xs
xsm
sm
md
lg

"สามารถ"มั่นใจ คดีแตงโมใกล้ได้ข้อสรุป เผยผู้ใหญ่ส่งสืบมือดีมาร่วมไขคดี ปัดข่าว นาย?พล? น?.ขายข้อมูล ไม่จริง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



วันนี้( 8 มี.ค.)นาย​สามารถ​ เจน​ชัย​จิตร​ว​นิช​ อดีต​ผู้ช่วย​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม​ โพสต์​ข้อความ​ผ่าน​เฟซบุ๊ค​ถึงคดี​แตงโมว่า​ หลังจากวันนี้​เป็น​ต้นไป​ จะมีความชัดเจนมากขึ้น​ หลังผู้ใหญ่​ได้ส่งตำรวจ​ ระดับมือ1ในด้านสืบสวนมาทำคดี​ ร่วมกับ​ ตำร​วจ​ภูธร​ภาค​1​

โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังนายสามารถเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระแสข่าวนาย​พล​ น​.มาขายข้อมูล​ นายสามารถ ระบุว่า ไม่เป็น​ความจริง​แต่อย่างใด​ แต่ข้อเท็จจริง​คือ มีนายพล​ยศระดับ​พลตำรวจตรี​ มาทำคดีเพิ่มจริง​ โดยคนนี้เป็นมือสืบสวนคดีระดับประเทศ​ ที่ผู้ใหญ่​ใช้ลงมาให้ร่วมสืบสวนกับตำรวจภูธร​ภาค​1 ตนจึงค่อนข้าง​มั่นใจว่าคดีนี้จะคลี่คลาย​ลง​ได้อย่างแน่นอน​ เพราะการให้การของจำเลย​ จะเป็​นอย่างไรก็ได้​ ตำรวจไม่จำเป็น​ต้องเชื่อ​ ​เจ้าหน้าที่​เพียงแค่​ต้องรวบรวม​พยานหลักฐาน​ให้ชัดเจน​ ตามข้อหาที่แจ้ง​ เพื่อให้พนักงาน​อัยการ​มีความเห็นสั่งฟ้องต่อไป​

การ​ที่​ผู้​ต้องหาจะให้การว่าแตงโม​ไปปัสสาวะ​ ก็เป็​นสิทธิ​ของผู้ต้องหา​ เพียงแต่พนักงาน​สอบสวนต้องทำงานร่วมกับ​ชุดสืบสวน​ ในการหาวัตถุพยาน​ ทั้งพยานบุคคล​ พยานเอกสาร​ พยานวัตถุ​ ที่รวบรวม​โดยหลักนิติวิทยาศาสตร์​ ก็จะทำให้พยานมีความครบถ้วนและน่าเชื่อถือ​ สิ้นความสงสัยก็จพไม่ถูกทนายจำเลยซักค้านให้ศาลไปลง​ ป​ วิ​ อาญามาตรา​ 227 ที่วางหลักไว้ว่า​ ให้ ศาล ใช้ดุลพินิจ วินิจฉัย ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ทั้งปวง อย่า พิพากษาลงโทษ จนกว่าจะแน่ใจว่า มีการกระทำผิดจริง และ จำเลย เป็นผู้กระทำ ความผิดนั้น เมื่อ มีความสงสัย ตามสมควรว่า จำเลย ได้กระทำผิด หรือไม่ ให้ยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้น ให้แก่ จำเลย​ ดังนั้น​ผมจึงมั่นใจว่าคดีนี้​ ตำรวจจะพิสูจน์​ความจริงให้สังคมได้เข้าใจและสิ้นกระแสความสงสัย​ ผมขอหยิบยก​คดีระเบิดราชประสงค์​ตำรวจยังตามได้เลย​ คดีนี้ไม่มีอะไรซับซ้อน​ เพียงแต่มีคนบางกลุ่ม​พยายามเบี่ยงเบน​ประเด็น​ิก็เท่านั้น​ แต่หลังจากมีมือสืบสวนที่เป็นระดับนายพล​ ลงมาผมจึงมั่นใจว่าไม่น่าเกิดรอสังคมจะได้รับทราบความจริงในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน

ถึงอย่างไรก็ตามผมขออนุญาต​ นำเรื่องสิทธิ​ขั้นพื้นฐาน​ของจำเลยมาบอกพ่อแม่พี่น้อง​สื่อมวลชนช่วยประชาสัมพันธ์​ต่อ​ด้วย​นะ​ครับ

ความหมายของคำว่า “ผู้ต้องหา”

คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญา แต่ไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล ในระหว่างนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

 สิทธิขั้นพื้นฐานของ “ผู้ต้องหา”

1. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร

2. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาได้

3. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อหรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือตอบคำถามที่เป็นผลเสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน

4. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

5. สิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง

6. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือคนที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้

7. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

8. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ

9. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย

10. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว

ความหมายของคำว่า “จำเลย”

คือ บุคคลที่ถูกฟ้องคดี โดยข้อหากระทำความผิดอาญา มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้…

สิทธิขั้นพื้นฐานของ “จำเลย”

1. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม

2. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ให้ประกันต้องแจ้งเหตุผลให้จำเลยทราบโดยเร็ว

3. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน

4. สิทธิที่จะพบทนายความเป็นการส่วนตัว

5. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร

6. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้

7. สิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเพื่อสู้คดี

8. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว

9. สิทธิที่จะตรวจดูสำนวนของศาลและขอคัดสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียม

10. สิทธิที่จะตรวจดูสิ่งของที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้น ๆ ได้

11. สิทธิที่จะได้รับสำเนาคำฟ้อง

12. สิทธิที่จะได้รับการอ่านและอธิบายคำฟ้องให้ฟังและการสอบถามคำให้การจากศาล

13. สิทธิที่จะให้การต่อสู้คดี

14. สิทธิที่จะได้การสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มการพิจารณาคดี

15. สิทธิที่จะคัดค้านคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีที่จำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว

 อย่างน้อย​ก็เป็​นข้อมูล​ให้พ่อแม่​พี่น้อง​ประชาชน​ที่ตามคดีของแตงโมก็จะได้รู้กฏหมาย​ และ​ รู้ถึงสิทธิ​เสรีภาพ​ขั้นพื้นฐาน​ตามบทบัญญัติ​ของ​รัฐธรรมนูญ​ไปพร้อมกัน​ "นายสามารถกล่าวทิ้งท้าย​


กำลังโหลดความคิดเห็น