ปลัดมท. ตั้งเพิ่ม คณะทำงานจัดทำข้อเสนอปรับปรุงโครงสร้างกรอบอัตรากำลัง ภารกิจถ่ายโอน สอน.-รพ.สต.ไป อบจ. ชุดใหม่ 30 คน ดึง เลขาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้แทนสถานีอนามัย / รพ.สต. ในทุกสังกัด นักวิชการสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขหลายสถาบัน เดินหน้าแก้ปัญหาอุปสรรคภารกิจถ่ายโอน เน้นโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง ปมซ้ำซ้อน ข้อระเบียบกฎหมาย การใช้จ่ายงบประมาณ
วันนี้ (21ส.ค. 2566) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัด มท. ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง เพิ่มเติม "คณะทำงานจัดทำข้อเสนอปรับปรุงโครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง" ถ่ายโอนภารกิจฯ ชุดใหม่ จำนวน 30 คน
โดยได้ยกเลิกคำสั่งฉบับเดิม 24 เม.ย.2566 มีการเพิ่ม รองอธิบดีสถ. นั่งเป็นประธานคณะทำงาน เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้แทนสถานีอนามัย / รพ.สต. ในสังกัดสมาคม อบจ. ผู้แทนสถานีอนามัย / รพ.สต. ในสังกัดสมาคม อบต. เป็นต้น
ขณะที่ คณะทำงานชุดเดิม นอกจากมีเจ้าหน้าที่ สถ. ยังมีเลขาธิการ สพฉ. นายกสมาคม อปท. 3 องค์กร นายกแพทยสภา นายกทันตแพทยสภา นายกสภาการพยาบาล
นายกสภาการสาธารณสุขชุมชน นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และนักวิชาการด้านสาธาาณสุข จากสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านสาธารณสุข อีกหลายสถาบัน
คณะทำงานชุดนี้ ยังมีหน้าที่วิเคราห์โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง จัดทำข้อเสนอ
มีรายงานว่า สำหรับปัญหาอุปสรรคในการถ่ายโอน ที่จะมีการนำมาพิจารณา เช่น ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรอย่าง แพทย์ทันตแพทย์ หรือเภสัชกร โดยจะมีการเสนอแก้ไขกฎหมายระเบียบต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ให้รองรับการทำงานร่วมกัน
รวมถึง ประเด็นการขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการให้ความร่วมมือด้านข้อมูลบุคลากรตามคู่มือกระจายอำนาจฯ ที่ได้รับมาและคู่มือการถ่ายโอนภารกิจฯ
ด้วยให้มีการจัดทำข้อมูลและปรับปรุงอัตรากำลังเพื่อรองรับการถ่ายโอน รพ.สต. และกำหนดการช่วยราชการข้ามกระทรวง
ยังรวมถึง ระเบียบกฎหมายต่างๆ ที่ต้องถือปฏิบัติในการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ให้สอดคล้องกัน เช่น ให้มีการหารือกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ จะสามารถแก้ไขได้ส่วนเรื่องการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณเรื่องสวัสดิการต่างๆ
ปัจจุบันมีการให้ใช้เงินสะสม เป็นความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณ เช่น ค่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. อัตรากำลังแพทย์พนักงานสาธารณสุข เปิดกรอบมาแล้วก็ต้องใช้เงินของ อบจ.
โดยนำเงินสะสมมาใช้ก่อน บาง อปท. ไม่มีเงินสะสมที่เพียงพอที่จะสนับสนุนตรงนี้ ส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน
ยังมี ปัญหาที่ อบจ. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินของ รพ.สต. เป็นปัญหาอุปสรรคในการพัฒนา เช่น จะดำเนินการปรับปรุงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถที่จะทำได้
ยังมีปัญหางบประมาณ เงินอุดหนุน ถ่ายโอนตามขนาด S M L 1,000,000 บาท 1,500,000 บาท และ 2,000,000 บาท ไม่สามารถส่งต่อไปให้กับทาง รพ. และทาง รพ.สต. ที่เกี่ยวข้องได้
“ติดขัดจาก สปสช. อยู่หลายจังหวัด ซึ่งงบประมาณดังกล่าวเป็นการตกลงระหว่าง อบจ. กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ไม่ได้ข้อตกลงที่ลงตัวกัน แต่อีก 30 จังหวัด อบจ. และ สสจ.ตกลงกันได้ เป็นต้น”