"เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า" จ่อร่อนหนังสือถึง รมว.พาณิชย์-สาธารณสุข ค้านผลศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า ศจย. หวั่นไม่เป็นกลาง วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง-สังคมช่วยกันจับตา ย้ำควรควบคุมอย่างถูกกฎหมายไม่ใช่แบน
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 62 นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทน “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)” และเฟซบุ๊ดเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เปิดเผยภายหลังทราบจากรายงานข่าวว่า ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ส่งข้อเสนอทางนโยบายถึง รมต.พาณิชย์ เพื่อขอให้คงมาตรการห้ามการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าว่า “เครือข่ายฯ ก็จะทำหนังสือเข้าไปที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหมือนกัน เพื่อคัดค้านข้อเสนอของศจย.ดังกล่าว พร้อมชี้แจงว่า ศจย. เป็นหน่วยงานที่รณรงค์ต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่แล้ว และมักจะนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านลบเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เหตุผลที่นำมาอ้างในข้อเสนอฯ ก็ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานรองรับ เห็นได้ชัดว่า ศจย. พยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการแบน โดยไม่รับฟังข้อมูลจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเลย ทั้งๆ ที่ ศจย. ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่เห็นมีการเปิดเผยข้อมูลการศึกษาออกมาแต่อย่างใด ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงรีบด่วนสรุปออกเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายได
เครือข่ายฯ ยังระบุถึงเหตุผลที่บุหรี่ไฟฟ้าควรเปลี่ยนสถานะมาเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุม เนื่องจากผลการวิจัยของต่างประเทศ เช่น เอฟดีเอของอเมริกา สถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศอังกฤษ และกระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ ต่างก็ยืนยันว่านิโคตินทำให้เสพติด แต่ไม่ใช้สาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรง และบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนเผาไหม้ การควบคุมอย่างถูกกฎหมายจะช่วยจำกัดการเข้าถึงของเยาวชน และจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีคุณภาพที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนได้ ปัจจุบันมีเพียง 30 ประเทศที่แบนบุหรี่ไฟฟ้าเด็ดขาด ขณะที่บางประเทศที่เคยแบนเช่นแคนาดา นิวซีแลนด์ กลับควบคุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย
“เมื่อปลายปีที่แล้ว กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้ ศจย. เป็นผู้ทำการวิจัยข้อดี-ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้า แต่ผ่านมาจะครบหนึ่งปีแล้ว เรายังไม่ได้เห็นความคืบหน้าของรายงานฉบับนี้ ไม่เห็น ศจย. เชิญหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ข้อมูลหรือทำการศึกษาด้วย หรือมีการรับฟังความเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่ออกมาจาก ศจย. ทุกครั้งก็มีแต่ด้านลบ จะให้เชื่อได้อย่างไรว่าการศึกษาฉบับนี้จะมีความครบถ้วน เป็นกลาง เราจึงอยากเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ คณะทำงานเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าและสังคมที่มีความเห็นต่างในเรื่องการแบนบุหรี่ไฟฟ้าให้ช่วยกันจับตาและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับ พณ. และ สธ. เพื่อนำมาใช้พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมบุหรี่ที่ถูกต้อง โปร่งใส มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนและนำข้อดีข้อเสียมาถกเถียงกัน ไม่ใช่คิดแต่จะแบนอย่างเดียว” นายมาริษ กล่าว.
เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 62 นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทน “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)” และเฟซบุ๊ดเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เปิดเผยภายหลังทราบจากรายงานข่าวว่า ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ส่งข้อเสนอทางนโยบายถึง รมต.พาณิชย์ เพื่อขอให้คงมาตรการห้ามการนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าว่า “เครือข่ายฯ ก็จะทำหนังสือเข้าไปที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหมือนกัน เพื่อคัดค้านข้อเสนอของศจย.ดังกล่าว พร้อมชี้แจงว่า ศจย. เป็นหน่วยงานที่รณรงค์ต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่แล้ว และมักจะนำเสนอข้อมูลเฉพาะด้านลบเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เหตุผลที่นำมาอ้างในข้อเสนอฯ ก็ขาดความน่าเชื่อถือ ไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานรองรับ เห็นได้ชัดว่า ศจย. พยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการแบน โดยไม่รับฟังข้อมูลจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเลย ทั้งๆ ที่ ศจย. ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่เห็นมีการเปิดเผยข้อมูลการศึกษาออกมาแต่อย่างใด ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงรีบด่วนสรุปออกเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายได
เครือข่ายฯ ยังระบุถึงเหตุผลที่บุหรี่ไฟฟ้าควรเปลี่ยนสถานะมาเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุม เนื่องจากผลการวิจัยของต่างประเทศ เช่น เอฟดีเอของอเมริกา สถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศอังกฤษ และกระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ ต่างก็ยืนยันว่านิโคตินทำให้เสพติด แต่ไม่ใช้สาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรง และบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนเผาไหม้ การควบคุมอย่างถูกกฎหมายจะช่วยจำกัดการเข้าถึงของเยาวชน และจัดการกับบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีคุณภาพที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนได้ ปัจจุบันมีเพียง 30 ประเทศที่แบนบุหรี่ไฟฟ้าเด็ดขาด ขณะที่บางประเทศที่เคยแบนเช่นแคนาดา นิวซีแลนด์ กลับควบคุมให้ถูกต้องตามกฎหมาย
“เมื่อปลายปีที่แล้ว กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้ ศจย. เป็นผู้ทำการวิจัยข้อดี-ข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้า แต่ผ่านมาจะครบหนึ่งปีแล้ว เรายังไม่ได้เห็นความคืบหน้าของรายงานฉบับนี้ ไม่เห็น ศจย. เชิญหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมให้ข้อมูลหรือทำการศึกษาด้วย หรือมีการรับฟังความเห็นจากผู้ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่ออกมาจาก ศจย. ทุกครั้งก็มีแต่ด้านลบ จะให้เชื่อได้อย่างไรว่าการศึกษาฉบับนี้จะมีความครบถ้วน เป็นกลาง เราจึงอยากเรียกร้องให้กระทรวงพาณิชย์ คณะทำงานเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าและสังคมที่มีความเห็นต่างในเรื่องการแบนบุหรี่ไฟฟ้าให้ช่วยกันจับตาและให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับ พณ. และ สธ. เพื่อนำมาใช้พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมบุหรี่ที่ถูกต้อง โปร่งใส มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนและนำข้อดีข้อเสียมาถกเถียงกัน ไม่ใช่คิดแต่จะแบนอย่างเดียว” นายมาริษ กล่าว.