xs
xsm
sm
md
lg

มท.เบรก! ตั้ง “นายกเล็กสารคาม” นั่งนักวิชาการ ประจำ กมธ.สนช.เสี่ยงตกเก้าอี้ท้องถิ่น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


งานเข้า! “กมธ.การศึกษากีฬาฯ สนช.-ผู้ว่าฯสารคาม” ฝ่ายกฎหมาย มท. เบรก! แต่งตั้ง “นายกเล็กสารคาม” เป็นนักวิชาการประจำ กมธ.การศึกษากีฬา สนช. หลังให้มีผลตั้งแต่ 1 พ.ย.ปีก่อน ยก 2 ข้อกฎหมาย สภาฯ/เทศบาล ชี้ “ผิดระเบียบ” เหตุปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนในส่วนราชการ ได้เป็นกมธ. “ไม่ใช่ตำแหน่งนายกเทศมนตรี” แถมผู้ว่าฯไม่มีอำนาจตั้ง เผยมีค่าตอบแทนเดือนละ 8 พัน เสี่ยงต้องพ้นจากตำแหน่ง

วันนี้ (1 ก.ค.) แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมาย คณะที่ 1 กระทรวงมหาดไทยได้รับพิจารณา ข้อหารือจากกรมส่งเสริการปกคองส่วนท้องถิ่น กรณี จังหวัดมหาสารคาม ได้แต่งตั้งให้ นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ (กมธ.การศึกษาและการกีฬา) สามัญประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานเลขาธิการ สนช. จะได้มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นนักวิชาการประจำฯ เพื่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ กมธ. รวมทั้งปฏิบัติงานตามที่ กมธ.มอบหมายอันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กมธ. โดยมีค่าตอบแทนเป็นรายเดือนตามระเบียบรัฐสภา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 นั้น

ต่อมา จังหวัดมหาสารคาม เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 มาตรา 48 จตุทศ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี ต้องไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้บังคับใช้กับกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ หรือเงินปีพระบรมวงศาบุวงศ์หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้บังคับใช้กับกรณีที่บุคคลดังกล่าวได้รับเงินตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม หรือเงินอื่นใด เนื่องจากการดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา หรือวุฒิสภา หรือสภา ผู้แทนราษฎรหรือสภาเทศบาล หรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง

“แต่กรณี นายกิตติศักดิ์ ได้รับการเสนอชื่อนั้น ไม่ใช่เป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ตามที่ระบุไวัโนพระราชบัญญัติเทศบาลฯ จึงขอหารือว่า กรณีดังกล่าวได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล หรือไม่ อย่างไร และอำนาจพิจารณาอนุญาตให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นนักวิชาการฯ เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ อย่างไร”

ก่อนหน้านั้น สำนักกฎหมาย สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการส่วนห้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ แต่ ไม่ได้มีบทบัญญัติมาตราใดกำหนดให้อำนาจผู้ว่าฯ ในการพิจารณาอนุญาตนายกเทศมนตรีไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด

ดังนั้น ผู้ว่าฯ ซึ่งไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของนายกิตติศักดิ์ และมีอำนาจในการกำกับดูแลการบริหารงานของเทศบาลเท่านั้น จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้นายกิตติศักดิ์ เป็นนักวิชาการประจำ กมธ.สนช.ได้ ประกอบกับ สนช. ได้ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เพื่อทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา และเมื่อปัจจุบันยังไม่มีการตั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สนช.จึงยังเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รัฐสภา โดยมีสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นส่วนราชการหนึ่งในสังกัดรัฐสภา

“ดังนั้น หาก นายกิตติศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักวิชาการ มีผลให้ต้องปฏิบัติหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่นายกเทศมนตรีได้ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และไม่ใช่ตำแหน่ง กรรมาธิการของรัฐสภา หรือวุฒิสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาเทศบาล หรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือ กรรมการที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง ที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถกระทำได้ การกระทำจึง ต้องห้ามตามมาตรา 48 จตุทศ ซึ่งจะส่งผลให้นายกิตติศักดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ตามมาตรา 48 ปัญจทศ (5)ได้”

