สะเก็ดไฟ
มาอีกแล้วประเด็นรีเซต-เซตซีโร่ ในแวดวงการเมือง แนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยังฝังหัวกันอยู่ในเรื่องนี้ จะล้างไพ่ ล้างกระดานสมาชิกพรรคการเมืองทั้งประเทศ
ดูเหมือน กรธ.จะเงี่ยหูฟังความคิดความเห็นจากพรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ได้ยินเสียงโอดครวญถึงการหาสมาชิกพรรคยากเย็นแสนเข็ญ เพราะติดเงื่อนไขกฎเกณฑ์เดิมๆ ที่ว่าหากจะรับสมัครสมาชิกพรรค หรือพูดง่ายๆ คือให้ประชาชนทั่วไปมาสมัครจำเป็นต้องลาออกจากพรรคการเมืองเดิมที่เคยสมัครไว้เดิมก่อน
เงื่อนไขตรงนี้จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ว่ายาก เพราะบางทีบางครั้งคนเราก็ไม่ได้ยี่หระใส่ใจตรงนี้ แถมแว่วว่าบางคนสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ตัวเองยังไม่ทราบ ทุกวันนี้ทำแต่งาน หาเช้ากินค่ำไม่ได้สนใจจะไปทำธุรการส่วนนี้ จะให้เสียเวลาไปทำเรื่องลาออก ย้ายเข้า ก็คิดว่าเสียเวลาทำมาหารับประทานเปล่าๆ ดังนั้น กรธ.จึงออกแบบให้รีเซตกันใหม่
จะว่าไปแนวคิดการล้างไพ่ ล้างกระดาน มีมาตั้งแต่ กรธ.ยังไม่ได้ตั้งไข่ด้วยซ้ำ มีสมมติฐานที่พรรคการเมืองบางพรรคตั้งข้อสังเกตเชิงดูถูกนินทามาตั้งแต่ต้น ว่าเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัด และกำจัดบางพรรค ในฐานะพรรคใหญ่ ชนะการเลือกตั้งอยู่เป็นประจำ ที่เห็นชัดสุดๆ แบบไม่ต้องแปลความ คือ การจัดระบบเลือกตั้งใหม่แบบจัดสรรปันส่วนผสม ออกแบบใช้คำให้ดูดี พยายามให้ทุกคะแนนเสียงมีค่า เขย่าขยอกให้ส่วนผสมลงตัว สุดท้ายก็คือยักย้ายถ่ายโอนปริมาณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ไปให้พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก ตัดตอนความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของพรรคใหญ่ ไม่ให้โอเวอร์เหมือนเก่าก่อน เหมือนคุมกำเนิด ควบคุมขนาดเอาไว้
นี่ก็คือการรีเซตระบบการเมืองแล้วตั้งแต่ต้น หนทางที่จะมีปรากฏการณ์แลนสไลด์เหมือนในอดีตที่พรรคการเมืองใหญ่ชนะเลือกตั้งถล่มทลายจนสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว
ระบบของ กรธ.ล่าสุดก็มีการขีดเส้นกำหนดเพดาน ส.ส.ไว้ โอกาสที่จะได้ ส.ส.เกินครึ่งหรือ 250 คน แทบจะเป็นศูนย์ เพราะถ้าหากได้ส.ส.เขตเต็มที่หรือ เกือบเต็ม ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ก็จะได้น้อยหรือไม่ได้เลย คะแนนส่วนนี้ก็จะไปเฉลี่ยให้พรรครองๆ ลงไป อานิสงส์ตกอยู่กับพรรค “เอสเอ็มอี” พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็กนั่นเอง
หมากเกมนี้เขาคิดคำนวณกันไว้ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติแล้ว ใครๆ ก็รู้ ต้องวางแผนทุกสิ่งอย่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ “เสียของ” เหมือนที่แล้วๆ มา และต้องมองกันแบบยาวๆ หลายช็อตข้ามปี ข้ามเป็นสิบปี ดังจะเห็นจากโรดแมปแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี วางเอาไว้ยันตายกันเลยทีเดียว
ปิดล็อกประตูตายไม่ให้การเมืองอยู่ในมือของนักการเมืองหน้าเก่า ขั้วเดิม มิฉะนั้นเลือกตั้งกี่ครั้งก็เสร็จโจรเหมือนเดิม จึงเกิดกฎกติกาที่โดนนินทาว่าร้าย ว่าสุดแสนแปลกประหลาด เหมือนจงใจจะจัดการใครบางคนชัดเจนเกินไป แต่เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วก็ต้องลงมือทำ ใครจะทำไม
