แพทยสภาอยากได้รัฐมนตรีคนใหม่ เป็นคนนอก ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ กลัวเกิดศึกแบ่งพรรคแบ่งพวก หากเป็นโควตาก็มีปัญหาแน่ ด้านแพทย์ชนบท เผย สเปก รมว.สธ.ต้องรู้งานสาธารณสุขดี กล้าตัดสินใจซีแอล ขณะที่ เอ็นจีโอ จี้แก้ปัญหาความขัดแย้งหมอ-คนไข้ ถ้าทำไม่ได้ถือว่าล้มเหลว ด้านประธานชมรมสาธารณสุขจังหวัด อยากให้เน้นงานป้องกันโรค
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นคนดี ตั้งใจทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง ซึ่งอยากให้เป็นคนนอก ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสาธารณสุข มีวิสัยทัศน์ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รู้ความต้องการของประชาชน เพื่อที่จะมาวางแนวนโยบายโดยไม่จำเป็นที่รัฐมนตรีจะต้องเป็นแพทย์ แต่หากเคยอยู่ในแวดวงสาธารณสุข รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร และรู้ปัญหาในสาธารณสุขก็จะได้เปรียบ ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย และหากมาแบบได้รับโควต้าพรรคการเมืองเข้ามาบริหารอาจเกิดปัญหาได้ เพราะจะรับข้อมูลแต่ในส่วนของข้าราชการประจำทั้งหมด ขณะเดียวกัน หากเป็นแพทย์ก็จะทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นกลาง แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดปัญหาภายใน
“ใครจะได้มาเป็นรัฐมนตรีเข้ามาบริหารงาน ผมไม่ขอออกความคิดเห็น แต่ขอให้เข้ามาดูแก้ปัญหา ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ซึ่งขณะนี้ต่างก็ไม่มีความสุข ปัญหาสำคัญ คือ แพทย์กลัวที่จะรักษาช่วยชีวิตคนไข้ ถ้าไม่แก้จะเกิดความระส่ำระสายทั้งประเทศ และกระทบต่อคนไข้ด้วย จึงต้องให้ความมั่นใจกับหมอ ว่า จะไม่ติดคุกหากช่วยเหลือคนไข้อย่างเต็มที่แล้ว”นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการรักษาฟรีทุกโรค รัฐบาลไม่เคยประกาศนโยบายสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนในการแก้ปัญหาสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแพทย์ หรือแนววิธีที่จะปราบโรคใดโรคหนึ่งอย่างจริงจัง เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ขณะที่ในบางประเทศนำมาเป็นจุดขายในการหาเสียง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดของคุณสมบัติรัฐมนตรี คือ จะต้องเป็นคนดี มีความรู้ความเข้าใจระบบสาธารณสุข และระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างดี มองถึงประโยชน์ส่วนร่วมโดยเฉพาะคนยากจนอันดับแรก เพราะระบบสุขภาพของไทยยังขาดความเสมอภาคกว่าต่างประเทศ ที่สำคัญ ต้องมีความกล้าตัดสินใจเรื่องที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศ เช่น การประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล)
“ขณะนี้ สธ.ได้วางรากฐานระบบประกันสุขภาพ หรืองานต่างๆ ไว้อย่างเข้มแข็งแล้ว ฉะนั้น ไม่กลัวว่ารัฐมนตรีคนใหม่ที่มีจากการเมืองจะเข้ามาล้วงลูก หรือแม้แต่การหาประโยชน์เข้ากระเป่าตัวเองก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีระบบตรวจสอบอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคนใหม่ต้องไม่เป็นคนที่มีวัฒนธรรมแห่แหน ไม่มีประวัติมัวหมอง เพราะจะทำให้ข้าราชการไม่ได้ทำงานเชิงบวก ต้องมัวแต่มาทำงานแก้ต่างให้” ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และในฐานะประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องว่าผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเป็นแพทย์ แต่ต้องเข้าใจลักษณะงานทางด้านสาธารณสุข สามารถให้นโยบายการทำงานด้านสาธารณสุขได้ แต่ถ้าหากเป็นแพทย์ก็จะดีเพราะเข้าใจเนื้องานส่วน งานแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งดำเนินการ คือ นโยบายด้านการป้องกันโรค ไม่ให้ประชาชนต้องเจ็บป่วย เพราะภาระงานของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่กับการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น
