xs
xsm
sm
md
lg

“กสทช.” อลเวง! “ประธาน” อ้างป่วย แจ้งยกเลิกประชุมกะทันหัน “4 บอร์ด” มาเก้อ เผยวาระค้างเพียบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



4 ใน 7 บอร์ด กสทช. เข้าประชุมเก้อ หลัง “ประธาน กสทช.” อ้างป่วย แจ้งยกเลิก 10 นาทีก่อนเริ่ม จนท.หายหัว กระทบวาระค้างพิจารณาอื้อ “พิรงรอง” งง บอร์ดมาเกินครึ่งแต่ประชุมไม่ได้ “ธนพันธุ์” บอกไม่เคยมีมาก่อน ก่อนนี้ลาป่วยก็มอบคนอื่นนั่งหัวโต๊ะแทน

วันนี้ (5 ก.ค.) รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า เมื่อเวลา 09.30 น. ได้มีกำหนดการประชุม กสทช.ครั้งที่ 15/2566 ที่ห้องประชุมสายลม อาคารอำนวยการสำนักงาน กสทช. โดยมีวาระที่ต้องพิจารณาทั้งสิ้น 81 เรื่อง แต่ปรากฏว่า เมื่อเวลา 09.20 น. สำนักประธานกรรมการและการประชุม ได้แจ้งเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ขอยกเลิกการประชุม และมีบันทึกขอยกเลิกการประชุมส่งถึงที่ประชุมในเวลา 09.40 น. ภายหลังจากเวลาการประชุมเริ่มต้นไปแล้ว 10 นาที โดยมีการนัดหมายการประชุมในครั้งต่อไปในวันที่ 19 ก.ค. 66

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า การประชุมวันนี้มีกรรมการที่เข้าร่วมตามกำหนดการ 4 จาก 7 ราย ได้แก่ พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ, ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต, รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย และ รศ.ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ส่วน อีก 3 ราย ได้แก่ ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช., นายต่อพงศ์ เสลานนท์ และ พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร ไม่เข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ บันทึกข้อความด่วนที่สุด เรื่อง แจ้งขอยกเลิกการประชุม กสทช. ครั้งที่ 15/2566 ที่ส่งในระบบออนไลน์ เวลา 09.20 น. ของวันที่ 5 ก.ค. 66 โดย สำนักประธานกรรมการและการประชุม ระบุว่า สำนักงาน กสทช. ได้รับการประสานงานจากเลขานุการประธาน กสทช. ขอให้แจ้งยกเลิกการประชุม เนื่องจากในวันและเวลาดังกล่าว ประธาน กสทช. (ศ.คลินิก นพ.สรณ) มีอาการป่วย ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ทั้งนี้ ให้นำระเบียบวาระการประชุม กสทช.ทั้งหมด บรรจุในระเบียบวาระการประชุม กสทช. ในวันพุธที่ 19 ก.ค. 66 ต่อไป

รายงานข่างแจ้งอีกว่า สำเนาบันทึกแจ้งยกเลิกการประชุมดังกล่าวได้มาถึงห้องประชุมสายลม ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมภายหลังจากเวลานัดหมาย แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีเลขาธิการ กสทช. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เลขานุการ กสทช. รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักประธานกรรมการและการประชุม มาที่ห้องประชุมแม้แต่คนเดียว และไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานผู้ที่รับผิดชอบการประชุมได้ จนเวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง จึงมีเจ้าหน้าที่มาปรากฏตัวหลัง กสทช.รายหนึ่งโทรศัพท์ตามตัวมาเพื่อสอบถามรายละเอียดเรื่องที่เกิดขึ้น

ศ.ดร.พิรงรอง เปิดเผยว่า ได้สอบถาม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมาปรากฏตัว ณ ที่ประชุมว่า ตามระเบียบการประชุม มีกรรมการมาประชุม 4 คน สามารถประชุมได้หรือไม่ เพราะมีการนัดหมาย มีวาระประชุม และมีกรรมการมาเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตอบได้และบอกว่าจะไปถามฝ่ายกฎหมาย แต่ไม่ได้กลับมาให้คำตอบ ทางกรรมการทั้ง 4 คนซึ่งรออยู่อีกพักใหญ่จึงแยกย้ายกันไป

“เราเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธาน และเลขาธิการ และน่าจะเกรงใจผู้บังคับบัญชาโดยตรงมากกว่าบอร์ดคนอื่น แต่สำนักงานก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่มีอย่างเคร่งครัด และต้องเห็นแก่ภาพรวมขององค์กร และผลกระทบต่อสาธารณะด้วย การงดประชุมกะทันหัน และการที่สำนักงานไม่พยายามหาทางออกให้บอร์ดคนอื่นที่พร้อมประชุมทำให้ส่งผลกระทบกว้างขวาง ความ ล่าช้าที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ” ศ.ดร.พิรงรอง กล่าว

พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ กล่าวเสริมว่า การยกเลิกการประชุมกระชั้นชิดโดยไม่มีการมอบหมาย ไม่มีระเบียบรองรับและไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากในระเบียบ กสทช.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมฯ ไม่ได้บัญญัติไว้ จึงไม่เคยมีการกระทำเช่นนี้มาก่อน นับตั้งแต่มี กสทช. หากประธานไม่สามารถมาประชุมได้ ก็ควรให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง ทาหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมแทน ไม่ควรปฏิบัติในลักษณะเช่นนี้ โดยไม่คำนึงถึงภาระหน้าที่ที่ยังคงมีเรื่อง ที่ค้างพิจารณาจานวนมาก

สำหรับการประชุมครั้งที่ 15/2566 มีวาระที่ต้องพิจารณาทั้งสิ้น 81 เรื่อง เป็นเรื่องที่ค้างพิจารณา 45 เรื่อง เรื่องที่เสนอพิจารณาเพิ่มเติม 25 เรื่อง ในจำนวนนี้มีเรื่องสาคัญ และเร่งด่วนที่ กสทช. ต้องพิจารณา เช่น เรื่อง การปรับโครงสร้างของสำนักงาน กสทช. เรื่องการแต่งต้ังและต่ออายุคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ อย่างน้อย 10 คณะ โดยคณะอนุกรรมการอย่างน้อย 6 คณะ ได้สิ้นสุดระยะเวลาตามคำสั่ง และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ รวมถึงคณะอนุกรรมการตามกฎหมาย คือ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ ซึ่งจะหมดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 13 ก.ค. 66

ในวาระค้างพิจารณา ยังรวมถึงคดีฟ้องร้องที่ กสทช.ต้องพิจารณาคาต่อสู้คดีของสำนักงาน กสทช. ซึ่งจะครบกาหนดการยื่นคำให้การในวันที่ 8 ก.ค. 66 นี้ นอกจากนี้ ยังมีวาระที่กระทบต่อผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ ที่ เสนอโดยสำนักคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อย่างน้อย 7 วาระ และวาระที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม จำนวน 2 วาระ ทั้งนี้ รวมถึงการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการออกอากาศรายการโทรทัศน์อย่างน้อย 7 วาระ ซึ่งพบว่าบางเรื่องค้างพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง และเรื่องเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าปรับทางปกครอง กรณีผู้ประกอบกิจการฝ่าฝืนประกาศการกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยหากยิ่งมีการกำหนดเกณฑ์ล่าช้า ผู้บริโภคก็ยิ่งได้รับความเสียหาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่า เมื่อการประชุม กสทช. ครั้งที่ 19/2565 เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 65 ศ.คลินิก สรณ ได้เคยลาป่วยเพื่อไปรับการผ่าตัด และที่ประชุม กสทช.ได้เห็นชอบให้ รศ.ดร.ศุภัช ทำหน้าที่ประธานในการประชุม กสทช. แทน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555 ข้อ 26 ที่ระบุว่า “ในการประชุมถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่ อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกรองประธานคนใดคนหนึ่งทาหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองประธานหรือมีแต่ไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทาหน้าที่ประธานในที่ประชุม”.
กำลังโหลดความคิดเห็น