xs
xsm
sm
md
lg

“วิษณุ” ชี้ ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดหาวัคซีนระหว่างรอผลิตได้ แต่ต้องยึด กม.ขอ อย.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รองนายกฯ แจง ออกประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดหาวัคซีนเพื่อให้มีคุณสมบัติถูกต้อง อุดช่องว่างระหว่างรอประเทศไทยผลิตวัคซีนเองได้ จ่ายเงินเอง แต่ต้องทำตามกฎหมายทุกอย่าง รวมถึงขออนุญาต อย. ในการนำเข้า

วันนี้ (27 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สามารถจัดหาวัคซีน อุปกรณ์ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ เข้ามารักษาประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้ ว่า ทุกอย่างยังจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่ใช่การนำเข้าแบบอิสระ ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ทุกประการ เช่น ต้องขออนุญาต อย. ดังนั้น จำเป็นต้องมีการออกประกาศรับรองเพื่อให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีคุณสมบัติและไปยื่นขอเจรจานำเข้าวัคซีนได้ และเป็นการใช้อำนาจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และช่วงที่ขาดแคลนเท่านั้น แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงอำนาจนี้ก็จะหมดไป ยืนยันว่า จะไม่มีความซ้ำซ้อนกับกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นฝ่ายบริหารจัดการวัคซีน เพราะตามขั้นตอนต่างๆ ก็จะต้องไปขออนุญาตกระทรวงสาธารณสุข เช่นกัน ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีศักยภาพในการที่จะไปติดต่อไปหน่วยงานต่างประเทศ เช่น สปุกนิก วี หรือ ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา เหมือนกับเอกชนที่มีศักยภาพ ดังนั้น การออกประกาศในราชกิจจา คือ การรับรองการราชวิทยาลัยฯให้มีคุณสมบัติ สถานะ ทัดเทียมเอกชน สามารถดีลกับบริษัทวัคซีนได้เลย แต่การนำเข้าก็ต้องผ่านการขอ อนุญาต อย.ก่อน ส่วนงบประมาณในการจัดซื้อ จะเป็นงบของราชวิทยาลัยฯทั้งหมด ไม่ได้เป็นการมาใช้งบของรัฐ ถ้าใช้งบของรัฐกระทรวงสาธารณสุขติดต่อเองได้

ทั้งนี้ หากมีองค์กร หรือ สถาบัน อื่นๆ จะทำในรูปแบบเช่นนี้ได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยฯ ต้องทำเพราะตาม พระราชบัญญัติยา คนที่จะเข้ามายา หรือ เวชภัณฑ์เข้ามาได้ จะต้องหน่วยเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ เท่านั้น แต่ในกรณีเช่นนี้โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐเข้านิยามอยู่แล้ว แต่ราชวิทยาลัยฯ ไม่เข้าตามกฎหมาย จึงเป็นที่มาของการออกประกาศรับรองสถานะ นอกจากนี้ ในประกาศยังระบุอีกว่า ในกรณีที่มีการผลิตวัคซีนในประเทศ ราชวิทยาลัยฯก็ต้องหยุดการนำเข้าวัคซีนทั้งหมด และยืนยันว่า การออกประกาศรับรองราชวิทยาลัย เป็นการอุดช่องว่าง และราชวิทยาลัยฯมีความสัมพันธ์อันดีกับสปุกนิก


กำลังโหลดความคิดเห็น