xs
xsm
sm
md
lg

โดนัล ทรัมป์ชนะ TPP ไม่เกิด โชคดีของประเทศไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประเทศไทย อาจจะโชคดี ที่นายโดนัล ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา ถ้านายทรัมป์ ทำตามที่ได้หาเสียงไว้คือ จะให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิก กลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ ทีพีพี (Trans - Pacific Strategic Economic Partnership Agreement )

ทีพีพี นี้ถือว่า เป็นเขตเสรีการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศที่ตั้งอย^jสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคที่ใหญ่ที่สุด เป็นระบบการค้า การลงทุน ที่มีเป้าหมายเอื้อประโยชนNต่อการขยายตัวของกลุ่มทุนในประเทศสมาชิก สำหรับ สหรัฐฯแล้ว ยังเป็นการสร้างแนวรบ สกัดกั้น จีน ไม่ให้ขยายตัวทางเศรษกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้อย่างสะดวก

สมาชิกทีพีพีทั้ง 12 ประเทศ ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนาม ชิลี เปรู และเม็กซิโก ลงนามข้อตกลงทีพีพี ไปแล้ว เมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย แต่จะมีผลบังคับใช้ ในปี 2560 เพราะแต่ละประเทศต้องนำข้อตกลงนี้ไปให้รัฐสภาเห็นชอบเสียก่อน

ทีพีพี ได้รับการต่อต้านจากประชาชนในประเทศสมาชิกที่เห็นว่า การเปิดเสรี ลดภาษีสินค้าและบริการ การคุ้มครองสิทธิบัตร ยา ฯลฯ อันเป็นสาระสำคัญนั้น คือเครื่องมือของบริษัทข้ามชาติในการขยายตลาด ประชาชนและธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กไม่ได้อะไร มีแต่จะเสียเปรียบ จนอาจถึงขั้นสูญหาย ล้มตายได้

คนอเมริกันและธุรกิจอเมริกันจำนวนหนึ่ง ก็ต่อต้าน ทีพีพี เพราะมีบทเรียนมาแล้วจาก นาฟต้า หรือเขตเสรีค้าอเมริกาเหนืออันประกอบด้วย สหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดา ซึ่งโดนัล ทรัมป์ ยกขึ้นมาเป้นประเด็นในการหาเสียงว่า ทั้งนาฟต้า และทีพีพี สหรัฐฯเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ทำให้คนต้องตกงาน เพราะมีการโยกย้ายโรงงานผลิตไปอยุ่ในประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า และการลดหรือเลิกเก็บภาษี ทำให้สินค้าต่างชาติที่มีราคาถูกกว่า เข้ามาแย่งตลาดสินค้าที่ผลิตในอเมริกา

หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี สิ่งที่จะทำใน 100 วันแรก หลังจากสาบานตัวรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว คือ ขอเจรจา แก้ไขข้อตกลงนาฟต้าใหม่ ซึ่งถ้าเม็กซิโก หรือแคนาดาไม่ยอม สหรัฐฯอาจถอนตัวจากนาฟต้า

ส่วนทีพีพี ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น ทรัมป์บอกว่า สหรัฐฯจะถอนตัวเลย เดิมที ประธานาธิบดี โอบามา ตั้งใจว่า จะนำเรื่อง ทีพีพี ที่ตัวเองไปเซ็นไว้เมือ่ปีที่แล้ว ให้รัฐสภาเห็นชอบ แต่เมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคดีโมแครตพ่ายแพ้ ตกเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยทั้งสองสภา และว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ประกาสชัดเจนว่า ไม่เอา ทีพีพี ก็เป็นอันว่า ทีพีพี จบแล้ว

แม้สมาชิกบางประเทศจะบอกว่า สหรัฐฯ ไม่ร่วมด้วยก็ไม่เป็นไ ร ทีพีพียังเดินหน้าต่อไป เพราะอีก 11 ประเทศยังอยู่ แต่ในความเป็นจริง เมื่อมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ที่เป็นตัวตั้งตัวตี บอกศาลาไม่เอาด้วย ก็ยากที่ทีพีพีจะเกิดขึ้นได้

ประเทศไทยเรานั้น ยังไม่ได้เข้าร่วมในทีพีพี แต่อยากจะเข้า เพราะหลายประเทศในอาเศซียน อย่างมาเลเซีย บรูไร และเวียดนามล้วนเป้น หนึ่งในผู้ก่อตั้งทีพีพี หากไทยไม่เข้า ก็จะเสียเปรียบในด้ารการส่งออก และการลงทุน ต่อประเทศเหล่านั้น จึงขอให้ญี่ปุ่น ช่วยกรุยทางให้ไทยได้เข้าเป็นสมาชิกทีพีพีด้วย

บทความเรื่อง “ทำไมประเทศไทยไม่ควรร่วมทีพีพี ความตกลงผูกขาดทรัพยากรชีวภาพ” ของ มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai Foundation) เห็นว่า วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของสหรัฐ ฯ ที่ผลักดัน ทีพีพี คือ การขยายการคุ้มครองสิทธิบัตร และการเปิดเสรีสินค้าและบริการที่สหรัฐฯ เป็นผู้นำ เช่น จีเอ็มโอ และผลิตภัณฑ์อาหารดัดแปลงพันธุกรรม ที่หลายประเทศไม่ยอมรับ

การเข้าร่วม TPP จะเกิดผลกระทบต่อประเทศไทยในประเด็นที่เกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมและทรัพยากรชีวภาพใน 2 ประเด็นสำคัญคือ

1. ประเทศไทยจะต้องแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร และกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ซึ่งจะส่งผลให้บรรษัทข้ามชาติสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพโดยไม่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์

การเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อหรือแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้านจะกลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การผูกขาดเมล็ดพันธุ์จะขยายจาก 12 ปีเป็น 20 ปี เมล็ดพันธุ์จะมีราคาแพงขึ้นตั้งแต่ 2-6 เท่าตัวเป็นอย่างน้อย

2 . การเข้าร่วมเป็นภาคีใน TPP อาจทำให้ไทยต้องถูกบีบบังคับให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ และอาจต้องยกเลิกการติดฉลากหรือมาตรการอื่นๆที่เป็นการปกป้องสิทธิผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารดัดแปรพันธุกรรม ทั้งๆที่กระแสผู้บริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มต่อต้านพืชและผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

หากทรัมป์ ทำตามสัญญาตอนหาเสียง ถอนตัวออกจากทีพีพี ซึ่งเท่ากับ ทีพีพีล้มไปโดยปริยาย ก็จะเป็นผลดีกับประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ต้องเสียเปรียบในการแข่งขันกับเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกทีพีพีอยุ่แล้ว และไม่ต้องยอมรับผลกระทบต่อภาคเกษตรกรม และทรัพยากรชีวภาพ เพราะว่าต้องการอยุ่ใน ทีพีพี


กำลังโหลดความคิดเห็น