กทม.พร้อมให้ความสนับสนุนกรมศิลปากรกั้นพื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้ เตรียมสร้างพระเมรุในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ พร้อมเตรียมขอพระราชทานชื่ออาคารโรงเรียนดนตรี กทม.ที่สร้างเทิดพระเกียรติพระพี่นาง และจัดส่งอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชนในพระอุปถัมภ์ฯ เดือนละครั้งเริ่ม ม.ค.นี้ นอกจากนี้ยังขยายเวลาไว้ทุกข์เป็น 100 วัน ขณะที่ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดการจัดนิทรรศการ “สถิต ณ ดวงใจ” กทม.นำนักเรียนดนตรีคลาสสิกร่วมบรรเลงในช่วงเย็น เผยประชาชนที่มาลงนามถวายสักการะในวันนี้สามารถรับหนังสือ “สถิต ณ ดวงใจ” กลับบ้านได้เลยไม่ต้องรับบัตรคิว ขณะที่ยอดประชาชนใช้บริการโรงทาน กทม.พุ่งกว่า 3 หมื่นคนส่วนทางกับยอดผู้เดินทางมากราบถวายบังคมพระศพจริง
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ขณะนี้มียอดผู้มาลงนามถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ภายในงาน “สถิต ณ ดวงใจ” ที่ กทม.จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค.แล้วประมาณ 42,600 รายชื่อ แต่มียอดผู้มียอดรับหนังสือตามที่ได้แจกบัตรคิวไปเพียง 23,162 คน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ผู้ที่ลงนามถวายสักการะสามารถที่จะรับหนังสือ “สถิต ณ ดวงใจ” ได้ทันทีเพราะขณะนี้มีเพียงพอ ส่วนบุคคลที่นำหนังสือดังกล่าวไปจำหน่ายถือว่ากระทำการไม่เหมาะสม หากประชาชนพบเห็นสามารถแจ้งตำรวจดำเนินการทันที ทั้งนี้ กทม.จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจว่าหนังสือจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกให้ประชาชนที่มาลงนามถวายสักการะฟรี ไม่ได้มีไว้จำหน่าย พร้อมกันนี้จะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจสอบว่ามีการเวียนเทียนรับหนังสือหรือไม่ นอกจากนี้ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เสาร์ที่ 19 ม.ค.นี้ กทม.จะจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีคลาสสิกโดยให้นักเรียนจากโรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร มาแสดงดนตรีคลาสสิกตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ณ บริเวณลานคนเมือง พร้อมทั้งจะได้เชิญนักเรียนทุนดนตรีพระราชทานส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาร่วมแสดงด้วย
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.เตรียมขอพระราชทานชื่ออาคารของโรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานครที่จะสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งอาคารดังกล่าวใช้งบประมาณ 35 ล้านบาทโดยได้ออกแบบตามมาตรฐานสากลซึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะก่อสร้างที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ทั้งนี้ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรี เกิดขึ้นเมื่อปี 2549 ด้วยแรงบันดาลใจจากพระองค์ท่าน เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี เปิดสอนในระดับชั้น ป.4-6 ทั้งในหลักสูตรดนตรีไทยและดนตรีสากล ซึ่งในปีการศึกษา 2551 จะรับนักเรียนหลักสูตรละ 45 คน
นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า ในด้านการสืบสานพระปณิธานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯในด้านการสาธารณสุข กทม.ได้หารือร่วมกับมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน (ม.ส.ช.) ในพระอุปถัมภ์ฯ โดย กทม.จะส่งอาสาสมัครเข้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ของม.ส.ช.ในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปในชุมชนต่างๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ ตรวจรักษาโรคทั่วไป รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตา โรคช่องปาก บริการอาหารเสริมเด็กอ่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัข และแมว และมอบถุงยังชีพ ซึ่งจะเริ่มกิจกรรมดังกล่าวไม่เกินวันที่ 31 ม.ค.นี้
ทั้งนี้ ม.ส.ช.เป็นมูลนิธิที่ให้ความช่วยเหลือด้านการสาธารณสุขแก่ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมกิจการสาธารณสุขเพื่อการกุศล เผยแพร่ความรู้ด้านการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนวิชาการสาธารณสุข และร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการสาธารณประโยชน์ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 ในชื่อมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี 2526 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์และเปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชนฯ อย่างในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ในด้านการศึกษาที่พระองค์ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์คือมูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ กทม.ก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมในมูลนิธินี้ด้วย
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า ส่วนการตั้งโรงทานจำนวน 4 จุดที่บริเวณท้องสนามหลวงเพื่อให้บริการกับประชาชนที่มากราบถวายบังคมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น ปรากฏว่าจากการสำรวจมีประชาชนมาใช้บริการประมาณ 3.3 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งมากว่ายอดผู้มาถวายสักการะพระศพพระองค์ท่านในแต่ละวัน ขณะที่การขอใช้พื้นที่สนามหลวงของกรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปเพื่อสร้างพระเมรุในการประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทาง กทม.ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้แต่อย่างใด เพราะโดยหลักการแล้วต้องรอให้คณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งขึ้นจำนวน 5 ชุด ซึ่งมี 2 คณะที่ปลัด กทม.เข้าเป็นกรรมการและในชุดดังกล่าวประชุมหารือกำหนดจุดเป็นที่แน่นอนก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.ได้กั้นพื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้เรียบร้อยแล้ว
