xs
xsm
sm
md
lg

พบปมปัญหาใหม่ 2 ผู้สมัคร กสม.ส่อขัด รธน.- พ.ร.ป.กสม.กำลังเป็น กสม.ชั่วคราวอาจเข้าข่ายลักษณะต้องห้าม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



2 ผู้สมัคร กสม.ส่อขัด รธน.และ พ.ร.ป.กสม. กำลังเป็น กสม.ชั่วคราว อาจเข้าข่ายลักษณะต้องห้าม-หมดสิทธิสมัครเป็นกรรมการองค์กรอิสระ เผย กรรมการสรรหานัดเคลียร์ ประชุมตีความ 19 มิ.ย.

วันนี้ (13 มิ.ย.) รายงานข่าวแจ้งว่า ได้ตรวจสอบพบปมปัญหาการตีความรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 202 และ 216 ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามการเป็นผู้สมัครเพื่อไปเป็นกรรมการในองค์กรอิสระ โดยบัญญัติว่า ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระใด มีลักษะต้องห้ามไม่มีสิทธิลงสมัครและไม่มีสิทธิเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ได้แก่ กกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน กสม. รวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อบัญญัติไว้ดังนี้ ทำให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ดังกล่าวมานี้ โดยเขียนลักษณะต้องห้ามด้วยข้อความเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการตีความ ผู้สมัครกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) 2 คน ขาดคุณสมบัติหรือไม่ได้ ได้แก่ น.ส.อารีวรรณ จตุทอง และ นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ เนื่องจากทั้ง 2 คนได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา (นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์) และประธานศาลปกครองสูงสุด (นายปิยะ ปะตังทา) ให้ทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว

ทั้งนี้ หลังจาก กสม. คนได้ลาออก ประกอบด้วย นางเตือนใจ ดีเทศน์ นางอังคณา นีละไพจิตร ทำให้ กสม.จากเดิมเหลือ 5 คนเหลือเพียง 3 คน คือ นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ และ นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง ซึ่งไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ต่อมาประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดได้เห็นชอบให้แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 4 คน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ได้แก่ นายสมณ์ พรหมรส, น.ส.อารีวรรณ จตุทอง, นางภิรมย์ ศรีประเสริฐ และ นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ ให้ปฏิบัติหน้าที่ กสม.
ทั้ง 4 คนได้ยื่นบัญญัติทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.เมื่อเข้ารับตำแหน่ง และได้ปฏิบัติหน้าที่ กสม.เรื่อยมาถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7 เดือนครึ่ง ต่อมาในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา น.ส.อารีวรรณ อดีตกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และ นายสุวัฒน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ลงสมัครเป็น กสม. โดยทั้ง 2 คนนี้เคยสมัคร กสม.มาก่อนหน้านี้แล้ว

แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติหน้าที่ กสม.เป็นการชั่วคราว ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือเปล่า นอกจากนี้ พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม.มาตรา19 บัญญัติว่า “กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดตัวนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว” การปฏิบัติหน้าที่ กสม.ชั่วคราวผ่านมา 7 เดือนครึ่ง กรณีได้รับการสรรหาเป็น กสม. จะทำให้อยู่เกิน 1 วาระหรือไม่และเกินกว่า 7 ปีหรือไม่ ซึ่งอาจมีการร้องเรียนในภายหลังว่าเข้าลักษณะต้องห้าม

ก่อนหน้านี้ ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็น กสม. 2 คน คือ น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช และ นางพรประไพ กาญจนรินทร์ ซึ่งผ่านการโหวตเห็นชอบของ สนช.เมื่อปลายปี 2561 ต่อมาในปี 2562 ได้รับการทาบทามจากประธานศาลฎีกาให้ไปเป็น กสม.ชั่วคราวเพื่อให้มีกสม.ครบ 7 คน แต่ทั้ง 2 ปฏิเสธ เนื่องจากเกรงว่า หากรับตำแหน่งชั่วคราว อาจถูกตีความว่าเป็นกรรมการองค์กรอิสระมาแล้ว และจะอยู่เกิน 1 วาระ เกิน 7 ปีไม่ได้ อาจทำให้ถูกตัดสิทธิการเป็น กสม.ตัวจริง กระทั่งต่อมาได้มีการแต่งตั้งบุคคลทั้ง 4 ให้มาเป็นกสม.ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม

แหล่งข่าวกล่าวว่า คาดว่า คณะกรรมการสรรหา กสม.นัดประชุมวันที่ 19 มิถุนายน น่าจะพิจารณาถึงกรณีที่ประธานวุฒิสภาจะกราบบังคมทูลฯเสนอชื่อ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข อดีต สนช.ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ในขณะที่กรรมการสรรหา กสม.ยังคงยืนยันตัดสิทธิการเป็นผู้สมัคร กสม.ของ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก และ น.ส.จินตนันท์ ริญาต์ร ศุภมิตร ซึ่งพ้นจาก สนช.ไม่ถึง 10 ปี


กำลังโหลดความคิดเห็น