xs
xsm
sm
md
lg

“ดร.อานนท์” ซัด “ธนาธร” ขอ “นิรโทษ ม.112” ให้ตัวเอง “โบว์” ผิดหวัง “การต่อสู้” ของใคร? ปั่นข่าวปลอมไปวันๆ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ภาพ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขณะชมนิทรรศการ 6 ตุลา ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
ต่อสู้เพื่อใครกันแน่? “ดร.อานนท์” ย้อน “ธนาธร” ทำผิด ม.112 จะขอ “นิรโทษกรรม” ให้ตัวเองหรือไร “โบว์” ผิดหวังการต่อสู้ “แกนนำ” บางคน เหลือแค่ปั่นข่าวปลอม ไปวันๆ “ทูตนริศโรจน์-พี่ศรี” จวก “มิลลิ” ขอโทษไม่จริงใจ

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วันนี้ (11 ต.ค. 65) เพจเฟซบุ๊ก ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ โพสต์ข้อความ พร้อมแชร์ข่าว นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เสนอให้มีการ “นิรโทษกรรม” คดีการเมือง โดยเฉพาะ ม.112 ระบุว่า

“แต่ธนาธรทำผิดมาตรา 112 มีคดีอยู่ ตกลงจะขอนิรโทษกรรมให้ตัวเองหรือไร

คดีวัคซีนพระราชทาน ใครได้ใครเสีย หนึ่งคดีเป็นอย่างน้อย

“ธนาธร” เสนอนิรโทษกรรมคดี ม.112 ลั่น! การพูดถึงประเด็นปฏิรูปสถาบันฯเป็นเสรีภาพที่ทำได้ ไม่ใช่อาชญากรรม”

ทั้งนี้ ข่าวที่แชร์มาจากไทยโพสต์ ประเด็น “ธนาธร” เสนอนิรโทษกรรมคดี ม.112 ลั่น! การพูดถึงประเด็นปฏิรูปสถาบันฯ เป็นเสรีภาพที่ทำได้ ไม่ใช่อาชญากรรม

เนื้อหาระบุว่า 11 ต.ค. 2565 - นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ว่า นิรโทษกรรม-ปฏิรูปสถาบัน-ICC บันไดสามขั้นสู่การคืนความยุติธรรมในยุคเปลี่ยนผ่าน

เมื่อวานนี้ ผมได้มีโอกาสร่วมเสวนาในหัวข้อ “ความยุติธรรมในยุคเปลี่ยนผ่าน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ 6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ ซึ่งจัดขึ้นที่ Kinjai Contemporary

ประเด็นที่ผมอยากย้ำอีกครั้งในที่นี้ คือ ความจำเป็นที่รัฐจะต้องคืนความเป็นธรรมให้กับผู้เห็นต่าง เพื่อให้สังคมก้าวไปข้างหน้าได้ หลุดพ้นจากวังวนความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชังไม่สิ้นสุด

อย่าคิดว่าเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะท่ามกลางความเกลียดชังอย่างถึงที่สุดที่เกิดขึ้นในยุค 6 ตุลา คนไทยถูกบ่มเพาะให้เกลียดชังนักศึกษาผู้ถูกป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถึงขั้นดีอกดีใจกับการสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์ เผาคนทั้งเป็น ใช้ไม้แหลมตอกอก กระทำทารุณกรรมศพต่างๆ นานา แม้แต่วัดในกรุงเทพฯ ยังไม่รับเผาศพ “พวกล้มเจ้า”

ผ่านไปเพียง 4 ปี รัฐบาลในสมัยนั้นยังออกนโยบาย 66/23 นิรโทษกรรมให้กับนักศึกษา คนที่เคยจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐบาล ได้กลับมาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญระดับรัฐมนตรีหลายคน และยังเป็นนักการเมืองคนสำคัญที่สร้างความก้าวหน้าให้กับประเทศมาจนถึงปัจจุบัน เช่น คุณจาตุรนต์ ฉายแสง คุณภูมิธรรม เวชยชัย คุณหมอพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือ คุณสุทัศน์ เงินหมื่น

การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมดที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่รัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา โดยเฉพาะนักโทษคดี 112 จึงเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกต่อการสร้างสังคมที่ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันได้ ไปสู่ความก้าวหน้าได้

แต่เท่านั้นยังไม่พอ

มีปัจจัยอีก 2 ประการที่จะนำไปสู่การสร้างสังคมที่เติบโตบนความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ สังคมที่คนเห็นต่างจะไม่ถูกฆ่าหรือกลายเป็นอาชญากร นั่นก็คือ การยืนยันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ วันนี้ ต้องยอมรับว่า มีคนจำนวนหนึ่งตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ และมีความคิดในเรื่อง Republic ว่า อาจเป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศไทย คำถามของผม ด้วยความห่วงใยต่อสถาบันกษัตริย์ และต่ออนาคตของประเทศ ด้วยความตระหนักถึงความหนักของปัญหานี้ ผมถามว่าคนที่คิดแบบนี้สมควรถูกฆ่าตายหรือ? พวกเขาควรถูกตราหน้าว่าเป็นอาชญากรหรือไม่? คุณอยู่ร่วมกับพวกเขาในสังคมได้รึเปล่า?

