เปิดสารพัดโครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” พร้อมหน่วยงานรับผิดชอบ งบเพิ่มเติมปี 61 กว่า 1.1 แสนล้านบาท ลงพื้นที่ 82,371 หมู่บ้านทั่วประเทศ เผยมี 3 ส่วน การผลิตภาคเกษตร 2.4 หมื่นล้าน เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.1 หมื่นล้าน และ ส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน 5.4 หมื่นล้าน “บิ๊กป๊อก” สั่ง ผู้ว่าฯ - นายอำเภอ ทำความเข้าใจ “งบฯรายจ่ายเพิ่มเติม ของมหาดไทย แค่ 3 หมื่นล้าน”
วันนี้ (1 เม.ย.) มีรายงานจากกระทรวงมหาดไทย ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงมหาดไทย ได้สรุปแผนงานโครงการที่ลงในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ตามนโยบายไทยนิยมยั่งยืน ครั้งที่ 2 (เม.ย.) ภายหลัง คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบเสนอข้อกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในคู่มือการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่โครงการไทยนิยมยั่งยืน หมู่บ้านชุมชนละ 2 แสนบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 120 วัน ตั้งแต่เดือน เม.ย.- 31 ก.ค. 2561 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 82,371 หมู่บ้านทั่วประเทศ รวมงบประมาณ 16,674 ล้านบาท รวมถึง สภานิติบัญญัติแห่งชาต (สนช.) เห็นชอบพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบประมาณปี 2561 เป็นเงินไม่เกิน 150,000,000,000 บาท
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่ 1. แผนงานปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร งบประมาณ 24,300 ล้านบาท 2. แผนงานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต งบประมาณ 21,078 ล้านบาท และ 3. แผนงานส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน งบประมาณ 54,979 ล้านบาท โดยในแต่ละแผนงาน/โครงการ จะมีหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งรายละเอียดแผนงาน/โครงการ เปรียบได้กับการเรียน ได้แก่ 1) เลือกเสรี 2) บังคับเลือก และ 3) ภาคบังคับ
มีรายงานว่า สำหรับ รายละเอียดแผนงาน/โครงการที่ลงพื้นที่ ได้แก่ 1) แผนงานปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร งบประมาณ 24,300 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการสร้างฝายชะลอน้ำและจัดหาแหล่งน้ำชุมชน รับผิดชอบโดยกรมพัฒนาที่ดิน/ส.ป.ก. ดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ โดยใช้แรงงานจิตอาสา ,โครงการพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทาน (กรมชลประทาน) ดำเนินการซ่อมแซมระบบกระจายน้ำ ,โครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน (กรมส่งเสริมการเกษตร/การยางแห่งประเทศไทย) ดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนยางให้ปลูกอย่างอื่นที่มีมูลค่ามากขึ้น และให้เงินอุดหนุนล้มต้นยาง ไร่ละ 10,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ (เป้าหมายทั้งประเทศ 150,000 ไร่ เกษตรกร 30,000 ราย กำหนดเฉพาะใน 46 จังหวัด), โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวเพื่อทำเกษตรผสมผสาน (กรมพัฒนาที่ดิน) ดำเนินการปรับพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวไปปลูกอย่างอื่น (ขุดคู ยกร่อง)
โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร (เกษตรกรเลือกเมนูเอง) (กรมส่งเสริมการเกษตร/กรมปศุสัตว์) ดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร การพัฒนาการผลิตพันธุ์พืช ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปรับปรุงดิน ศัตรูพืช ฟาร์มชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิต 9,101 ชุมชน รวมทั้งอบรมอาสาปศุสัตว์ผสมเทียมโคเนื้อ แพะ ให้เกษตรกร ,โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทากินของเกษตรกร (กรมตรวจบัญชีสหกรณ์/กรมหม่อนไหม/กรมส่งเสริมสหกรณ์) ดำเนินการสอนบัญชีด้านทุนอาชีพ อบรมให้ความรู้เรื่องหม่อนไหมและให้วัสดุอุปกรณ์ และอบรมเรียนรู้ศาสตร์พระราชา การรวมกลุ่ม การบริหารรูปแบบสหกรณ์ การพัฒนาอาชีพ, โครงการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (กรมส่งเสริมการเกษตร) ดำเนินการรวมกลุ่ม SMART FARMER ต่อยอดธุรกิจการเกษตร
