xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.ธเนษฐ” แนะ กมธ.ยุโรปเพิ่มการลงทุนในไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและเทคโนโลยีในเขตอาเซียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตัวแทนนักการเมืองไทยรุ่นใหม่ แนะคณะกรรมาธิการยุโรป เพิ่มการลงทุนในไทย โดยเฉพาะโปรเจกต์ใหญ่ที่เป็นเรือธง เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและเทคโนโลยีในเขตภูมิภาคอาเซียน ให้พร้อมกับโลกยุคใหม่

ช่วงวันที่ 18-19 มีนาคม 2024 ดร.ธเนษฐ เศรษฐาวาณิช ในฐานะตัวแทนนักการเมืองไทยรุ่นใหม่ ที่ได้รับการคัดเลือกจาก Konrad Adenauer Stiftung จากประเทศเยอรมนี ได้เข้าร่วมประชุมหลายภาคส่วนในสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รวมทั้ง องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือที่เรียกว่า นาโต (NATO)

โดยทาง ดร.ธเนษฐ เศรษฐาวาณิช และคณะ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทางคุณ เจมส์ มาเฮอร์ Senior Policy Advisor on relation with ASEAN/Southeast Asia at Parliament, Eurppean Parliament ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ความร่วมมือระหว่างประเทศ และด้านการเมือง โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยดี ซึ่งที่ประชุมได้พูดถึงโปรเจคที่เป็นเรือธงของไทยมีเพียงที่เด่นชัดแค่โครงการเดียว คือ โครงการด้านพลังงานที่ร่วมลงทุนกับ EGAT ทั้งนี้ ดร.ธเนษฐได้แสดงทัศนะในที่ประชุมว่า ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทางเครือสหภาพยุโรปมาโดยตลอด และทางประเทศไทยก็ถือว่ามีศักยภาพมากพอที่จะเป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าและเทคโนโลยีของภูมิภาค ทางเครือสหภาพยุโรปได้มีงบประมาณลงทุนในภูมิภาคจำนวน 1 หมื่นล้านยูโร หรือ ประมาณเกือบ 4 แสนล้านบาท สำหรับยุทธศาสตร์ Global Gateway จำเป็นต้องมีโครงการเรือธงให้สำหรับประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในเรื่อง ซัพพลายเชน การขนส่ง การค้าการลงทุนต่อกันและสถานการณ์การเมืองในประเทศก็มีเสถียรภาพมากพอที่จะเร่งฟื้นเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการลงทุนใหม่ๆ ทางคณะมีความเห็นพ้องและนำเสนอต่อไป

นอกจากนี้ ได้เข้าร่วมประชุมกับทาง นาย ทอม คอร์รี่ หัวหน้าทีมดูแลอาเซียน คณะกรรมาธิการยุโรป (Team Leader for South East Asia, European Commission) ได้สอบถามประเด็นเรื่อง ฟรีวีซ่าเชงเก้น (Free Schengen) ซึ่งทางนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันก็เป็นกลุ่มที่เดินทางมาเที่ยวไทยมากที่สุดในสหภาพยุโรป กว่า 700,000 คน ในปี 2023 และทางนักท่องเที่ยวไทยก็นิยมเดินทางในประเทศเยอรมันและประเทศอื่นในเครือสหภาพยุโรป ทั้งนี้ นายทอม ได้ชี้แจงว่า การพิจารณาเรื่องฟรีวีซ่า ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เพราะยังมีปัจจัยข้อมูลขั้นพื้นฐานของแต่ละประเทศ เช่น ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย จำนวนอาชญากรรม และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนเวลาการพิจารณาที่นานออกไป เพราะทางสหภาพยุโรปจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ อาจทำให้การพิจารณาฟรีวีซ่านานออกไป

และทาง ดร.ธเนษฐ ได้เข้าร่วมประชุมคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ปฏิบัติภารกิจทางการทูตของสหภาพยุโรป โดยเป็นตัวแทนด้านการเมืองของสหภาพยุโรป คุณรีนซ์ ทีลิงค์ Head of Division Asia Pacific, EEAS ได้แนะนำ คุณอิเล็ค โมโมท์ ผู้ดูแลเป็นผู้ประสานงานด้านนโยบายการต่างประเทศสำหรับประเทศไทย ได้อธิบายเรื่องข้อบัญญติในเรื่อง IUU ที่มีปัญหาในช่วงที่ผ่านมาสำหรับการประมงของไทย พร้อมทั้งอธิบายในเรื่องใหม่ๆ เช่น Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) คือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน หนึ่งในมาตรการสำคัญภายใต้ Fit For 55 ซึ่งสหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ภายใต้นโยบาย the European Green deal เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ปี 2050

และ EU Deforestation Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป คือ กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งจะมีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2024 โดยมาตรการ EUDR ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้า คือ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของสินค้าเหล่านี้ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพารา ไม้ และปาล์มน้ำมัน ซึ่งมาจากกระบวนการผลิตที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายต่างๆ ของประเทศผู้ผลิต อาทิ กฎหมายที่ดิน แรงงาน สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และภาษี หรือไม่และได้รับการตรวจสอบและประเมินสินค้า (Due Diligence) ตามขั้นตอนที่สหภาพยุโรปกำหนด โดยผู้ประกอบการต้องส่งรายงานการตรวจสอบ (Due Diligence Statement) ก่อนจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้า

นอกจากนี้ ทาง ดร.ธเนษฐ ยังได้เข้าร่วมประชุมกับอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งได้ให้ทรรศนะว่า ประเทศไทยต้องรีบวางนโยบายและภารกิจในเรื่อง การพัฒนาศึกษาให้ตอบโจทย์กับโลกยุคใหม่ การวางนโยบายในเรื่องประชากรศาสตร์ ที่จะมีผลต่อการตัดสินใจการลงทุนของต่างชาติ รวมถึงหารคิดค้นการพัฒนาแหล่งรายได้ของประเทศที่มากขึ้น และที่สำคัญ คือ เรื่อง SGDs การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นประมวลเป้าหมายของโลก 17 ข้อที่เชื่อมโยงกันทั้งโลก และคาดหวังว่า ประเทศไทยจะมีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองในโลกยุคใหม่ หากหน่วยงานทุกภาคส่วนเน้นเป้าหมายเพื่อประเทศของเรา


กำลังโหลดความคิดเห็น