แหล่งข่าวระบุว่า คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ คณะที่ 1 ได้พิจารณาและเห็นว่า กรณีที่ กมธ.สนช. ขอให้ นายกิตติศักดิ์ เป็นนักวิชาการ โดยบุคคลที่จะปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงานของ สนช. นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นปฏิบัติหน้าที่ใน ตำแหน่งดังกล่าวตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราซการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 ประกอบระเบียบรัฐสภาว่าด้วยการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยซน์ต่อการปฏิบัติงานของ สนช. สมาชิก สนช. และกรรมาธิการของ สนช. พ.ศ. 2557 และประกาศ สนช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่คณะกรรมาธิการสามัญประจำ กมธ.

ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักวิชาการประจำ กมธ. ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นส่วนราชการหนึ่งในสังกัดรัฐสภา ตามนัยมาตรา 6 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 ตำแหน่งนักวิชาการประจำ กมธ. จึงเป็นตำแหน่งที่สังกัด สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งเป็นส่วนราซการ ประกอบกับตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้ต้องมีนายกเทศมนตรี เป็นนักวิชาการประจำ กมธ.ฯ ด้วย การดำรงตำแหน่งดังกล่าวจึงไม่ใช่การดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด

“ดังนั้น หาก นายกิตติศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักวิชาการประจำ กมธ. มีผลให้ต้องปฏิบัติหน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งในส่วนราชการ ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่นายกเทศมนตรี ได้ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและไม่ใช่ตำแหน่งกรรมาธิการของรัฐสภา หรือวุฒิสภา หรือ สภาผู้แทนราษฎร หรือสภาเทศบาล หรือสภาท้องถิ่นอื่น หรือกรรมการ ที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นโดยตำแหน่ง ที่ได้รับการยกเว้นให้สามารถกระทำไต้ การตำรงตำแหน่งดังกล่าวจึงต้องห้ามตามมาตรา 48 จตุทศ (1) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496”

ส่วนประเด็นที่ สนช. ได้ขอให้ผู้ว่าฯมหาสารคาม พิจารณาและอนุญาต นายกิตติศักดิ์ เป็นนักวิชาการประจำ กมธ. นั้น ตามพระราฃบัญญัติระเบียบบริหารราซการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 57 (7) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2486 มาตรา 71 กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัดนั้น ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย และมีอำนาจหน้าที่ชี้แจงแนะนำตักเตือนเทศบาล และ ตรวจสอบกิจการ เรียกรายงานและเอกสารหรือสถิติใดๆ จากเทศบาลมาตรวจ ตลอดจนเรียกสมาซิกสภา เทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวนก็ได้

“ประกอบกับพระราชบัญญัติเทศบาลฯ ไม่ได้มี บทบัญญัติมาตราใดกำหนดให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการพิจารณาอนุญาตนายกเทศมนตรีไปตำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใด ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของนายกิตติศักดิ์ และมีอำนาจในการกำกับดูแลการบริหารงานของเทศบาลเท่านั้น จึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติให้นายกิตติศักดิ์ เป็นนักวิชาการประจำ กมธ.ได้”

มีรายงานว่า ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2544 และประกาศ สนช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคล เพื่อปฏิบัติงานให้แก่คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่า กรณีแต่งตั้งบุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการ พนักงานส่วน ท้องถิ่น หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ (3) นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ ให้ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 8,000 บาท ข้อ 9 นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการและเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ มี หน้าที่ความรับผิดชอบตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย

สำหรับ นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เมื่อปี 2557 ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จังหวัดมหาสารคาม โดยอยู่ในรายชื่อลำดับที่ 12 ในจำนวน 250 คน


กำลังโหลดความคิดเห็น