ผมพูดในฐานะคนที่มีคดีความ 112 อยู่กับตัวแล้วหลายคดี ว่า นี่คือ หน้าที่ของพวกเราประชาชน ที่จะร่วมกันยืนยันว่าการพูดถึงประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เป็นเสรีภาพที่ทำได้ ไม่ใช่อาชญากรรม ถ้าพูดกัน 10 คน ก็จะติดคุกทั้ง 10 คน แต่ถ้ามีคนพูดเป็นพันหรือเป็นหมื่นคน จะไม่มีใครต้องติดคุกแม้แต่คนเดียว

และปัจจัยสุดท้ายที่จะทำให้อาชญากรรมที่ชนชั้นนำกระทำต่อผู้เห็นต่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่เกิดขึ้นอีก ก็คือ การยุติวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวล หากกระบวนการภายในไม่สามารถจัดการได้ สิ่งที่รัฐบาลชุดต่อไปต้องเร่งทำ ก็คือ การให้สัตยาบัน อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เพื่อสอบสวนพิจารณาคดีและนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายสากล

ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำเพื่อให้ใครคนใดคนหนึ่งพ้นผิด หรือใครคนใดคนหนึ่งต้องถูกลงโทษ แต่เป็นการคืนความเป็นธรรมให้กับทั้งสังคม เพื่อให้เรากลายเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ ชำระบาดแผลในอดีต และป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำๆ ในอนาคต

ภาพ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ ขอบคุณข้อมูล-ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก Bow Nuttaa Mahattana
ขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก Bow Nuttaa Mahattana ของ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ นักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความระบุว่า

“น่าผิดหวังนะ ถ้าวันหนึ่งคำว่า “การต่อสู้” ของแกนนำบางคนจะเหลือแค่การปั่นข่าวปลอมสร้างเรื่องเท็จให้เป็นกระแส ใช้คำแบบศรีธนญชัยเลี่ยงความผิด หลอกผู้ติดตามที่ถูกหลอกง่ายไปวันๆ เพียงหวังว่า วันหนึ่งจะเกิดสถานการณ์เลวร้ายที่เข้าทางตัวเองขึ้นมา

อยากเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยการทำร้ายสังคม?

รู้ทันมานานแล้ว แต่ยังหวังว่า จะไม่ถึงจุดที่ต้องออกมาพูด”

ภาพ มินนี่ ดนุภา คณาธีรกุล หรือ มิลลิ จากแฟ้ม
ก่อนหน้านี้ไม่นาน เพจเฟซบุ๊ก Bow Nuttaa Mahattana ยังโพสต์ว่า

“คนที่จะขอโทษอย่างสง่างามได้ ต้องมีวุฒิภาวะมากพอ ถ้ายังไม่มี เขาก็จะขอโทษแบบมีข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นไปด้วย แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะการเอ่ยคำขอโทษบางครั้งต้องใช้ความกล้าหาญด้วยในระดับหนึ่ง และคนเราก็พัฒนากันได้”

ภาพ นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล จากแฟ้ม
ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพจเฟซบุ๊ก Fuangrabil Narisroj ของนายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความ ระบุว่า

“เขียนขอโทษเหมือนไม่สำนึกอะไร สายไปเสียแล้วสำหรับเด็กคนนี้

ทั้งนี้ มินนี่ ดนุภา คณาธีรกุล หรือ มิลลิ แร็ปเปอร์สาวชื่อดัง ได้ขอโทษกรณีทวีตว่า “ไปก็ไปเป็นภาระ ไม่ได้ช่วยเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิตเลยสักนิด” หลังเกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู แต่หลายฝ่ายมองตรงกันว่า ไม่มีความจริงใจ (จากไทยโพสต์)

ภาพ นายศรีสุวรรณ จรรยา จากแฟ้ม
นอกจากนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

“การออกมาขอโทษของแร็ปเหนียวดำ ไม่เพียงพอต่อการให้อภัย เพราะเสแสร้ง เดี๋ยวเรื่องซาก็ออกมาเฟียสอีกตามกมลสัน…ของนาง”

แน่นอน, “ความขัดแย้ง” ที่อ้างว่า เป็น “ความเห็นต่าง” แท้จริงแล้ว อาจเป็น “วาทกรรม” ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้การต่อสู้และขยายผลทาง “ความคิด” ซึ่งมี “เป้าหมาย”อย่างแหลมคม ดูไม่อันตราย เท่านั้นเองหรือไม่

ทว่า เมื่ออยู่ใน “สงคราม” ทางความคิดแล้ว คำว่า “ความเห็นต่าง” กลับกลายเป็น “อาวุธร้าย” ที่พร้อมประหัตประหาร อีกฝ่ายได้อย่างไม่ปรานีปราศรัย โดยเฉพาะที่ออกมาในรูป การแบน บูลลี่ ทัวร์ลง ล่าแม่มด สุดแท้แต่จะเรียก หนักเข้าอาจถึงขั้นเลือกข้าง แบ่งฝ่าย

ดังนั้น การใช้วาทกรรม “ความเห็นต่าง” เพื่อหลีกเลี่ยงการ “ต่อสู้” ขณะที่เป็นการ “ต่อสู้” จึงไม่ธรรมดา เพราะข้ออ้าง “แค่ความเห็นต่าง” จะเอาติดคุก จะฆ่ากันเลยหรือ เป็นสิ่งที่ทำให้อีกฝ่าย เป็น “ผู้ร้าย” ไปในทันที ได้ไม่ยาก

เหนืออื่นใด “ความเห็นต่าง” ที่ว่า ยัง “ปลุกใหญ่” ถึงขั้น ขอให้นิรโทษกรรม ม.112, ปฏิรูปสถาบันฯ และลงนาม ICC ที่มีผลยืมมือ “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ยื่นมือเข้ามาจัดการกับบางคดี ซึ่งรัฐธรรมนูญของไทยมีบทบัญญัติปกป้องเอาไว้? เพราะ “ความเห็นต่าง” ต้องการ “เปลี่ยนแปลงประเทศ”


กำลังโหลดความคิดเห็น