xs
xsm
sm
md
lg

นศ.พยาบาลฟ้องศาลปกครองเรียกค่าเสียหาย ม.คริสเตียน ฝ่าฝืนรับ นศ. ส่งผลไร้สิทธิสอบใบวิชาชีพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ม.คริสเตียน เจอฟ้องต่อเนื่อง แม่อดีตนักศึกษาพยาบาลที่กู้ยืมเงิน กยศ. ฟ้องศาลปกครองเรียกค่าเสียหาย ฝ่าฝืนมติสภาการพยาบาล เปิดรับนักศึกษาใหม่ปี 2560 ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลจากสภาการพยาบาลได้

วันนี้ (7 มิ.ย.) นางจิราลักษณ์ นามโคตร มารดา น.ส.อัจฉรา นามโคตร อดีตนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ม.คริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2560 นำบุตรสาวเดินทางมายื่นฟ้อง ม.คริสเตียน ต่อศาลปกครองกลาง กรณี ม.คริสเตียนเปิดรับหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ม.คริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการสภาการพยาบาลมีมติเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 ให้คณะพยาบาลศาสตร์ ม.คริสเตียนงดรับนักศึกษา ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ประจำปีการศึกษา 2560 เพราะคณะพยาบาลศาสตร์ ม.คริสเตียน มีอัตราส่วนอาจารย์ประจำหลักสูตรต่อนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า 1 ต่อ 15.39 เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด คือ 1 ต่อ 6 มาก และแผนการสอนยังไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่สถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาลกำหนด รวมถึงไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาล พ.ศ. 2552 เป็นเหตุให้นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ม.คริสเตียน ประจำปีการศึกษา 2560 ทุกคนไม่สามารถจะเข้ารับการสอบใบประกอบวิชาชีพพยาบาลจากสภาการพยาบาลได้ เพราะ ม.คริสเตียนฝ่าฝืนมติสภาการพยาบาลดังกล่าว โดย น.ส.จิราลักษณ์ได้ร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม.คริสเตียน ชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่บุตรสาวศึกษาในหลักสูตรพยาบาล ม.คริสเตียน เป็นรวมทั้งสิ้น 506,610 บาท

ทั้งนี้ น.ส.อัจฉรากล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเลขาธิการ สกอ.รับปากว่าจะหาข้อยุติปัญหาให้ภายในวันที่ 11 พ.ค. แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใด จึงต้องมาร้องศาลปกครองเพื่อขอความเป็นธรรมในการเรียกร้องค่าเยียวยาความเสียหาย เพราะในการเข้าเรียนหลักสูตรหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ตนต้องกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาใช้ในการเล่าเรียน


กำลังโหลดความคิดเห็น