ขณะเดียวกัน แน่นอนว่าก็ต้องสร้างขุมกำลังเครือข่ายของตัวเองขึ้นมาด้วย ลำพังแค่ตัดตอน กำจัดฝ่ายตรงข้ามคงไม่พอ ถ้าสร้างไม่ได้ง่ายๆ ก็ไปตีรวม ตกปลาในอ่างเข้ามา แน่นอนว่าเป้าหมายก็คือ พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก ฉะนั้นทุกอย่างก็ฉายภาพชัดว่าพยายามทำทุกอย่างเพื่อเอื้อพรรคกลาง พรรคเล็ก เพื่ออะไร
สมการการเมืองมันชัดเจน แบไต๋กันไปหมดแล้ว เหลือก็เพียงแต่วิธีการในขั้นตอนสุดท้าย ไฮไลต์อยู่ที่การเขียนกฎหมายลูกคัดท้ายรัฐธรรมนูญว่าจะรุนแรงเหี้ยมเกรียมมากน้อยแค่ไหน เรื่องเซตซีโร่มีอยู่แล้วไม่มุมใดก็มุมหนึ่ง แต่ยาจะแรงจนปวดแสบปวดร้อน หรือแค่เบาะๆ เจ็บๆ แสบๆ เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ก็พูดกันหนาหู โหวกเหวกกันอื้ออึง โดยเฉพาะจากบรรดาลิ่วล้อลูกหาบคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือพวกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นั่นแหละ ออกมาเชียร์แหลกลาญให้เซตซีโร่พรรคการเมือง โละทิ้งทั้งกระดานพรรคการเมือง ไปจดทะเบียนกันใหม่ให้หมด เลือกกรรมการบริหารพรรคใหม่ทั้งชุด เริ่มตั้งต้นจากศูนย์เลย เสนอกันถึงขนาดไม่ให้ใช้ชื่อพรรคการเมืองเดิม เอากันถึงแก่นถึงกึ๋นขนาดนั้น ไม่ล้างให้หมดจดเดี๋ยวเสียแผน ต้องจับยัดลงหลุมให้สิ้นซากไม่ให้โผล่มาหลอกหลอนอีก แต่อย่างว่ามันก็ดูสุดโต่งเกินไป แต่ไม่แน่เหมือนกันอาจกล้าๆ ทำ หรือถ้านักการเมืองไปยั่วต่อมโมโหมากอาจปฏิบัติการลงดาบกันจริงๆ จังๆ เสียเลย
กระนั้นดูแนวโน้มแล้วคงไม่สุดโต่งเกินไป น่าจะอยู่กลางๆ เพียงแต่จะดีไซน์กันยังไง มันต้องทำกันอีกกระทอกหนึ่งแน่ๆ เพราะชั่วโมงนี้ดูแล้วยังฝังไม่สนิท พรรคการเมืองพรรคใหญ่ยังแอบคาดหวัง ยังเดินเกมซุ่มเงียบรอจังหวะ เพราะมองว่ากติกาขนาดนี้ ยังพอมีหวัง มีโอกาสกลับมาผงาดง้ำ จึงบ่นๆ เชิงดักคอพอเป็นพิธี
แต่ถ้าเจออีกดาบซึ่งคาดว่าจะมีแน่ๆ คราวนี้จะร้องแรกแหกกระเชอก็อาจจะสายไปเสียแล้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ทำอะไรไม่ได้มาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ต้องก้มหน้ารับสภาพลงเลือกตั้งภายใต้กติกาที่คนอื่นเขียนไปอย่างยอมจำนน เพราะอาชีพนักเลือกตั้งหนีไม่ออก เดินทางไหนไม่ได้ ต้องสู้ทุกกติกา วิธีการ จนถึงวันนี้ไอ้พวกที่ปากดีๆ เดินเกมพ่นน้ำลายจวกแหลก รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการบ้าง กติกาโจรบ้าง แต่แทบจะไม่มีใครออกมาบอกเลยว่า ถ้าถึงเวลาเลือกตั้งแล้วใช้กติกาโจรอันนั้น จะไม่ลงเลือกตั้ง เชื่อเหลือเกินว่าสุดท้ายจะเป็นกติกาโจร หรือกติกาอะไร ไอ้พวกปากกล้าขาสั่นก็จะโดดลงเลือกตั้งกันหน้าสลอน
พิสูจน์ชัดเจนกันไปอีกอย่างหนึ่งว่าพวกสร้างภาพอุดมการณ์แน่วแน่ ที่แท้ก็แค่นักเลือกตั้ง ขยะประชาธิปไตย ถ้าแน่จริง อุดมการณ์เที่ยงแท้ของจริง ก็ไม่ต้องลงเลือกตั้ง ไหนบอกไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมรับกติกาทหาร ก็อย่ามาข้องแวะใดๆ กับระบบเผด็จการ
อย่ามาอ้างว่าลงสนามเพื่อเข้าสู่กระบวนการเพื่อไปเปลี่ยนแปลงกติกา เพราะตรงนี้มีคนทำเยอะแยะอยู่แล้ว แน่จริงไปรออยู่ข้างนอก ไปสังเกตการณ์ข้างเวที รอกติกาดีๆ เป็นวิถีทางประชาธิปไตยเต็มใบค่อยกลับมา
แบบนั้นจะมีแต่เสียงแซ่ซ้อง ถ้าทำไม่ได้ก็เป็นแค่ขยะประชาธิปไตย!