ด้านนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ทาง กทม.ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้จากกรมศิลปากร แต่ทาง กทม.พร้อมให้ความสนับสนุนโดยจะประกาศให้ทุกหน่วยงานทราบว่าจะไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนทางด้านทิศเหนือของสนามหลวงขณะนี้ใช้เป็นจุดจอดรถสำหรับประชาชนที่เดินทางมากราบถวายบังคมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่หากจะมีการขอใช้พื้นที่ฝั่งทิศเหนือก็จะพิจารณาเป็นรายๆ ไปโดยจะดูรูปแบบความเหมาะสม แต่จะไม่อนุญาตให้มีการจัดกิจรรมบันเทิงเด็ดขาด
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ขณะนี้มียอดผู้มาลงนามถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ภายในงาน “สถิต ณ ดวงใจ” ที่ กทม.จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค.แล้วประมาณ 42,600 รายชื่อ แต่มียอดผู้มียอดรับหนังสือตามที่ได้แจกบัตรคิวไปเพียง 23,162 คน อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ผู้ที่ลงนามถวายสักการะสามารถที่จะรับหนังสือ “สถิต ณ ดวงใจ” ได้ทันทีเพราะขณะนี้มีเพียงพอ ส่วนบุคคลที่นำหนังสือดังกล่าวไปจำหน่ายถือว่ากระทำการไม่เหมาะสม หากประชาชนพบเห็นสามารถแจ้งตำรวจดำเนินการทันที ทั้งนี้ กทม.จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจว่าหนังสือจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกให้ประชาชนที่มาลงนามถวายสักการะฟรี ไม่ได้มีไว้จำหน่าย พร้อมกันนี้จะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจสอบว่ามีการเวียนเทียนรับหนังสือหรือไม่ นอกจากนี้ในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เสาร์ที่ 19 ม.ค.นี้ กทม.จะจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีคลาสสิกโดยให้นักเรียนจากโรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร มาแสดงดนตรีคลาสสิกตั้งแต่เวลา 16.00-18.00 น. ณ บริเวณลานคนเมือง พร้อมทั้งจะได้เชิญนักเรียนทุนดนตรีพระราชทานส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาร่วมแสดงด้วย
นายอภิรักษ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.เตรียมขอพระราชทานชื่ออาคารของโรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานครที่จะสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งอาคารดังกล่าวใช้งบประมาณ 35 ล้านบาทโดยได้ออกแบบตามมาตรฐานสากลซึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะก่อสร้างที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง ทั้งนี้ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรี เกิดขึ้นเมื่อปี 2549 ด้วยแรงบันดาลใจจากพระองค์ท่าน เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี เปิดสอนในระดับชั้น ป.4-6 ทั้งในหลักสูตรดนตรีไทยและดนตรีสากล ซึ่งในปีการศึกษา 2551 จะรับนักเรียนหลักสูตรละ 45 คน
นายอภิรักษ์ กล่าวต่อว่า ในด้านการสืบสานพระปณิธานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯในด้านการสาธารณสุข กทม.ได้หารือร่วมกับมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน (ม.ส.ช.) ในพระอุปถัมภ์ฯ โดย กทม.จะส่งอาสาสมัครเข้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ของม.ส.ช.ในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปในชุมชนต่างๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งจะให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ ตรวจรักษาโรคทั่วไป รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคตา โรคช่องปาก บริการอาหารเสริมเด็กอ่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัข และแมว และมอบถุงยังชีพ ซึ่งจะเริ่มกิจกรรมดังกล่าวไม่เกินวันที่ 31 ม.ค.นี้
ทั้งนี้ ม.ส.ช.เป็นมูลนิธิที่ให้ความช่วยเหลือด้านการสาธารณสุขแก่ชุมชนผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมกิจการสาธารณสุขเพื่อการกุศล เผยแพร่ความรู้ด้านการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนวิชาการสาธารณสุข และร่วมมือกับองค์กรการกุศลเพื่อการสาธารณประโยชน์ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 ในชื่อมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชน กรุงเทพมหานคร ต่อมาในปี 2526 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์และเปลี่ยนชื่อเป็นมูลนิธิช่วยการสาธารณสุขชุมชนฯ อย่างในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ในด้านการศึกษาที่พระองค์ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์คือมูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ กทม.ก็จะเข้าไปมีส่วนร่วมในมูลนิธินี้ด้วย
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า ส่วนการตั้งโรงทานจำนวน 4 จุดที่บริเวณท้องสนามหลวงเพื่อให้บริการกับประชาชนที่มากราบถวายบังคมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้น ปรากฏว่าจากการสำรวจมีประชาชนมาใช้บริการประมาณ 3.3 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งมากว่ายอดผู้มาถวายสักการะพระศพพระองค์ท่านในแต่ละวัน ขณะที่การขอใช้พื้นที่สนามหลวงของกรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปเพื่อสร้างพระเมรุในการประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทาง กทม.ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้แต่อย่างใด เพราะโดยหลักการแล้วต้องรอให้คณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งขึ้นจำนวน 5 ชุด ซึ่งมี 2 คณะที่ปลัด กทม.เข้าเป็นกรรมการและในชุดดังกล่าวประชุมหารือกำหนดจุดเป็นที่แน่นอนก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กทม.ได้กั้นพื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้เรียบร้อยแล้ว
ด้านนายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ทาง กทม.ยังไม่ได้รับหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่สนามหลวงฝั่งทิศใต้จากกรมศิลปากร แต่ทาง กทม.พร้อมให้ความสนับสนุนโดยจะประกาศให้ทุกหน่วยงานทราบว่าจะไม่มีการจัดกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนทางด้านทิศเหนือของสนามหลวงขณะนี้ใช้เป็นจุดจอดรถสำหรับประชาชนที่เดินทางมากราบถวายบังคมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ แต่หากจะมีการขอใช้พื้นที่ฝั่งทิศเหนือก็จะพิจารณาเป็นรายๆ ไปโดยจะดูรูปแบบความเหมาะสม แต่จะไม่อนุญาตให้มีการจัดกิจรรมบันเทิงเด็ดขาด