อหาวิชาที่มีคนอ่านให้ฟังนั้น เด็กแอลดีจะสามารถประมวลผลจากการฟังได้ และได้ความรู้ไม่ต่างจากที่เด็กปกติอ่านหนังสือ
เมื่อถามต่อถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กแอลดี ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า เมื่อพ่อแม่พาบุตรหลานที่เป็นแอลดีมาเตรียมความพร้อมกับนักการศึกษาพิเศษได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็สมควรจะให้เข้าโรงเรียนโดยศึกษาร่วมกับเด็กปกติ เพราะเด็กแอลดีเองก็จำเป็นต้องมีสังคม มีเพื่อน และเรียนรู้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในโรงเรียน
“การให้เด็กแอลดีเรียนร่วมกับเด็กปกติเป็นเรื่องจำเป็นต่อชีวิตของเขาเอง เพราะเขาจะพัฒนาไปตามสังคมของเด็กปกติ รู้จักช่วยตัวเองให้ทันคนอื่น และในขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับความช่วยเหลือจากเด็กปกติคนอื่นๆ เช่นในกรณีของการอ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น” ศ.ดร.ผดุง กล่าว
ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีปัญหามีบุตรหลานเป็นเด็กแอลดี สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษอย่าง ศ.ดร.ผดุง ได้ที่คลินิกแอลดีที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-2445000 ต่อ 5530
ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง ผู้อำนวยการหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ) ม.ราชภัฏสวนดุสิต นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษเปิดเผยถึงการสังเกตลักษณะแอลดี หรือ Learning Disabilities ว่าส่วนใหญ่พ่อแม่ผู้ปกครองจะพบอาการนี้ในลูกวัยเข้าโรงเรียน ช่วงประมาณอนุบาล 2 จะพบมากที่สุด
“คือ อาการช่วงเด็กๆ ก่อนวัยเรียนจะสังเกตไม่ได้ชัดมากนัก จะชัดจริงๆ ตอนเข้าโรงเรียน เพราะลักษณะแอลดีที่ชัดมาก คือ เด็กมีปัญหาในการอ่านและเขียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนไปได้ระยะหนึ่ง ประมาณชั้นอนุบาล 2 ที่ควรจะเริ่มอ่านเรียนเขียนได้บ้าง จะเริ่มสังเกตได้ในระยะนั้นเมื่อเด็กอื่นๆ เริ่มหัดเขียนหัดอ่านได้ แต่ลูกเราอ่านหรือเขียนไม่ได้เลย โดยมากแล้วครูจะเป็นผู้พบปัญหานี้ก่อนเพราะใกล้ชิดเด็กมากกว่า”
ดร.มลิวัลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อครูนำปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มาบอกพ่อแม่ผู้ปกครอง สำหรับเด็กโชคร้ายบางคนก็จะถูกทำโทษและถูกพ่อแม่ดุด่าว่าขี้เกียจ ไม่เอาใจใส่การเรียน โดยละเลยที่จะหาเหตุผลที่แท้จริงในปัญหาที่เด็กไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้ และเมื่อมีปัญหามากๆ เข้า พ่อแม่บางคนก็จะตีตราที่หน้าผากลูกหลานผู้โชคร้ายคนนั้นไปเลยว่า “เด็กโง่” หรือเด็ก “หัวไม่ดี” ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยพบว่า มีเด็กที่เป็นเด็กแอลดีอยู่ประมาณ 600,000 คน
ดร.มลิวัลย์ ให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า หากเป็นในอดีต อาจจะมีเด็กเป็นจำนวนมากในจำนวน 600,000 คนนี้ ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย แต่นับว่าเคราะห์ดีที่ในปัจจุบันนี้บรรดานักวิชาการผู้ค้นคว้ารูปแบบการศึกษาพิเศษเพื่อเด็กพิเศษ ได้พยายามคิดค้นหลักสูตรโปรแกรมการศึกษาพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรองเด็กแอลดีออกจากเด็กปกติ รวมถึงวิธีการสอนที่หาทางให้เด็กแอลดีสามารถเข้าถึงการศึกษาและสามารถเรียนรู้ได้เหมือนเด็กปกติคนอื่นๆ
“ที่สำคัญมาก ก็คือ อยากให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครูมาเรียนเพิ่มเติมด้านการศึกษาพิเศษเพิ่มเติม โดยมีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี เพื่อนำวิชาการศึกษาพิเศษไปสอนเด็กพิเศษได้อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเริ่มจากครูที่มีลูกศิษย์เป็นเด็กพิเศษ” อ.มลิวัลย์ ทิ้งท้าย
