“กมธ.ดีอีเอส” ลงพื้นที่ชลบุรีดูงานโครงข่ายดิจิทัล “บก-น้ำ-อากาศ” เชื่อมโยง ไทย-ทั่วโลก “กัลยา” ชี้ภาคตะวันออกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสร้าง ศก.ดิจิทัล ด้าน “เศรษฐพงค์” แนะวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G ให้ครอบคลุมพื้นที่ ทำเศรษฐกิจดิจิทัลมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิต ดึงนักลงทุนต่างชาติเพิ่ม
วันนี้ (31 ต.ค.) คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานกรรมาธิการ และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
โดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธาน กมธ.ดีอีเอส ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมาธิการดีอีเอส เราเห็นความสำคัญของพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งรวมนิคมอุสาหกรรม มีท่าเรือน้ำลึก รวมทั้งยังได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการที่จะวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G เพื่อเป็นการรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
น.ส.กัลยากล่าวต่อว่า การลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีครั้งนี้ กรรมาธิการฯ มีโอกาสไปดูงานด้าน Data center เรียกว่าระบบโครงข่ายการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลแบบ Cloud ณ ศูนย์ข้อมูลซุปเปอร์แนป ประเทศไทย ซึ่งเป็น Data center ที่ได้มาตรฐานระดับโลก รวมทั้งยังได้ศึกษาดูงาน โครงการ Digital Park Thailand และระบบสื่อสารผ่านเคเบิลใต้น้ำ ณ ศูนย์โทรคมนาคมศรีราชา (เทเลพอร์ต) และสุดท้ายคือไปดูงานระบบสื่อสารผ่านโครงข่ายดาวเทียม ณ สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ศรีราชา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จากการลงพื้นที่ดูงานทั้งหมด จะเห็นได้ว่าพื้นที่ภาคตะวันออก ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลจริง เพราะเป็นแหล่งเชื่อมโครงข่ายทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศอย่างครบวงจร
“คณะกรรมาธิการฯ เราเห็นความสำคัญ มองเห็นภาพการเชื่อมโยงทั้งหมด ที่ไทยเราจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางด้านดิจิทัล เราจึงต้องลงมาสัมผัสด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว และยังมีปัญหาอุปสรรคอะไรอยู่บ้าง ที่กรรมาธิการฯ สามารถช่วยสนับสนุนได้ ซึ่งกรรมธิการฯยินดีที่จะสนับสนุนเต็มที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน” น.ส.กัลยากล่าว
ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถที่จะพัฒนาเป็น Hub ด้านดิจิทัลการสื่อสารที่สามารถเชื่อโยงไปทั่วโลกได้ มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาโครงการอีอีซี และจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การที่พื้นที่ภาคตะวันออกจะพัฒนาไปสู่การเป็น Hub ได้จะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ มีความพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G โดยให้ทุกพื้นที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้งานมีประสิทธิผลที่ดี ทราบว่าทาง กสทช.ได้กำหนดให้มีการประมูล 5G ในต้นปี 2563 และภายในกลางปี 2563 คนไทยจะได้ใช้ 5G แน่นอน ตรงนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่สุดท้ายแล้วต้องจับตาที่ผู้ให้บริการว่าจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G ได้ครอบคลุมแค่ไหน หากทำได้ครอบคลุมก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก และจะเป็นปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทยมากขึ้น รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น Telemedicine ก็สามารถดำเนินการได้อย่ามีประสิทธิภาพ
“ความสำคัญของดิจิทัลแพลตฟอร์ม นอกจากจะช่วยในเรื่องการสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลที่รวดรวด ถูกต้อง แม่นยำแล้ว ยังจะช่วยลดต้นทุนให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้อีกด้วย เช่น ในส่วน Data center ที่มีการให้บริการอยู่ในนิคมอุสาหกรรมทางภาคตะวันออก ด้วยมาตรฐานระดับโลก ทั้งความรวดเร็วในการดึงข้อมูลมาใช้ การรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งนักธุรกิจตัดสินใจมาลงทุนในพื้นที่ เพราะไม่ต้องเสียงบประมาณลงทุนทำศูนย์ข้อมูลของตัวเอง จึงเป็นการลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้ ทั้งหมดคือความสำคัญของพื้นที่ภาคตะวันออกที่จะช่วยให้ไทยก้าวขึ้นเป็น Hub ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ด้านการสื่อสาร ด้านอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ได้” พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าว