โครงการพัฒนาสถาบันเกษตรกรจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร (กรมส่งเสริมสหกรณ์) ดำเนินการอุดหนุนให้สหกรณ์ เพื่อเป็นแหล่งทุนสาหรับการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตรในลักษณะแก้มลิง เพื่อเพิ่มมูลค่าพืชผลทางการเกษตร ,โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร(กรมส่งเสริมสหกรณ์) ดำเนินการอุดหนุนให้สหกรณ์เป็นแหล่งทุนสำหรับจัดหาอุปกรณ์ /สิ่งก่อสร้างพื้นฐาน เพื่อการแปรรูป เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร (จากเดิมสหกรณ์สมทบ ร้อยละ 30 ลดเหลือร้อยละ 10) ,โครงการเพิ่มศักยภาพการรวบรวมและการแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกร (กรมส่งเสริมสหกรณ์) ดำเนินการอุดหนุนให้สหกรณ์เป็นแหล่งทุนสาหรับจัดหาอุปกรณ์ /สิ่งก่อสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาศักยภาพการรวบรวมและแปรรูปยางพารา (จากเดิมสหกรณ์สมทบ ร้อยละ 30 ลดเหลือร้อยละ 10)
โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ (กรมชลประทาน) ดำเนินการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อทำถนนในคลองชลประทาน,โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารธุรกิจ SMEsในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) ดำเนินการอบรมผู้ประกอบการวิสาหกิจ แปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น และจัดตั้งหน่วยผลิตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปต้นแบบในพื้นที่ (เป้าหมาย 55,000 ราย), โครงการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ (กรมการค้าภายใน) ดำเนินการพัฒนาสินค้าตลาดอินทรีย์ภายใต้ “สามพรานโมเดล” รับรองผลิตภัณฑ์สินค้าตลาดอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และการจับคู่ธุรกิจ (เป้าหมาย 3,000 ราย/พื้นที่ 6 จังหวัด)
2) แผนงานเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต งบประมาณ 21,078 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สป.พณ./กรมการค้าภายใน/กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) ดำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการร้านค้าธงฟ้าประชารัฐสู่การเป็นโชว์ห่วยมืออาชีพ (เป้าหมาย 30,000 ร้านค้า ใน 76 จังหวัด) ศึกษากลุ่มเป้าหมายและพัฒนารูปแบบการจาหน่ายอาหารหนูณิชย์ Street Food (ต้นแบบ) งานแฟรนไชส์สร้างอาชีพในส่วนภูมิภาค ,โครงการเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (สป.กษ./กรมการข้าว/กรมชลประทาน/กรมประมง/กรมปศุสัตว์/กรมพัฒนาที่ดิน/กรมวิชาการเกษตร/กรมส่งเสริมการเกษตร/กรมหม่อนไหม/ส.ป.ก.อ) ดำเนินการ อบรมการเกษตรยั่งยืน (ปราชญ์ชาวบ้าน) (เกษตรกรเลือกเมนูเอง) อบรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี/แปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์
จ้างแรงงานชลประทาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรบารุงรักษาระบบชลประทาน โดยจ้างแรงงานเป็นรายวัน เป้าหมาย 7,520 ราย อบรมให้ความรู้ด้านการประมงและผลิตภัณฑ์ปลา(เกษตรกรเลือกเมนูเอง) อบรมอาชีพปศุสัตว์ภายใต้ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพ 882 ศูนย์ อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกร อบรมทักษะเครื่องมือการซ่อมแปลงดินให้แก่เกษตรกร อบรมตามที่เกษตรกรต้องการ (เกษตรกรเลือกเมนูเอง) อบรมการปลูกหม่อนไหม (เกษตรกรเลือกเมนูเอง) อบรมอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้านและโคกหนองนาโมเดล ,โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพเพิ่มรายได้และความมั่นคงในชีวิต(กรมการจัดหางาน/กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) ดำเนินการ ติดตั้งตู้จ็อบบ็อก (JOB BOX)จำนวน 500 ตู้ ดำเนินการในพื้นที่ที่มีผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ พื้นที่ว่างงาน (คนลงทะเบียนว่างงานมาก) และเขตเศรษฐกิจพิเศษ อบรม 1 ช่าง 1 ชุมชน ประกอบด้วย ช่างอเนกประสงค์และช่างทั่วไป ฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพอิสระ/อาชีพเสริมของผู้มีรายได้น้อย เป้าหมาย 600,000 ราย
