xs
xsm
sm
md
lg

“นายพลเบิร์ด” ไม่เชื่อกัมพูชาจริงใจปราบปรามแก๊งคอลฯ แฉเคยละเมิดสนธิสัญญาเก็บกู้ทุ่นระเบิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“นายพลเบิร์ด” สงสัยกัมพูชาจริงใจปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์หรือไม่ ดูจากกรณีเก็บกู้ทุ่นระเบิด ที่กัมพูชาลงนามในสนธิสัญญา Ottawa แต่ไม่ยอมเก็บให้หมด แถมมีรายงานว่าแอบเอามาวางเพิ่ม ทั้งยังมีปัญหาทุจริตเงินช่วยเหลือจนชาติตะวันตกระงับบริจาคชั่วคราว


วันที่ 10 ก.ค. พล.ต.วันชนะ สวัสดี ผู้อำนวยการสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) และรองโฆษก บก.ทท.โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Wanchana Sawasdee ตั้งคำถามถึงความจริงใจในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ของกัมพูชาจะเป็นเพียงแค่ลมปากโฆษณาชวนเชื่อหรือไม่ โดยให้ดูกรณีเก็บกู้ทุ่นระเบิดเป็นตัวอย่าง

พล.ต.วันชนะ ได้กล่าวถึงสนธิสัญญา Ottawa หรืออนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ การสะสม การผลิต และการขนย้ายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการทำลายทุ่นระเบิด ซึ่งเขมรได้ลงนามเมื่อปี 2540 ให้สัตยาบัน 2542 มีผลบังคับใช้ 2543

“ปัจจุบัน เขมรยังเหลือพื้นที่เก็บกู้อีกมาก ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญา อีกทั้งยังมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะเข้าเก็บกู้ระเบิดสังหารบุคคล แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชาเข้ามาห้ามไว้ไม่ให้เก็บกู้อีกด้วย สังสัยคงกลัวว่าถ้าเก็บหมดแล้วจะไม่มีเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเข้ามากระมัง

“กัมพูชา (Cambodia) เป็นดินแดนอันตรายด้วยกับระเบิดที่ถูกทิ้งไว้มากมาย จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกันกว่า 65,000 คนตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา คนจำนวนมากต้องสูญเสียขา แขน หรือแม้แต่ชีวิต ทำให้กัมพูชามีอัตราคนพิการจากกับระเบิดสูงที่สุดประเทศหนึ่งของโลก

“รายงานของ Landmine Monitor ระบุว่า ณ ปี 2022 มีพื้นที่เสี่ยงจากกับระเบิดในกัมพูชายังเหลือกว่า 2,000 ตารางกิโลเมตร และมีเหยื่อเพิ่มขึ้นราว 40 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาและเด็กในพื้นที่ชนบท

“กัมพูชาจึงเข้าร่วมสนธิสัญญา Ottawa ปี 1997 นอกจากนี้ กัมพูชายังได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมทบทวนครั้งที่ 5 ของสนธิสัญญานี้ในปี 2024 เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ได้รับเกียรตินี้ ฟังดูดี แต่เรื่องนี้มีเบื้องหลัง ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงซ่อนอยู่

“มีรายงานหลายครั้งว่ากองทัพกัมพูชา (Cambodian military) แอบวางกับระเบิดใหม่ตามแนวชายแดนไทย โดยเฉพาะบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหาร (Preah Vihear)

“รายงานจาก Bangkok Post เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2013 ระบุว่า ทหารไทย 3 นายเหยียบกับระเบิดขณะลาดตระเวน (ในเขตไทย) โดยพบว่า เป็นระเบิดรุ่นใหม่ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในพื้นที่ก่อนหน้า และมีแหล่งข่าวอ้างว่ากองทัพกัมพูชาใช้ระเบิดเหล่านี้ตอบโต้ไทยจากการที่ไทยทำการลาดตระเวนเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูง แม้ทางการกัมพูชาจะปฏิเสธเสียงแข็ง แต่เหตุการณ์นี้ก็ทำให้หลายประเทศเริ่มตั้งคำถามว่า กัมพูชาอาจกำลังแอบละเมิดสนธิสัญญา Ottawa อย่างลับๆ ทำไมจึงไม่เก็บกู้ให้หมดและยังวางใหม่เพิ่ม คำตอบคือ
“คอร์รัปชัน - กับระเบิดที่มองไม่เห็น
ปัญหาคอร์รัปชันในหน่วยงานกู้กับระเบิดของกัมพูชาไม่ใช่เรื่องใหม่ Center for International Policy รายงานว่า ในปี 1999 องค์กร Cambodian Mine Action Center (CMAC) ถูกเปิดโปงว่า มีการยักยอกเงินและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทำให้ผู้บริจาคตะวันตกระงับการสนับสนุนชั่วคราว และกระทบต่อการกู้กับระเบิดอย่างรุนแรง

“แม้เวลาจะผ่านมานาน แต่ปัญหาคอร์รัปชันก็ยังฝังลึกและแผ่ขยาย โดยเฉพาะในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเงินสนับสนุนจากนานาชาติ เช่น โครงการกู้กับระเบิดจากสหภาพยุโรป (EU) และ UNDP ซึ่งหลายหน่วยงานยังไม่มีระบบตรวจสอบการใช้จ่ายที่โปร่งใส จึงขอตั้งคำถามว่า
1. กรณีเก็บกู้ระเบิดนี้ ไม่ตั้งใจเก็บของเดิมให้หมด แถมวางเพิ่มใช่หรือไม่
2. อย่างนี้ประชาคมโลกจะไว้ใจเขมรได้อย่างไรว่า จะจริงใจ ต่อการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติในเขมร
3. ความขัดแย้งระหว่าง ไทย กับ เขมรครั้งนี้นั้น เขมรมีการวางระเบิดสังหารบุคคล (PMN2)เพิ่มอีกหรือไม่”


กำลังโหลดความคิดเห็น