สธ.แจ้งทุกจังหวัดเร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดอักเสบ อย่างเคร่งครัด เผยขณะนี้สำรองยาไว้ 2 ล้านเม็ด ส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่งแล้ว พร้อมมจัดตั้ง “สำนักโรคอุบัติใหม่” รับมือหวัดนก
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวก่อนเข้าประชุมคณะกรรมการควบคุมภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข โดยยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก และยังไม่พบการกลายพันธุ์ของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 อย่างไม่มีนัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการติดต่อไข้หวัดนกจากคนสู่คน หรือติดต่อในวงกว้างที่จะทำให้เกิดการระบาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดนกมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา แต่เป็นการเปลี่ยนเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านั้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ สธ.ได้ทำหนังสือแจ้งสาธารณสุขทุกจังหวัด ให้ตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยเร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดอักเสบ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถตรวจจับโรคไข้หวัดนกได้แต่เนิ่นๆ เพื่อนำไปสู่การสอบสวน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ ตลอดจนการรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม รวดเร็ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สธ.ไม่เคยหยุดการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก มีการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มาตั้งแต่ปี 2547 ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ ไข้หวัด และมีประวัติสัมผัสไก่ตาย จะส่งเสมหะตรวจทุกราย ซึ่งในปี 2547 ส่งตรวจ 10,000 ราย พบผู้ป่วย 17 ราย ปี 2548 ส่งตรวจ 8,000 ราย พบผู้ป่วย 5 ราย ปี 2549 ส่งตรวจ 5,000 ราย พบผู้ป่วย 3 ราย และในปี 2550 ส่งตรวจ 2,100 ราย ไม่พบผู้ป่วยแต่อย่างใด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการควบคุมภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขนั้น ได้ข้อสรุปว่า มาตรการและแนวทางที่ได้ดำเนินการนั้น มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกมาเป็นเวลา 17 เดือนแล้ว และขณะนี้กรมควบคุมโรคได้สำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไว้ประมาณ 2 ล้านเม็ด โดยส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่งสตอกไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่สำนักงานควบคุมโรคและส่วนกลาง
“ส่วนการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ ที่มีความกังวลว่าอาจจะเกิดการดื้อยา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีมีการดื้อยาบางอยู่แล้วหากใช้ในปริมาณเกินความจำเป็น หรือปัญหาที่กังวลว่า อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นอย่างในบางประเทศก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะประเทศดังกล่าวมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงอยู่แล้ว ดังนั้น สธ.จะยังไม่มีการทบทวนวิธีการให้ยาในขณะนี้แต่ยืนยันจะให้ยาเฉพาะผู้ที่สัมผัสไก่ป่วยหรือตายและผู้ที่มีประวัติปอดอักเสบเท่านั้น เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าวและว่า ส่วนเรื่องการเตรียมความพร้อมซ้อมแผนรับมือไข้หวัดนก ทั้งในระดับกระทรวงและจังหวัดมีการซ้อมปีละ 1 ครั้ง ในระดับรัฐบาลได้กำหนดการซ้อมแผนอยู่ในยุทธศาสตร์ระดับประเทศแล้ว
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการประชุมปรับโครงสร้างภายในกระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ (28 ม.ค.) ที่ประชุมได้อนุมัติการปรับโครงสร้างงานภายในกรมควบคุมโรคตามที่ได้เสนอ โดยได้มีการจัดตั้งสำนักโรคอุบัติใหม่ เพื่อรับมือการแพร่ระบาดทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานรองรับชัดเจน ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปที่เป็นงานประจำ แต่เป็นโรคที่เข้ามาใหม่ในประเทศที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่คอยติดตาม ไม่เช่นนั้นผลกระทบจะตกอยู่กับประชาชนโดยตรงหากเกิดการแพร่ระบาดใหญ่
นพ.ธวัช กล่าวด้วยว่า การที่ยกระดับเป็นสำนักจะสอดรับกับงบประมาณและกำลังคนของประเทศ จากเดิมที่ใช้วิธีการดึงคนและทรัพยากร งบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะงบประมาณดำเนินงานที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะการที่ไม่มีหน่วยงานชัดเจน ทำให้ต้องพึงพาหน่วยงานอื่นๆ มีปัญหาการเบิกจ่าย และที่ผ่านมา เป็นการดำเนินงานทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก อาศัยงบกลางเข้าช่วย แต่หลังจากนี้ เมื่อมีหน่วยงานชัดเจนแล้ว จะทำให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะแก้ไข