ด้าน ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู อดีตหัวหน้าภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ขยายความว่า ปัจจุบันปัญหาเด็กแอลดีเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ และยืนยันว่าหากเด็กแอลดีได้รับการศึกษาพิเศษที่ถูกวิธี จะสามารถเรียนรู้ได้เท่าเด็กปกติ
อ.ผดุง กล่าวต่อไปอีกว่า เด็กแอลดีสามารถพัฒนาศักยภาพการอ่านเขียนของตัวเองได้ แต่จะได้มากน้อยแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับความผิดปกติของระบบการประมวลผลของแต่ละคนด้วยว่าเป็นมากน้อยเท่าใด ที่ผ่านมามีการพยายามสอนเด็กแอลดี แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นั่นเพราะการสอนที่ผิดวิธี
“พ่อแม่นี่สำคัญมาก ต้องทำงานร่วมกับครู ต้องคอยสังเกตบุตรหลานว่ามีความผิดปกติไหม ถ้ายิ่งสังเกตได้เร็ว ก็จะพามาพบได้เร็ว เคยมีประสบการณ์พ่อแม่พาลูกที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มาหา แล้วมาถามว่าลูกเป็นอะไร ก็ต้องสังเกตพ่อแม่เหมือนกันว่ารับได้มากน้อยแค่ไหน บางคนพอรู้ว่าลูกเป็นแอลดีก็ช็อก เคยเจอทั้งช็อกมากช็อกน้อย ตอนเราบอกผู้ปกครองก็ต้องดูเหมือนกันว่าคุณพ่อคุณแม่รับได้มากแค่ไหน”
“สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการสอนเด็กแอลดี คือ ต้องรู้ว่าเด็กแอลดีเหล่านี้มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร เช่นหาเขาเรียนรู้รับรู้ได้ด้วยการมอง ไม่ใช่การอ่าน เขาเห็นภาพเป็นรูปทรงได้ เห็นโลโก้แล้วเข้าใจ เราสามารถให้การศึกษาเขาได้ด้วยการให้เขามองรูปภาพที่มี Concept ที่เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหา ซึ่งวิธีการนี้เหมาะกับการนำมาสอนเด็กแอลดีในวิชาสังคม เลข วิทยาศาสตร์”
ศ.ดร.ผดุง ให้ภาพการสอนด้วย Concept จากรูปภาพ โดยยกตัวอย่างให้ชัดเจนด้วยการอธิบายตัวอย่างการสอนวิชาคณิตศาสตร์แบบการศึกษาพิเศษว่า หากเด็กจำตัวเลขไม่ได้ ควรให้มองภาพและสอนแบบการนับจำนวนภาพที่เพิ่มขึ้น ลดลง แทนการบวกหรือลบ ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าในความคิดรวบยอดของสาระการสอนคณิตศาสตร์นั้นๆ แต่ถ้าเป็นวิชาเนื้อหาจะสอนด้วยวิธีอ่านให้ฟัง ซึ่งแม้การอ่านจะเป็นอุปสรรคในการรับสาระ แต่การฟังเนื้อหาวิชาที่มีคนอ่านให้ฟังนั้น เด็กแอลดีจะสามารถประมวลผลจากการฟังได้ และได้ความรู้ไม่ต่างจากที่เด็กปกติอ่านหนังสือ
เมื่อถามต่อถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนของเด็กแอลดี ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า เมื่อพ่อแม่พาบุตรหลานที่เป็นแอลดีมาเตรียมความพร้อมกับนักการศึกษาพิเศษได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็สมควรจะให้เข้าโรงเรียนโดยศึกษาร่วมกับเด็กปกติ เพราะเด็กแอลดีเองก็จำเป็นต้องมีสังคม มีเพื่อน และเรียนรู้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นในโรงเรียน
“การให้เด็กแอลดีเรียนร่วมกับเด็กปกติเป็นเรื่องจำเป็นต่อชีวิตของเขาเอง เพราะเขาจะพัฒนาไปตามสังคมของเด็กปกติ รู้จักช่วยตัวเองให้ทันคนอื่น และในขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับความช่วยเหลือจากเด็กปกติคนอื่นๆ เช่นในกรณีของการอ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น” ศ.ดร.ผดุง กล่าว
ทั้งนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีปัญหามีบุตรหลานเป็นเด็กแอลดี สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษอย่าง ศ.ดร.ผดุง ได้ที่คลินิกแอลดีที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-2445000 ต่อ 5530