“ใครมาก็ดีทั้งหมด ต้องยอมรับความคิดเห็นทั้งสิ้น ในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็ต้องนำนโยบายที่รัฐมนตรีให้มาดำเนินการงานต่อเนื่องอยู่แล้ว ใครมาเป็นก็ได้ทั้งนั้น” นพ.วุฒิไกร กล่าว
เมื่อถูกถามถึงกระแสข่าวที่ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาลชุดก่อนจะมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง นพ.วุฒิไกร กล่าวว่า ท่านก็ดี เป็นนักวิชาการ ท่านก็มีมุมมองในการบริหารงานที่ดีในอีกมุมมองหนึ่ง เป็นใครก็ได้ เพราะระบบสาธารณสุขมีระบบพื้นฐานอยู่แล้ว
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะที่รายชื่อของผู้จะมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่นิ่ง อาทิ นพ.สุชัย ฯลฯ จึงยังไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวบุคคล แต่คนที่มาบริหารงานที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ก็ได้ แต่ขอให้มาทำงาน เพราะกระทรวงนี้ไม่ใช่กระทรวงเกรดซี
น.ส.สารี กล่าว สิ่งที่สำคัญกว่าตัวบุคคล คือ ภาระงานที่ผู้เข้ามาทำงานจะต้องดำเนินการ คือ การสานต่อและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยังต้องให้ความเป็นธรรมทางการแพทย์ ทั้งการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของระบบสุขภาพ และโดยเฉพาะเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างคนไข้และแพทย์ ซึ่งส่วนนี้เป็นตัวชี้วัดการทำงานของรัฐมนตรี หากทำไม่สำเร็จถือว่าสอบไม่ผ่าน ล้มเหลว
“ที่สำคัญ อยากเห็นความกล้าหาญในการดำเนินงาน โดยใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทอง และไม่กลับไปเก็บเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 30 บาท ในการใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกล้าหาญในการเข้าถึงยาให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรกับยาที่จำเป็น”น.ส.สารี กล่าว
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นคนดี ตั้งใจทำเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง ซึ่งอยากให้เป็นคนนอก ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสาธารณสุข มีวิสัยทัศน์ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รู้ความต้องการของประชาชน เพื่อที่จะมาวางแนวนโยบายโดยไม่จำเป็นที่รัฐมนตรีจะต้องเป็นแพทย์ แต่หากเคยอยู่ในแวดวงสาธารณสุข รู้ว่าประชาชนต้องการอะไร และรู้ปัญหาในสาธารณสุขก็จะได้เปรียบ ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย และหากมาแบบได้รับโควต้าพรรคการเมืองเข้ามาบริหารอาจเกิดปัญหาได้ เพราะจะรับข้อมูลแต่ในส่วนของข้าราชการประจำทั้งหมด ขณะเดียวกัน หากเป็นแพทย์ก็จะทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นกลาง แบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดปัญหาภายใน
“ใครจะได้มาเป็นรัฐมนตรีเข้ามาบริหารงาน ผมไม่ขอออกความคิดเห็น แต่ขอให้เข้ามาดูแก้ปัญหา ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ซึ่งขณะนี้ต่างก็ไม่มีความสุข ปัญหาสำคัญ คือ แพทย์กลัวที่จะรักษาช่วยชีวิตคนไข้ ถ้าไม่แก้จะเกิดความระส่ำระสายทั้งประเทศ และกระทบต่อคนไข้ด้วย จึงต้องให้ความมั่นใจกับหมอ ว่า จะไม่ติดคุกหากช่วยเหลือคนไข้อย่างเต็มที่แล้ว”นพ.สมศักดิ์ กล่าว
นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการรักษาฟรีทุกโรค รัฐบาลไม่เคยประกาศนโยบายสาธารณสุขอย่างเป็นรูปธรรม ชัดเจนในการแก้ปัญหาสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแพทย์ หรือแนววิธีที่จะปราบโรคใดโรคหนึ่งอย่างจริงจัง เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ขณะที่ในบางประเทศนำมาเป็นจุดขายในการหาเสียง
