สลค.เวียน เหตุรัฐจัดทำแผนตัดงบส่วนราชการ 10% สู้โควิด-19 หวั่นกระทบงบฉุกเฉิน 9.6 หมื่นล้าน-เงินสำรองจ่าย 5 หมื่นล้าน ไม่พอใช้จ่ายในไตรมาสที่ 3-4 เผยดึงจากรายจ่ายประจำที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย ณ 7 เม.ย. โครงการสามารถชะลอได้ รวมถึง “งบลงทุนปีเดียว-งบผูกพันข้ามปี” ที่ยังไม่ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง และ/หรือไม่สามารถลงนาม ส่วนงบจังหวัดและกลุ่มจังหวัค-อปท. สั่งดูแต่ละโครงการเป็นกรณี เผย กรณีตัดงบอุดหนุน-ทุนหมุนเวียน องค์กรอิสระ รัฐสภา ศาล อัยการ องค์การมหาชน ให้พิจารณาหัก 10% โดยอนุโลม
วันนี้ (12 เม.ย) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เวียนหนังสือด่วนถึงหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ เพื่อแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยสํานักงบประมาณ ได้รายงานถึงบันทึกข้อความ “ลับ” เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการโอนงบประมาณดังกล่าว
สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างและครอบคลุมพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และมีแนวโน้มว่าจะมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานต่อไปอีก ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ที่ตั้งไว้จํานวน 96,000 ล้านบาท และเงินทุนสํารองจ่ายตามมาตรา 45 ของพระราชบัญญัติ วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จํานวน 50,000 ล้านบาท จะไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ได้รับ ผลกระทบจากการแพร่ระบาด รวมทั้งอาจมีเหตุฉุกเฉินหรือจําเป็นอื่น เช่น สาธารณภัยต่างๆ ในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
“ดังนั้นจึงจำเป็นในการโอนงบประมาณรายจ่ายบางส่วนของหน่วยราชการต่างๆ อย่างน้อย 10% เพื่อนํางบประมาณไป ไปใช้สนับสนุนในการแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้ง กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจําเป็นอื่นอย่างเป็นเอกภาพ”
สำหรับการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้การบริหารในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่จำเป็นในการให้บริการสาธารณะภาครัฐ การสนับสนนค่าใช้จ่าย ตามสิทธิและสวัสดิการเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ ตลอดจบรายจ่ายตามข้อผูกพันต่างๆ ยังสามารถคำเนินการต่อไปได้ บนพื้นฐานที่สอดคล้องกับสถานการณ์
สำนักงบประมาณจึงเสนอให้นำงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ (Function) งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ (Agenda) งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน และงบประมาณรายจ่ายเพื่อการขำระหนี้ภาครัฐโดยกำหนดเป็นหมายให้หน่วยรับงบประมาณเสนอวงเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของวงเงินคงเหลือที่ไม่มีข้อผูกพัน เพื่อนำไปจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ...
โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ฯ “รายจ่ายประจำในทุกงบรายจ่ายที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายและไม่มีข้อผูกพันหรือ สามารถชะลอข้อผูกพันได้” ณ วันที่ 7 เม.ย. 2563 เมษายน เช่น ค่าใช้จ่ายในการสัมมนา การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ (รวมถึงการศึกษาดูงานในต่างประเทศที่อยู่ในหลักสูตรการฝึกอบรม) รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าพำหนะ และการดำเนินกิจกรรม (Event) ที่มีการจ้างผู้จัดกิจกรรม (Organizer) หรือดำเนินการเอง
“รวมถึงรายการและงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า สามารถชะลอการคำเนินการได้ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการหรือไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด หรือบางส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563”
ส่วนรายจ่ายลงทุนในทุกงบรายจ่าย “รายการปีเดียว” ที่ยังไม่ประกาศดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในวันที่ 7 เม.ย. 2563 และ/หรือไม่สามารถลงนามจัดซื้อจัดจ้างได้ภายในวันที่ 31 พ.ค. 2563 โดยงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหุวัค รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงบประมานจะพิจารณาเป็นกรณี
“รายการผูกพันข้ามปีงบประมาณ” รายการใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ยังไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 7 เม.ย. 2563 ให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีแรก ลดลงร้อยละ 5 ซึ่งมีผลให้ต้องได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 1 ก.พ.2556 ที่กำหนดให้รายจ่ายลงทุนที่ขออนุมัติผูกพันข้ามปีงบประมาณทุกรายการต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณ แผ่นดินในปีแรกเป็นเงินไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 20 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนที่เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น ของรายจ่ายลงทุนนั้นๆ
“รายการและงบประมาณที่หน่วยรับงบประมาณพิจารณาแล้ว” เห็นว่า สามารถชะลอการดำเนินการได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ หรือไม่สามารถดำเนินการได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
“กรณีหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับงบประมาณเป็นเงินอุดหนุน และทุนหมุนเวียน ที่พิจารณาเห็นว่ารายการที่ได้รับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของการตั้งงบประมาณ หรือมีเงินรายได้/เงินรายได้สะสมคงเหลือเพียงพอต่อการดำเนินภารกิจของหน่วยงานทดแทน เงินงบประมาณที่ได้รับ โดยใช้หลักเกณฑและแนวทางข้างต้นโอน 10% โดยอนุโลม
ส่วนรายการที่ไม่นำงบประมาณรายจ่ายไปจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณ จะประกอบด้วย รายการในลักษณะร่ายจ่ายประจำที่เป็นไปเพื่อการจัดสวัสดิการแห่งรัฐ “บัตรคนจน” หรือค่าใช้จ่ายรายหัวตามสิทธิพื้นฐานจากการบริการของรัฐที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน และรายการค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานของหน่วยรับงบประมาณโดยเฉพาะในลักษณะค่าจ้างเหมาบริการต่างๆ
รวมถึงรายการในลักษณะรายจ่ายลงทุนที่เป็นงานดำเนินการเอง ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน รายการผูกพันตามสัญญา รายการที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการขยายระยะเวลา และ รายการที่มีสำดับความสำคัญสูงหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหายต่อราชการหรือส่งผลกระทบต่อประซาชน
“รวมทั้งแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายการงบประมาณที่มีภารกิจด้านสาธารณสุข และ/หรือภารกิจที่เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 และสถานการณ์ภัยแล้ง ที่สำนักงบประมาณได้พิจารณา”