ทีมโฆษก ศบค. เผยลักลอบเข้าเมือง 211 คน นร.-นักพนัน-รับจ้าง ย้ำต้องจับกุมดำเนินคดี พบคลัสเตอร์ใหม่ กทม. ห้างลาดพร้าว เฝ้าระวัง 48 คลัสเตอร์ ตลาดสำโรง ติดเชื้อใหม่ 186 คน สั่งโรงงานใหญ่ประเมินตัวเอง 100% ขีดเส้นตาย 15 มิ.ย.เพิกเฉยลงโทษ
วันนี้ (2 มิ.ย.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.) แถลงว่า สำหรับการรายงานการข้ามแดนวันเดียวกันนี้ 211 ราย ผ่านเข้าช่องทางตามธรรมชาติผิดกฎหมายมาทางช่องทางตะวันตก จากเมียนมา 79 ราย ทางสาม 10 ราย กัมพูชา 59 ราย และทางด่านมาเลเซียยังไม่มีรายงานตัวเลขเป็นศูนย์ แต่ช่องทางธรรมชาติทางเมียนมาส่วนใหญ่ยังพบว่าเป็นคนไทยที่พยายามจะลักลอบเข้าเมือง และพบคนจีนผ่านทางด่านแม่สอด 2 ราย โดยเป็นการผ่านเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ทั้งนักเรียน นักพนันออนไลน์ อาชีพแม่บ้านและทำอาชีพรับจ้าง โดยต้องเน้นย้ำว่าขอให้เข้ามาตามช่องทางปกติ หากยังเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติจะถูกดำเนินการจับกุมและดำเนินคดี.
ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ยังแถลงว่า สำหรับการรายงานผู้ติดเชื้อ โควิด-19 รายใหม่ ในประเทศไทย 10 อันดับจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิ.ย. พบว่า กรุงเทพฯ 680 รายสมุทรปราการ 466 ราย เพชรบุรี 449 ราย ตรัง 176 ราย สมุทรสาคร 78 ราย นนทบุรี 62 ราย ปทุมธานี 39 ราย นราธิวาส 34 ราย พระนครศรีอยุธยา 33 ราย และชลบุรี 29 ราย โดยกรุงเทพฯมีรายงานเฝ้าระวัง 48 คลัสเตอร์ ซึ่งมีคลัสเตอร์ใหม่ที่พบ คือ ลาดพร้าว ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด ประกอบด้วย เขตบางกะปิ ตลาดบางกะปิ แคมป์คนงานก่อสร้าง ห้างค้าส่ง และเคหะคลองจั่น, เขตคลองเตย ตลาดคลองเตยชุมชนแออัดคลองเตย แคมป์คนงานก่อสร้าง, เขตดุสิต ไซต์ก่อสร้าง สี่แยกมหานาคสะพานขาว และตลาดผลไม้, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย คลองถมเซ็นเตอร์เสือป่า วงเวียน 22 วรจักรและโบ๊เบ๊, เขตบางรัก แคมป์คนงานก่อสร้างและสีลม, เขตดินแดง ตลาดห้วยขวาง แฟลตดินแดง และแคมป์คนงานก่อสร้าง, เขตห้วยขวาง ชุมชนโรงปูน และแคมป์ก่อสร้าง, เขตสัมพันธวงศ์ สำเพ็ง, เขตบางกอกน้อย ตลาดศาลาน้ำร้อน, เขตราชเทวี ประตูน้ำ ชุมชนริมคลอง และชุมชนแห่งหนึ่ง, เขตพระนคร ปากคลองตลาด, เขตปทุมวัน แคมป์คนงานก่อสร้าง (1-2), เขตทุ่งครุ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า (เป็นทาวน์โฮม) และโรงงานรับเย็บผ้า, เขตบางแค ในสถานดูแลผู้สูงอายุเอกชน 3 แห่ง และบริษัทเอกชน, เขตลาดพร้าว อพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่ง, เขตคลองสานตลาดแห่งหนึ่ง, เขตสวนหลวง แคมป์ก่อสร้าง (ต่อเนื่องไซต์งานก่อสร้างดุสิต), เขตยานนาวา โรงงานเย็บผ้า, เขตมีนบุรี ตลาดมีนบุรี, เขตวัฒนา สถานเอกอัครราชทูตและแคมป์คนงานก่อสร้าง, เขตคลองสามวา ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ, เขตบางนา แคมป์คนงานก่อสร้าง, เขตสาทร ชุมชนแห่งหนึ่ง