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดของคุณสมบัติรัฐมนตรี คือ จะต้องเป็นคนดี มีความรู้ความเข้าใจระบบสาธารณสุข และระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างดี มองถึงประโยชน์ส่วนร่วมโดยเฉพาะคนยากจนอันดับแรก เพราะระบบสุขภาพของไทยยังขาดความเสมอภาคกว่าต่างประเทศ ที่สำคัญ ต้องมีความกล้าตัดสินใจเรื่องที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศ เช่น การประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยรัฐ (ซีแอล)
“ขณะนี้ สธ.ได้วางรากฐานระบบประกันสุขภาพ หรืองานต่างๆ ไว้อย่างเข้มแข็งแล้ว ฉะนั้น ไม่กลัวว่ารัฐมนตรีคนใหม่ที่มีจากการเมืองจะเข้ามาล้วงลูก หรือแม้แต่การหาประโยชน์เข้ากระเป่าตัวเองก็ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีระบบตรวจสอบอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคนใหม่ต้องไม่เป็นคนที่มีวัฒนธรรมแห่แหน ไม่มีประวัติมัวหมอง เพราะจะทำให้ข้าราชการไม่ได้ทำงานเชิงบวก ต้องมัวแต่มาทำงานแก้ต่างให้” ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
นพ.วุฒิไกร มุ่งหมาย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และในฐานะประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องว่าผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเป็นแพทย์ แต่ต้องเข้าใจลักษณะงานทางด้านสาธารณสุข สามารถให้นโยบายการทำงานด้านสาธารณสุขได้ แต่ถ้าหากเป็นแพทย์ก็จะดีเพราะเข้าใจเนื้องานส่วน งานแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขควรเร่งดำเนินการ คือ นโยบายด้านการป้องกันโรค ไม่ให้ประชาชนต้องเจ็บป่วย เพราะภาระงานของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่กับการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น
“ใครมาก็ดีทั้งหมด ต้องยอมรับความคิดเห็นทั้งสิ้น ในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็ต้องนำนโยบายที่รัฐมนตรีให้มาดำเนินการงานต่อเนื่องอยู่แล้ว ใครมาเป็นก็ได้ทั้งนั้น” นพ.วุฒิไกร กล่าว
เมื่อถูกถามถึงกระแสข่าวที่ นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาลชุดก่อนจะมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง นพ.วุฒิไกร กล่าวว่า ท่านก็ดี เป็นนักวิชาการ ท่านก็มีมุมมองในการบริหารงานที่ดีในอีกมุมมองหนึ่ง เป็นใครก็ได้ เพราะระบบสาธารณสุขมีระบบพื้นฐานอยู่แล้ว
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะที่รายชื่อของผู้จะมานั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่นิ่ง อาทิ นพ.สุชัย ฯลฯ จึงยังไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวบุคคล แต่คนที่มาบริหารงานที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ก็ได้ แต่ขอให้มาทำงาน เพราะกระทรวงนี้ไม่ใช่กระทรวงเกรดซี
น.ส.สารี กล่าว สิ่งที่สำคัญกว่าตัวบุคคล คือ ภาระงานที่ผู้เข้ามาทำงานจะต้องดำเนินการ คือ การสานต่อและพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และยังต้องให้ความเป็นธรรมทางการแพทย์ ทั้งการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของระบบสุขภาพ และโดยเฉพาะเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างคนไข้และแพทย์ ซึ่งส่วนนี้เป็นตัวชี้วัดการทำงานของรัฐมนตรี หากทำไม่สำเร็จถือว่าสอบไม่ผ่าน ล้มเหลว
“ที่สำคัญ อยากเห็นความกล้าหาญในการดำเนินงาน โดยใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทอง และไม่กลับไปเก็บเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 30 บาท ในการใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกล้าหาญในการเข้าถึงยาให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรกับยาที่จำเป็น”น.ส.สารี กล่าว