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวก่อนเข้าประชุมคณะกรรมการควบคุมภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข โดยยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก และยังไม่พบการกลายพันธุ์ของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 อย่างไม่มีนัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการติดต่อไข้หวัดนกจากคนสู่คน หรือติดต่อในวงกว้างที่จะทำให้เกิดการระบาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไข้หวัดนกมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา แต่เป็นการเปลี่ยนเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านั้น
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ สธ.ได้ทำหนังสือแจ้งสาธารณสุขทุกจังหวัด ให้ตื่นตัวในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และการระบาดของไข้หวัดใหญ่ โดยเร่งรัดมาตรการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดอักเสบ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถตรวจจับโรคไข้หวัดนกได้แต่เนิ่นๆ เพื่อนำไปสู่การสอบสวน ควบคุม การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ ตลอดจนการรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสม รวดเร็ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สธ.ไม่เคยหยุดการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก มีการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มาตั้งแต่ปี 2547 ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ ไข้หวัด และมีประวัติสัมผัสไก่ตาย จะส่งเสมหะตรวจทุกราย ซึ่งในปี 2547 ส่งตรวจ 10,000 ราย พบผู้ป่วย 17 ราย ปี 2548 ส่งตรวจ 8,000 ราย พบผู้ป่วย 5 ราย ปี 2549 ส่งตรวจ 5,000 ราย พบผู้ป่วย 3 ราย และในปี 2550 ส่งตรวจ 2,100 ราย ไม่พบผู้ป่วยแต่อย่างใด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการควบคุมภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขนั้น ได้ข้อสรุปว่า มาตรการและแนวทางที่ได้ดำเนินการนั้น มีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกมาเป็นเวลา 17 เดือนแล้ว และขณะนี้กรมควบคุมโรคได้สำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ไว้ประมาณ 2 ล้านเม็ด โดยส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่งสตอกไว้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่สำนักงานควบคุมโรคและส่วนกลาง
“ส่วนการรักษาโดยการให้ยาต้านไวรัส โอเซลทามิเวียร์ ที่มีความกังวลว่าอาจจะเกิดการดื้อยา ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่มีมีการดื้อยาบางอยู่แล้วหากใช้ในปริมาณเกินความจำเป็น หรือปัญหาที่กังวลว่า อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดการฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้นอย่างในบางประเทศก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะประเทศดังกล่าวมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงอยู่แล้ว ดังนั้น สธ.จะยังไม่มีการทบทวนวิธีการให้ยาในขณะนี้แต่ยืนยันจะให้ยาเฉพาะผู้ที่สัมผัสไก่ป่วยหรือตายและผู้ที่มีประวัติปอดอักเสบเท่านั้น เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาได้” นพ.ไพจิตร์ กล่าวและว่า ส่วนเรื่องการเตรียมความพร้อมซ้อมแผนรับมือไข้หวัดนก ทั้งในระดับกระทรวงและจังหวัดมีการซ้อมปีละ 1 ครั้ง ในระดับรัฐบาลได้กำหนดการซ้อมแผนอยู่ในยุทธศาสตร์ระดับประเทศแล้ว
ด้านนพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการประชุมปรับโครงสร้างภายในกระทรวงสาธารณสุข ว่า ในวันนี้ (28 ม.ค.) ที่ประชุมได้อนุมัติการปรับโครงสร้างงานภายในกรมควบคุมโรคตามที่ได้เสนอ โดยได้มีการจัดตั้งสำนักโรคอุบัติใหม่ เพื่อรับมือการแพร่ระบาดทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานรองรับชัดเจน ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปที่เป็นงานประจำ แต่เป็นโรคที่เข้ามาใหม่ในประเทศที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานที่คอยติดตาม ไม่เช่นนั้นผลกระทบจะตกอยู่กับประชาชนโดยตรงหากเกิดการแพร่ระบาดใหญ่
นพ.ธวัช กล่าวด้วยว่า การที่ยกระดับเป็นสำนักจะสอดรับกับงบประมาณและกำลังคนของประเทศ จากเดิมที่ใช้วิธีการดึงคนและทรัพยากร งบประมาณจากหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะงบประมาณดำเนินงานที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะการที่ไม่มีหน่วยงานชัดเจน ทำให้ต้องพึงพาหน่วยงานอื่นๆ มีปัญหาการเบิกจ่าย และที่ผ่านมา เป็นการดำเนินงานทั้งโรคซาร์ส ไข้หวัดนก อาศัยงบกลางเข้าช่วย แต่หลังจากนี้ เมื่อมีหน่วยงานชัดเจนแล้ว จะทำให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะแก้ไข