xs
xsm
sm
md
lg

อภิปรายงบวันที่ 2 จืดชืด รุมสับสำนักงบฯ “สาทิตย์” ปูด ผช.รมต.แทรกแซงเงินกู้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ประชุมสภาฯ อภิปรายงบ 64 วันที่ 2 บรรยากาศจืดชืด ต่างจากวันแรก ส.ส.รุมสับสำนักงบฯ “สาทิตย์” แฉผู้ช่วย รมต.แทรกแซงใช้งบเงินกู้ 4 แสนล้านในจังหวัดตรัง

วันนี้ (2 ก.ค.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วาระแรก วงเงิน 3.3ล้านล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง โดยบรรยากาศการอภิปรายในช่วงเช้าเป็นไปอย่างจืดชืด ส.ส.หลายคนอภิปรายในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง หลายคนตำหนิการทำงานสำนักงบประมาณที่ตัดงบไม่สมเหตุผล โดยเฉพาะงบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เสนอมาถูกตัดทิ้งจำนวนมาก อาทิ นายพัฒนา สัพโส ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า สำนักงบประมาณวันนี้ทำตัวเป็นฝ่ายบริหารเข้าไปทุกวัน ตัดงบไม่สนใจท้องถิ่นที่เสนองบเข้ามา ท้องถิ่นเล็กๆ เสนอโครงการเล็กๆ แต่สำนักงบประมาณกลับให้แต่โครงการใหญ่ สำนักงบประมาณบริหารงานผิดพลาดตลอดหลายปีที่ผ่านมา ยุคนี้แย่มากๆ แม้สำนักงบประมาณจะมีอำนาจทำได้ แต่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่อยากทำอะไรทำได้ทุกเรื่อง ต้องฟังคนอื่นบ้าง

น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า อยากให้ปฏิรูปสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณ ส.ส.เหมือนตรายาง มีหน้าที่ยกมือให้ผ่าน จะตัดลดก็ไม่ได้ ยกตัวอย่าง การจัดสรรงบกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ที่ได้งบ 20,000 กว่าล้านบาท ไปทำถนน ราดยางถนน ดูแล้วมากเกินไป ควรนำงบเหล่านี้ไปพัฒนาแหล่งน้ำดีกว่า โดยเฉพาะระบบประปาที่หลายพื้นที่มีปัญหา ไม่มีระบบประปาหรือน้ำไม่ไหล

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตอนนี้เกิดความถดถอยของประชาธิปไตยทั่วโลก เพราะประชาชนเสื่อมศรัทธาที่ไม่อาจ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เมื่อคุณภาพประชาธิปไตยต่ำลงทำให้กลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมีหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหารวยกระจุกจนกระจาย ที่ ณ วันนี้ไม่ใช่เรื่องบุญทำกรรมแต่ง แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้ไข เมื่อเกิดการระบาดของโควิด 19 ได้ส่งผลต่อประชาชนอย่างรุนแรง ยิ่งทำให้คนจนและคนไร้โอกาสถูกซ้ำเติมเข้าไปอีก ประเทศไทยกำลังเป็นเช่นนั้น รายงานของ ธปท.เมื่อเดือน ธ.ค. 2562 ระบุว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และในรายงานของ World Economic Forum เมื่อปี 2560 ระบุว่าคนไทยมีรายได้ต่างกันถึง 10.3 เท่า ขณะเดียวกัน มีรายงานการศึกษาของไอเอ็มเอฟระบุว่าทุกครั้งหลังมีการโรคระบาดยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนห่างกันมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามบรรเทาผลกระทบก็ตาม

นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า การทำงบประมาณ 2564 สำนักงบประมาณเสนอให้มีการปรับปรุงเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ช่วงเดียวกับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับพบว่าไม่มีหน่วยงานใดเสนอปรับลดงบประมาณตัวเองเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด ส่งผลให้สำนักงบประมาณต้องตัดงบประมาณเองและสุดท้ายต้องเอาไปไว้ที่งบกลาง ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรง เมื่องบประมาณ 2564 ไม่มีการแก้ไขจึงเป็นเพียงงบประมาณปกติเท่านั้น ไม่ใช่การจัดทำงบประมาณในภาวะฉุกเฉิน ถ้างบประมาณ 2564 ไม่มีการปรับแผนแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำแล้ว ก็ต้องไปใช้เงินจากพระราชกำหนดกู้เงิน กฎหมายโอนงบประมาณ

“อย่างไรก็ตาม งบจากเงินกู้ 4 แสนล้านบาท มีปัญหามาก เพราะไม่มีกรอบการดำเนินการที่ชัดเจน และทุกอย่างต้องไปขึ้นอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒน์ทั้งหมด ที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ประกาศว่าห้ามใครมาแทรกแซงเงิน 4 แสนล้านบาท แต่ตอนนี้ที่จังหวัดตรังพบว่ามีคนแอบอ้างเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีและระบุว่ามีงบในมือ 300 ล้านบาท ใครจะขอให้บอกมา ดังนั้น หากจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจะต้องปรับวิธีการกลั่นกรองงบเงินกู้ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ถึงมือประชาชน ปรับหลักเกณฑ์ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินเพื่อให้การปล่อยสินเชื่อถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแท้จริง และต้องปรับโครงสร้างงบประมาณ 2564 ใหม่เพื่อให้เป็นงบประมาณสำหรับสถานการณ์วิกฤตไม่ใช่ทำเหมือนงบประมาณปกติแบบที่ผ่านมา” นายสาทิตย์กล่าว












