ยกย่อง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นองค์อุปถัมภ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย สศร.ค้นหาศิลปิน 100 ชีวิต สร้างสรรค์ผลงานภาพเขียน แสดงความจงรักภักดี และความอาลัยถ่ายทอดพระกรณียกิจ พระจริยวัตร ลงในหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ด้าน สวช.แจกหนังสือ “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัยฯ” 8 หมื่นเล่ม
นายอภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวถึงการจัดทำหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ว่า ตามที่ สศร.ได้รับมอบหมายจากคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ให้จัดทำหนังสือที่ระลึก 1 ใน 9 เล่ม โดยให้รวบรวมภาพที่ศิลปินทำขึ้นใหม่ เพื่อถ่ายทอดพระกรณียกิจ และแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น เนื่องจากที่ผ่านมา สศร.ได้จัดนิทรรศการจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในชื่อ“พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่” โดยได้คัดเลือกศิลปินตัวแทนจาก 75 จังหวัด มาผลิตชิ้นงานเกี่ยวกับในหลวง ซึ่งงานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการครั้งนั้นด้วย
คุณหญิงไขศรี จึงเห็นว่า ศิลปินมีความพร้อมที่จะเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่แล้ว จึงน่าจะจัดนิทรรศการลักษณะนี้และรวบรวมเป็นหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ โดยให้ สศร.ดำเนินการคัดสรร ประสานศิลปินที่จะมาร่วมถ่ายทอดผลงาน และจัดหาที่แสดงผลงานให้สมพระเกียรติ
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สศร.จะแต่งตั้งคณะกรรมการ 4-5 คน เพื่อทำหน้าที่สรรหาศิลปินที่จะมาสร้างสรรค์ผลงาน โดยจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะและศิลปินแห่งชาติที่เข้าใจการทำงานลักษณะนี้มาทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งต้องร่วมกันสำรวจและคัดเลือกศิลปินที่เขียนงานได้ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งคาดว่า จะคัดเลือกศิลปินประมาณ 70-100 คน นอกจากนี้ สศร.จะประสานไปยังสำนักพระราชวังเพื่อขอผู้เชี่ยวชาญเรื่องของพระราชพิธี ตราสัญลักษณ์ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ มาช่วยดูเรื่องความถูกต้องและเหมาะสมของงานเขียนด้วย ซึ่งในการจัดนิทรรศการ “พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่” ก็ทำเช่นนี้เช่นกัน
“สำหรับศิลปินที่จะมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานนั้น จะคัดจากทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินยอดเยี่ยม และศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เพื่อเปิดให้ศิลปินทุกกลุ่มได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ คาดว่า จะใช้เวลาในการคัดเลือกศิลปินประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะให้เวลาศิลปินในการผลิตผลงานประมาณ 3 เดือน ซึ่งศิลปินสามารถเขียนได้ทั้งภาพเขียนสีน้ำมัน สีอคริลิก สีน้ำ หรือภาพลายเส้นดินสอ ในรูปแบบ 2 มิติ ขนาดตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ อาจจะขอให้ศิลปินทำงานใหม่ขึ้นมา หรือกรณีที่มีชิ้นงานอยู่แล้วก็อาจจะนำมาร่วมแสดงได้เลย เชื่อว่า ศิลปินทุกคนต่างพร้อมให้ความร่วมมือ และตั้งใจทำงานสุดฝีมือ เชื่อว่า จะทำให้การทำงานขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว”
ผอ.สศร.กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณส่วนหนึ่งจะใช้งบจากฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก โดยส่วนหนึ่งจะเป็นงบ ของ สศร.เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ให้กับศิลปินทุกคนที่ร่วมงาน ส่วนนิทรรศการที่จะจัดแสดงภาพเขียนเหล่านี้นั้น ต้องการให้มีขึ้นหลังจากการก่อสร้างพระเมรุเสร็จแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาสถานที่ที่จะจัดแสดงภาพ ซึ่งต้องเหมาะสม และสมพระเกียรติด้วย
ด้าน นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ได้จัดพิมพ์หนังสือ “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัย องค์อุปถัมภ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย” จำนวน 8 หมื่นเล่ม เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย สวช.จะนำไปมอบไว้ที่ สำนักพระราชวัง กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 4 หมื่นเล่ม เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน หรือบุคคลสำคัญที่มาถวายสักการะพระศพ และอีก 4 หมื่นเล่ม จะนำไปมอบให้ตามสถาบันการศึกษา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ในหนังสือจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระประวัติ ชีวิตครอบครัว การทรงงาน ความสนพระทัยด้านกีฬา การถ่ายภาพ การอ่านและการเขียน ด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ตลอดจนพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย อาทิ การพัฒนาวงออเคสตร้า วงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ กองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ การอนุรักษ์สืบสานหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ เป็นต้น ประกอบภาพสี่สีสวยงามทั้ง 149 หน้า
“สวช.ขอยกย่องพระองค์ท่านในฐานะที่เป็นองค์อุปถัมภ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากพระองค์สนพระทัยในศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเสด็จไปทอดพระเนตรแหล่งโบราณสถาน พระองค์จะทรงแนะนำวิธีการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องประวัติความเป็นมาให้แก่ข้าราชการโดยเสมอ ในขณะเดียวกัน พระองค์ยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนดนตรี นักดนตรี อาจารย์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเรียนดนตรีในสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียง รวมทั้งทรงจัดตั้งทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ตลอดจนทรงสนับสนุนวงดริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ วงซิมโฟนีออเคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงรับวงดุริยางค์เยาวชนไทยไว้ในพระอุปถัมภ์ด้วย ขณะนี้มีนักเรียนดนตรีที่อยู่ในพระอุปถัมภ์แล้ว 20 คน” เลขาธิการ กวช.กล่าว
นายอภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวถึงการจัดทำหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ว่า ตามที่ สศร.ได้รับมอบหมายจากคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ให้จัดทำหนังสือที่ระลึก 1 ใน 9 เล่ม โดยให้รวบรวมภาพที่ศิลปินทำขึ้นใหม่ เพื่อถ่ายทอดพระกรณียกิจ และแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น เนื่องจากที่ผ่านมา สศร.ได้จัดนิทรรศการจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในชื่อ“พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่” โดยได้คัดเลือกศิลปินตัวแทนจาก 75 จังหวัด มาผลิตชิ้นงานเกี่ยวกับในหลวง ซึ่งงานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการครั้งนั้นด้วย
คุณหญิงไขศรี จึงเห็นว่า ศิลปินมีความพร้อมที่จะเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่แล้ว จึงน่าจะจัดนิทรรศการลักษณะนี้และรวบรวมเป็นหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ โดยให้ สศร.ดำเนินการคัดสรร ประสานศิลปินที่จะมาร่วมถ่ายทอดผลงาน และจัดหาที่แสดงผลงานให้สมพระเกียรติ
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น สศร.จะแต่งตั้งคณะกรรมการ 4-5 คน เพื่อทำหน้าที่สรรหาศิลปินที่จะมาสร้างสรรค์ผลงาน โดยจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะและศิลปินแห่งชาติที่เข้าใจการทำงานลักษณะนี้มาทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งต้องร่วมกันสำรวจและคัดเลือกศิลปินที่เขียนงานได้ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งคาดว่า จะคัดเลือกศิลปินประมาณ 70-100 คน นอกจากนี้ สศร.จะประสานไปยังสำนักพระราชวังเพื่อขอผู้เชี่ยวชาญเรื่องของพระราชพิธี ตราสัญลักษณ์ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ มาช่วยดูเรื่องความถูกต้องและเหมาะสมของงานเขียนด้วย ซึ่งในการจัดนิทรรศการ “พระผู้ทรงงานอันยิ่งใหญ่” ก็ทำเช่นนี้เช่นกัน
“สำหรับศิลปินที่จะมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานนั้น จะคัดจากทั้งศิลปินแห่งชาติ ศิลปินยอดเยี่ยม และศิลปินหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เพื่อเปิดให้ศิลปินทุกกลุ่มได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและแสดงความอาลัยถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ คาดว่า จะใช้เวลาในการคัดเลือกศิลปินประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะให้เวลาศิลปินในการผลิตผลงานประมาณ 3 เดือน ซึ่งศิลปินสามารถเขียนได้ทั้งภาพเขียนสีน้ำมัน สีอคริลิก สีน้ำ หรือภาพลายเส้นดินสอ ในรูปแบบ 2 มิติ ขนาดตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ อาจจะขอให้ศิลปินทำงานใหม่ขึ้นมา หรือกรณีที่มีชิ้นงานอยู่แล้วก็อาจจะนำมาร่วมแสดงได้เลย เชื่อว่า ศิลปินทุกคนต่างพร้อมให้ความร่วมมือ และตั้งใจทำงานสุดฝีมือ เชื่อว่า จะทำให้การทำงานขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว”
ผอ.สศร.กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณส่วนหนึ่งจะใช้งบจากฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก โดยส่วนหนึ่งจะเป็นงบ ของ สศร.เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ให้กับศิลปินทุกคนที่ร่วมงาน ส่วนนิทรรศการที่จะจัดแสดงภาพเขียนเหล่านี้นั้น ต้องการให้มีขึ้นหลังจากการก่อสร้างพระเมรุเสร็จแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาสถานที่ที่จะจัดแสดงภาพ ซึ่งต้องเหมาะสม และสมพระเกียรติด้วย
ด้าน นายปรีชา กันธิยะ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) กล่าวว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ได้จัดพิมพ์หนังสือ “กัลยาณิวัฒนาคารวาลัย องค์อุปถัมภ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย” จำนวน 8 หมื่นเล่ม เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย สวช.จะนำไปมอบไว้ที่ สำนักพระราชวัง กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 4 หมื่นเล่ม เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน หรือบุคคลสำคัญที่มาถวายสักการะพระศพ และอีก 4 หมื่นเล่ม จะนำไปมอบให้ตามสถาบันการศึกษา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศ ในหนังสือจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระประวัติ ชีวิตครอบครัว การทรงงาน ความสนพระทัยด้านกีฬา การถ่ายภาพ การอ่านและการเขียน ด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ตลอดจนพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย อาทิ การพัฒนาวงออเคสตร้า วงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์ กองทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ การอนุรักษ์สืบสานหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ เป็นต้น ประกอบภาพสี่สีสวยงามทั้ง 149 หน้า
“สวช.ขอยกย่องพระองค์ท่านในฐานะที่เป็นองค์อุปถัมภ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เนื่องจากพระองค์สนพระทัยในศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเสด็จไปทอดพระเนตรแหล่งโบราณสถาน พระองค์จะทรงแนะนำวิธีการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องประวัติความเป็นมาให้แก่ข้าราชการโดยเสมอ ในขณะเดียวกัน พระองค์ยังพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนดนตรี นักดนตรี อาจารย์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเรียนดนตรีในสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียง รวมทั้งทรงจัดตั้งทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ตลอดจนทรงสนับสนุนวงดริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ วงซิมโฟนีออเคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงรับวงดุริยางค์เยาวชนไทยไว้ในพระอุปถัมภ์ด้วย ขณะนี้มีนักเรียนดนตรีที่อยู่ในพระอุปถัมภ์แล้ว 20 คน” เลขาธิการ กวช.กล่าว