วันนี้ (31 ต.ค.) คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธานกรรมาธิการ และนายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
โดย น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประธาน กมธ.ดีอีเอส ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมาธิการดีอีเอส เราเห็นความสำคัญของพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งรวมนิคมอุสาหกรรม มีท่าเรือน้ำลึก รวมทั้งยังได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการที่จะวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G เพื่อเป็นการรองรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
น.ส.กัลยากล่าวต่อว่า การลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีครั้งนี้ กรรมาธิการฯ มีโอกาสไปดูงานด้าน Data center เรียกว่าระบบโครงข่ายการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลแบบ Cloud ณ ศูนย์ข้อมูลซุปเปอร์แนป ประเทศไทย ซึ่งเป็น Data center ที่ได้มาตรฐานระดับโลก รวมทั้งยังได้ศึกษาดูงาน โครงการ Digital Park Thailand และระบบสื่อสารผ่านเคเบิลใต้น้ำ ณ ศูนย์โทรคมนาคมศรีราชา (เทเลพอร์ต) และสุดท้ายคือไปดูงานระบบสื่อสารผ่านโครงข่ายดาวเทียม ณ สถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ศรีราชา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จากการลงพื้นที่ดูงานทั้งหมด จะเห็นได้ว่าพื้นที่ภาคตะวันออก ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลจริง เพราะเป็นแหล่งเชื่อมโครงข่ายทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศอย่างครบวงจร
“คณะกรรมาธิการฯ เราเห็นความสำคัญ มองเห็นภาพการเชื่อมโยงทั้งหมด ที่ไทยเราจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางด้านดิจิทัล เราจึงต้องลงมาสัมผัสด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว และยังมีปัญหาอุปสรรคอะไรอยู่บ้าง ที่กรรมาธิการฯ สามารถช่วยสนับสนุนได้ ซึ่งกรรมธิการฯยินดีที่จะสนับสนุนเต็มที่ เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน” น.ส.กัลยากล่าว
ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สามารถที่จะพัฒนาเป็น Hub ด้านดิจิทัลการสื่อสารที่สามารถเชื่อโยงไปทั่วโลกได้ มีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาโครงการอีอีซี และจะนำไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ การที่พื้นที่ภาคตะวันออกจะพัฒนาไปสู่การเป็น Hub ได้จะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ มีความพร้อมรองรับเทคโนโลยี 5G โดยให้ทุกพื้นที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้งานมีประสิทธิผลที่ดี ทราบว่าทาง กสทช.ได้กำหนดให้มีการประมูล 5G ในต้นปี 2563 และภายในกลางปี 2563 คนไทยจะได้ใช้ 5G แน่นอน ตรงนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่สุดท้ายแล้วต้องจับตาที่ผู้ให้บริการว่าจะสามารถวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G ได้ครอบคลุมแค่ไหน หากทำได้ครอบคลุมก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก และจะเป็นปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจในไทยมากขึ้น รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น Telemedicine ก็สามารถดำเนินการได้อย่ามีประสิทธิภาพ
“ความสำคัญของดิจิทัลแพลตฟอร์ม นอกจากจะช่วยในเรื่องการสื่อสาร การส่งผ่านข้อมูลที่รวดรวด ถูกต้อง แม่นยำแล้ว ยังจะช่วยลดต้นทุนให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้อีกด้วย เช่น ในส่วน Data center ที่มีการให้บริการอยู่ในนิคมอุสาหกรรมทางภาคตะวันออก ด้วยมาตรฐานระดับโลก ทั้งความรวดเร็วในการดึงข้อมูลมาใช้ การรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ทำให้เป็นปัจจัยหนึ่งนักธุรกิจตัดสินใจมาลงทุนในพื้นที่ เพราะไม่ต้องเสียงบประมาณลงทุนทำศูนย์ข้อมูลของตัวเอง จึงเป็นการลดต้นทุนให้กับธุรกิจได้ ทั้งหมดคือความสำคัญของพื้นที่ภาคตะวันออกที่จะช่วยให้ไทยก้าวขึ้นเป็น Hub ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ด้านการสื่อสาร ด้านอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้ได้” พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าว