ประชุมสภาฯ อภิปรายงบ 64 วันที่ 2 บรรยากาศจืดชืด ต่างจากวันแรก ส.ส.รุมสับสำนักงบฯ “สาทิตย์” แฉผู้ช่วย รมต.แทรกแซงใช้งบเงินกู้ 4 แสนล้านในจังหวัดตรัง

วันนี้ (2 ก.ค.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วาระแรก วงเงิน 3.3ล้านล้านบาท ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง โดยบรรยากาศการอภิปรายในช่วงเช้าเป็นไปอย่างจืดชืด ส.ส.หลายคนอภิปรายในประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง หลายคนตำหนิการทำงานสำนักงบประมาณที่ตัดงบไม่สมเหตุผล โดยเฉพาะงบที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เสนอมาถูกตัดทิ้งจำนวนมาก อาทิ นายพัฒนา สัพโส ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า สำนักงบประมาณวันนี้ทำตัวเป็นฝ่ายบริหารเข้าไปทุกวัน ตัดงบไม่สนใจท้องถิ่นที่เสนองบเข้ามา ท้องถิ่นเล็กๆ เสนอโครงการเล็กๆ แต่สำนักงบประมาณกลับให้แต่โครงการใหญ่ สำนักงบประมาณบริหารงานผิดพลาดตลอดหลายปีที่ผ่านมา ยุคนี้แย่มากๆ แม้สำนักงบประมาณจะมีอำนาจทำได้ แต่ไม่เหมาะสม ไม่ใช่อยากทำอะไรทำได้ทุกเรื่อง ต้องฟังคนอื่นบ้าง

น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า อยากให้ปฏิรูปสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณ ส.ส.เหมือนตรายาง มีหน้าที่ยกมือให้ผ่าน จะตัดลดก็ไม่ได้ ยกตัวอย่าง การจัดสรรงบกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ที่ได้งบ 20,000 กว่าล้านบาท ไปทำถนน ราดยางถนน ดูแล้วมากเกินไป ควรนำงบเหล่านี้ไปพัฒนาแหล่งน้ำดีกว่า โดยเฉพาะระบบประปาที่หลายพื้นที่มีปัญหา ไม่มีระบบประปาหรือน้ำไม่ไหล

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตอนนี้เกิดความถดถอยของประชาธิปไตยทั่วโลก เพราะประชาชนเสื่อมศรัทธาที่ไม่อาจ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เมื่อคุณภาพประชาธิปไตยต่ำลงทำให้กลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจเข้าแทรกแซงได้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมีหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหารวยกระจุกจนกระจาย ที่ ณ วันนี้ไม่ใช่เรื่องบุญทำกรรมแต่ง แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้ไข เมื่อเกิดการระบาดของโควิด 19 ได้ส่งผลต่อประชาชนอย่างรุนแรง ยิ่งทำให้คนจนและคนไร้โอกาสถูกซ้ำเติมเข้าไปอีก ประเทศไทยกำลังเป็นเช่นนั้น รายงานของ ธปท.เมื่อเดือน ธ.ค. 2562 ระบุว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง และในรายงานของ World Economic Forum เมื่อปี 2560 ระบุว่าคนไทยมีรายได้ต่างกันถึง 10.3 เท่า ขณะเดียวกัน มีรายงานการศึกษาของไอเอ็มเอฟระบุว่าทุกครั้งหลังมีการโรคระบาดยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนห่างกันมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามบรรเทาผลกระทบก็ตาม

นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า การทำงบประมาณ 2564 สำนักงบประมาณเสนอให้มีการปรับปรุงเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ช่วงเดียวกับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กลับพบว่าไม่มีหน่วยงานใดเสนอปรับลดงบประมาณตัวเองเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด ส่งผลให้สำนักงบประมาณต้องตัดงบประมาณเองและสุดท้ายต้องเอาไปไว้ที่งบกลาง ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรง เมื่องบประมาณ 2564 ไม่มีการแก้ไขจึงเป็นเพียงงบประมาณปกติเท่านั้น ไม่ใช่การจัดทำงบประมาณในภาวะฉุกเฉิน ถ้างบประมาณ 2564 ไม่มีการปรับแผนแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำแล้ว ก็ต้องไปใช้เงินจากพระราชกำหนดกู้เงิน กฎหมายโอนงบประมาณ

“อย่างไรก็ตาม งบจากเงินกู้ 4 แสนล้านบาท มีปัญหามาก เพราะไม่มีกรอบการดำเนินการที่ชัดเจน และทุกอย่างต้องไปขึ้นอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒน์ทั้งหมด ที่สำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ประกาศว่าห้ามใครมาแทรกแซงเงิน 4 แสนล้านบาท แต่ตอนนี้ที่จังหวัดตรังพบว่ามีคนแอบอ้างเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีและระบุว่ามีงบในมือ 300 ล้านบาท ใครจะขอให้บอกมา ดังนั้น หากจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจะต้องปรับวิธีการกลั่นกรองงบเงินกู้ใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ถึงมือประชาชน ปรับหลักเกณฑ์ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงินเพื่อให้การปล่อยสินเชื่อถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแท้จริง และต้องปรับโครงสร้างงบประมาณ 2564 ใหม่เพื่อให้เป็นงบประมาณสำหรับสถานการณ์วิกฤตไม่ใช่ทำเหมือนงบประมาณปกติแบบที่ผ่านมา” นายสาทิตย์กล่าว