xs
xsm
sm
md
lg

เปิดฟังความเห็น ร่าง กม.เพิ่มส่งเงินสมทบ ขรก.ท้องถิ่น เป็นร้อยละ 10 เข้า “กองทุนบำเหน็จบำนาญ” เหตุถังแตก ไร้เงินจ่ายสมาชิก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เปิดรับฟังความเห็น “คนท้องถิ่น” ทั่วประเทศ ต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญ ขรก.ท้องถิ่นกว่า 6 หมื่น “สถ.” แจงเหตุยกร่าง ชงขยายเพดาน “เพิ่มอัตราส่งเงินสมทบ” เข้าเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละสิบ หลังพบ กองทุนฯ มีสภาพถังแตก ไร้เงินจ่ายสมาชิก แถมยอดคนลาออก-เกษียณ เพียบ! กอรปกับ “อัตราเงินเดือน” คน อปท.ได้ปรับเพิ่ม ย้ำ ไม่มีผลกระทบด้านกฎหมาย

วันนี้ (20 มิ.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เวียนหนังสือถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ.. ที่ สถ.ได้ยกร่างฯ

ร่างฉบับดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 เพื่อขยายเพดานอัตราการส่งเงินสมทบเข้าเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น “เพิ่มขึ้น” จากเดิม ไม่เกินร้อยละสาม เป็นไม่เกินร้อยละสิบ

โดยมีผลกับบุคลากร สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา ซึ่ง สถ.อ้างว่า ร่างฉบับนี้ ไม่มีการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ หรือ ก่อให้เกิดหน้าที่ หรือภาระ บุคลากร สังกัด อปท.

“กฎหมายดังกล่าว ก่อให้เกิดหน้าที่เฉพาะกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัด และอำเภอ”

ร่างฉบับนี้ แม้กำหนดให้ อปท. ส่งเงินสมทบเข้าเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งอาจกำหนดอัตราการส่งเงินสมทบ “เพิ่มขึ้นหรือลดลง” ก็ได้

ทั้งนี้ กรณีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีสภาพคล่องในการบริหารกองทุนสูง คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ก็อาจพิจารณาปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบ

สถ.อ้างว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว จะทำให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีขวัญกำลังใจ และมีความมั่นคงในการดำรงชีพเมื่อพ้นจากราชการ

“เนื่องจากมีหลักประกันในการที่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จบำนาญอย่างครบถ้วนตลอดไป อีกทั้ง เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ของรัฐบาลในการจ่ายบำเหน็จบำนาญแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น”

ขณะเดียวกัน เหตุผลความจำเป็นในการใช้ระบบคณะกรรมการในการบริหารจัดการ ตามร่างฉบับนี้ เนื่องจากมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

บัญญัติให้มีคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นแล้ว โดยมีอำนาจควบคุมและดำเนินการรับจ่ายเงินกองทุน รวมทั้งหาดอกผล จากกองทุนตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ด้วย โดยไม่มีการกำหนดโทษอาญาแต่อย่างใด

ส่วนที่กำหนดให้ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” มีดุลพินิจในการออกคำสั่ง ทางปกครอง หรือดำเนินกิจการทางปกครอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเงินสมทบเข้าเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น และการสั่งจ่ายบำเหน็จบำนาญ ให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น

สำหรับความเป็นมาในการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา กองทุนฯ ประสบปัญหาขาดแคลนเงิน ที่จะจ่ายเป็นเงินบำเหน็จบำนาญ ให้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล และพนักงานเมืองพัทยา

เนื่องจากมีการปรับอัตราบัญชีเงินเดือนของ ข้าราชการ อบจ. พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล และพนักงานเมืองพัทยา หลายครั้ง มีผลทำให้อัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีผู้ลาออกและเกษียณอายุราชการ เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ หากยังคงกำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นหักเงินจากประมาณการรายรับในงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อสมทบเข้าเป็นกองทุนในอัตราที่กำหนดโดยกฎกระทรวงไม่เกินร้อยละสาม จะส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน ชองกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นจนไม่อาจตำเนินงานต่อไปได้

จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อขยายเพดานอัตราการส่งเงินสมทบ เข้าเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

โดยใช้ประมาณการรายรับในงบประมาณ รายจ่ายประจำปี เป็นฐานในการคำนวณให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน และเพื่อให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น มีเงินกองทุนจ่ายบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

สำหรับจำนวนข้าราชการ/พนักงานสามัญในสังกัด อปท.ทั้ง 3 ระดับ ในเว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.) พบว่า สังกัด อบจ. 5,639 คน เทศบาล 23,368 คน และ อบต. 26,061 คน รวมทั้งสิ้น 55,068 คน

ขณะที่ เมื่อปี 2559 เป็นครั้งล่าสุด ที่มีการปรับบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงานส่วนท้องถิ่น บัญชี 5.


กำลังโหลดความคิดเห็น