3. แผนงานส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพชุมชน งบประมาณ 54,979 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชน(กรมการท่องเที่ยว) ดำเนินการอบรมผู้ประกอบการโฮมสเตย์ 4,000 ราย และอบรมอาสาสมัครช่วยเหลือนักท่องเที่ยว, โครงการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่รอบอุทยานเพื่อเป็นจุดจาหน่ายสินค้าชุมชน ,โครงการพัฒนาศักยภาพและสร้างรายได้สู่ภูมิภาคอย่างยั่งยืน (สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ) (สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ) ดำเนินการอบรมเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ ,โครงการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ (ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน) (กรมการปกครอง) เป็นงบประมาณแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้จากการลงเวทีประชาคมตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน หมู่บ้าน/ชุมชนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี (กรมการพัฒนาชุมชน)ดาเนินการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (กลุ่ม D) และสนับสนุนโรงเรียน OTOP, โครงการส่งเสริมชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน (สานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม) ดาเนินการอบรมเยาวชน และประชาชนให้เป็นผู้นำ และต้อนรับนักท่องเที่ยวเยี่ยมชุมชน, โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว (กรมศิลปากร) ดำเนินการจัดหารถไฟฟ้าเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ผู้สูงอายุ และคนพิการ พื้นที่อุทยานภูพระบาทจังหวัดอุดรธานี, โครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง และชุมชน (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวงานวัดย้อนยุคตาม ประเพณีและเทศกาลของแต่ละพื้นที่ในเมืองรอง จังหวัดละ 1 วัด(55 จังหวัด) ,โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ (กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ) ดำเนินการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพ และยกระดับรายได้ กองทุนละไม่เกิน 300,000 บาท และสนับสนุนแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ โครงการทั้งหมดจัดเป็นโครงการเลือกเสรี 3 โครงการคือ 1) โครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของหมู่บ้าน/ชุมชน ๆ ละ 200,000 บาทของกรมการปกครอง 2) โครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชาตามแนวทางประชารัฐ กองทุนละไม่เกิน 300,000 บาท ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และ 3) โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร ชุมชนละ 300,000 บาท ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มีรายงานด้วยว่า ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีการชี้แจงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเร็วๆนี้ ให้เน้นย้ำว่าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ประกอบด้วย การทำงานในพื้นที่หรือการปฏิบัติงานตามงบประมาณที่มอบให้ และการปฏิบัติราชการแบบไทยนิยม คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ต้องบูรณาการงานทุกอย่างให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยให้ชี้แจงทาความเข้าใจเรื่องงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนที่สองเป็นของกระทรวงการคลัง และส่วนที่สามเป็นของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีการนาเสนอข่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้รับงบประมาณจำนวนมาก ในความเป็นจริงแล้วงบประมาณดังกล่าวลงไปสู่พื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนโดยตรงผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน และเป็นงบประมาณในการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ขณะที่งบประมาณบางส่วนอยู่ในการดาเนินงานของกระทรวงอื่น
" ทั้งนี้ หากมีโครงการที่ไม่ผ่านการขออนุมัติจากหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ให้ส่งโครงการกลับไปยังอำเภอและให้พิจารณาใช้งบประมาณของ อปท. ดำเนินการ โดยทุกโครงการต้องเป็นไปตามกฎหมาย”