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ส่วนกลุ่มเฝ้าระวัง ประกอบด้วย เขตบางเขน ตลาดยิ่งเจริญ, เขตบางซื่อ โกดังสินค้าให้เช่า, เขตประเวศ ร้านเฟอร์นิเจอร์, เขตหลักสี่ แคมก่อสร้าง,เขตสาทรชุมชนชาวกินี, เขตดอนเมือง แคมก่อสร้าง, เขตบางคอแหลม แคมป์ก่อสร้าง (1-2) และเขตหนองจอก ตลาดหนองจอก
พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของคัตเตอร์จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดสำโรง มีรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 186 ราย โรงงานผลิตจำหน่ายซอส 36 ราย โรงน้ำแข็งพบคลัสเตอร์ใหม่อีก 74 ราย และพื้นที่ในชุมชนและตลาดเคหะบางพลีอีก 16 ราย
ส่วนเพชรบุรี โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีการแพร่กระจายไป 11 จังหวัด พบว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่รายงานเพิ่มอีก 438 ราย ทำให้เพชรบุรีอยู่ในการรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ลำดับที่ 3 ยอดสะสมของทั้งจังหวัดอยู่ที่ 4,914 รายส่วนจังหวัดตรัง โรงงานผลิตถุงมือและพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง และจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกเริ่มมีการระบาดไปยังชุมชนของจังหวัดตรัง โดยขอฝากประชาชนที่อำเภอเมือง อำเภอกันตัง และอำเภอย่านตาขาวต้องเฝ้าระวังระมัดระวังการเดินทางข้ามพื้นที่เป็นสิ่งที่เราเน้นย้ำ ขณะที่ สมุทรสาคร คลัสเตอร์ใหม่ อำเภอกระทุ่มแบน โรงงานผลิตสินค้าเด็ก พบรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 42 ราย ส่วนนราธิวาส ในพื้นที่ตากใบ พบการรายงานในชุมชนเพิ่ม 28 ราย ส่วนอยุธยา เป็นคัตเตอร์ใหม่ คือ บริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ มีรายงานยืนยัน 11 ราย โดยคลัสเตอร์ที่รายงานทั้งหมดมีการตรวจคัดกรองเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามไปยังในชุมชนและสถานที่พักของคนงานเหล่านี้
ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 ยังแถลงว่า ที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก พูดคุย เรื่องโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ที่จังหวัดสระบุรีที่มีการกระจายไปยังหลายจังหวัด โดยโรงงานแรกเป็นโรงงานชำแหละไก่ ซึ่งกรมควบคุมโรครายงานว่าพนักงานค่อนข้างเยอะมีทั้งชาวชาวไทย และชาวต่างชาติ โดยชาวไทยประมาณ 4,000 กว่าคน และมีชาวต่างชาติ 1,000 กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติกัมพูชา และการติดเชื้อถือได้ว่าหลากหลาย มีทั้งติดเชื้อภายในแผนกทำหน้าร้านคือ พนักงานที่ทำงานแปรรูปชิ้นไก่ มีส่วนของพนักงานเตรียมวัตถุดิบ และรวมทั้งพนักงานสวมสนับสนุน ก็จะเห็นการกระจายที่ติดต่อกันไปในส่วนของโรงงานทั้งโรงงาน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือกรมควบคุมโรค ได้มีการวิเคราะห์ว่าที่พักคนไทยอยู่บ้านส่วนตัวหรืออยู่อาศัยในหอพักที่อยู่บริเวณหน้าโรงงาน หรือโดยรอบ แต่คนต่างชาติจะอาศัยอยู่ในหอพักที่โรงงานจัดให้ ซึ่งในแง่การเดินทางก็มีเดินทางในรถส่วนตัว และรถรับส่งของโรงงาน และบางหอพักมีที่พักแออัด บางห้องมีอยู่รวมกัน 3 -6 คน มีพฤติกรรมการรวมกลุ่มรับประทานอาหารร่วมกัน และใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน ทั้งนี้ สิ่งที่กรมควบคุมโรคตรวจพบปัจจัย คือพบกลุ่มแรงงานฝีมือ หรือแรงงานช่าง พบการติดเชื้อน้อย และพบว่าปัจจัยสำคัญ คือกลุ่มนี้มีมาตรการส่วนตัว
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า โดยที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กจึงมีการทบทวนมาตรการป้องกัน เพราะเริ่มมีการแพร่กระจายในโรงงานเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตกะทิ โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิตซอส และโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และสินค้าเด็ก โดยในวันเดียวกันนี้สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย นำผลข้อสรุปจากการประชุมหารือร่วม ซึ่งมีการประชุมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีสถานประกอบการโรงงานโดยวัตถุประสงค์ที่มีการหารือ เพื่อหามาตรการป้องกันการติดเชื้อในโรงงาน ลดความรุนแรงของการระบาด โดยต้องควบคุมไม่ให้การแพร่กระจายเหล่านี้แพร่กระจายไปสู่ชุมชนในวงกว้าง รวมถึงต้องการใหัมีการปกป้องเศรษฐกิจและสังคม โดยสถานประกอบการต้องมีความปลอดภัยและดำเนินกิจการได้ในช่วงของการระบาด โดย 2 เดือนที่ผ่านมามีการสำรวจพบว่ามีการติดเชื้อ 10 จังหวัดในช่วงที่ผ่านมา และโรงงานขนาดใหญ่ที่มีโรงงานคนงานเกิน 200 คน เป็นเป้าหมายหลักที่พบการติดเชื้อค่อนข้างสูง และปัจจัยสำคัญ คือ พบเรื่องของความแออัดในสถานที่ทำงาน และที่พักคนงานมีการระบายอากาศที่ไม่ดีพอ มีจุดสัมผัสที่ไม่สะอาด รวมทั้งมีพฤติกรรมที่มีกิจกรรมร่วมกัน คือ การรับประทานอาหารร่วมกัน โดยการวิเคราะห์รายงานว่าโรงงานขนาดใหญ่ พบติดเชื้อมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โรงงานไซด์เล็กและไซด์กลางมีรายงานการติดเชื้อเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนการสำรวจของกรมอนามัย รายงานว่ามีโรงงานที่ลงทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 63,000 แห่ง อีก 5,000 แห่งและมีขนาดเล็กและขนาดกลาง มีคนงานไม่เกิน 50 คน 3,300 แห่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่มีคนงานเกิน 200 คน ในช่วงที่ผ่านมากรมอนามัยได้พยายามที่จะรณรงค์ให้ใช้มาตรการ “Thai Stop Covid+TSC” ซึ่งเป็นนรายละเอียดการประเมินตนเอง ทั้งนี้ 2 เดือนที่ผ่านมา รายงานพบโรงงาน 2,800 โรงงาน เข้าไปทำการประเมินตนเอง แต่ทั้งหมดพบว่าโรงงานขนาดใหญ่จากตัวเลข 3,300 โรงงานโดยประมาณ เข้าไปทำแบบประเมินเพียง 650 โรงงานเท่านั้น
พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า จึงเน้นย้ำให้ภายในวันที่ 15 มิ.ย. โรงงานขนาดใหญ่ที่มีรายชื่ออยู่ในกระทรวงอุตสาหกรรมต้องเข้าไปประเมินตนเองให้ครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ จะเลือกทำบางส่วนไม่ได้ และขอให้ตอบตามความเป็นจริง หากได้คะแนนน้อยหรือไม่ผ่านเกณฑ์จะมีทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่ไปช่วยปรับปรุงแก้ไขให้ผ่าน แต่หากขอความร่วมมือแล้วเพิกเฉย ไม่ประเมินตนเอง เป็นเหตุให้มีการติดเชื้อและกระจายไปที่อื่น ตรงนี้จะมีการพิจารณาบทลงโทษ แต่หากโรงงานทำได้ดี จะมีการให้รางวัล ปรับให้เป็นสถานประกอบต้นแบบ