มาอีกแล้วประเด็นรีเซต-เซตซีโร่ ในแวดวงการเมือง แนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยังฝังหัวกันอยู่ในเรื่องนี้ จะล้างไพ่ ล้างกระดานสมาชิกพรรคการเมืองทั้งประเทศ
ดูเหมือน กรธ.จะเงี่ยหูฟังความคิดความเห็นจากพรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ได้ยินเสียงโอดครวญถึงการหาสมาชิกพรรคยากเย็นแสนเข็ญ เพราะติดเงื่อนไขกฎเกณฑ์เดิมๆ ที่ว่าหากจะรับสมัครสมาชิกพรรค หรือพูดง่ายๆ คือให้ประชาชนทั่วไปมาสมัครจำเป็นต้องลาออกจากพรรคการเมืองเดิมที่เคยสมัครไว้เดิมก่อน
เงื่อนไขตรงนี้จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ว่ายาก เพราะบางทีบางครั้งคนเราก็ไม่ได้ยี่หระใส่ใจตรงนี้ แถมแว่วว่าบางคนสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ตัวเองยังไม่ทราบ ทุกวันนี้ทำแต่งาน หาเช้ากินค่ำไม่ได้สนใจจะไปทำธุรการส่วนนี้ จะให้เสียเวลาไปทำเรื่องลาออก ย้ายเข้า ก็คิดว่าเสียเวลาทำมาหารับประทานเปล่าๆ ดังนั้น กรธ.จึงออกแบบให้รีเซตกันใหม่
จะว่าไปแนวคิดการล้างไพ่ ล้างกระดาน มีมาตั้งแต่ กรธ.ยังไม่ได้ตั้งไข่ด้วยซ้ำ มีสมมติฐานที่พรรคการเมืองบางพรรคตั้งข้อสังเกตเชิงดูถูกนินทามาตั้งแต่ต้น ว่าเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัด และกำจัดบางพรรค ในฐานะพรรคใหญ่ ชนะการเลือกตั้งอยู่เป็นประจำ ที่เห็นชัดสุดๆ แบบไม่ต้องแปลความ คือ การจัดระบบเลือกตั้งใหม่แบบจัดสรรปันส่วนผสม ออกแบบใช้คำให้ดูดี พยายามให้ทุกคะแนนเสียงมีค่า เขย่าขยอกให้ส่วนผสมลงตัว สุดท้ายก็คือยักย้ายถ่ายโอนปริมาณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ไปให้พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก ตัดตอนความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของพรรคใหญ่ ไม่ให้โอเวอร์เหมือนเก่าก่อน เหมือนคุมกำเนิด ควบคุมขนาดเอาไว้
นี่ก็คือการรีเซตระบบการเมืองแล้วตั้งแต่ต้น หนทางที่จะมีปรากฏการณ์แลนสไลด์เหมือนในอดีตที่พรรคการเมืองใหญ่ชนะเลือกตั้งถล่มทลายจนสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว
ระบบของ กรธ.ล่าสุดก็มีการขีดเส้นกำหนดเพดาน ส.ส.ไว้ โอกาสที่จะได้ ส.ส.เกินครึ่งหรือ 250 คน แทบจะเป็นศูนย์ เพราะถ้าหากได้ส.ส.เขตเต็มที่หรือ เกือบเต็ม ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ก็จะได้น้อยหรือไม่ได้เลย คะแนนส่วนนี้ก็จะไปเฉลี่ยให้พรรครองๆ ลงไป อานิสงส์ตกอยู่กับพรรค “เอสเอ็มอี” พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็กนั่นเอง
หมากเกมนี้เขาคิดคำนวณกันไว้ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติแล้ว ใครๆ ก็รู้ ต้องวางแผนทุกสิ่งอย่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ “เสียของ” เหมือนที่แล้วๆ มา และต้องมองกันแบบยาวๆ หลายช็อตข้ามปี ข้ามเป็นสิบปี ดังจะเห็นจากโรดแมปแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี วางเอาไว้ยันตายกันเลยทีเดียว
ปิดล็อกประตูตายไม่ให้การเมืองอยู่ในมือของนักการเมืองหน้าเก่า ขั้วเดิม มิฉะนั้นเลือกตั้งกี่ครั้งก็เสร็จโจรเหมือนเดิม จึงเกิดกฎกติกาที่โดนนินทาว่าร้าย ว่าสุดแสนแปลกประหลาด เหมือนจงใจจะจัดการใครบางคนชัดเจนเกินไป แต่เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วก็ต้องลงมือทำ ใครจะทำไม
ขณะเดียวกัน แน่นอนว่าก็ต้องสร้างขุมกำลังเครือข่ายของตัวเองขึ้นมาด้วย ลำพังแค่ตัดตอน กำจัดฝ่ายตรงข้ามคงไม่พอ ถ้าสร้างไม่ได้ง่ายๆ ก็ไปตีรวม ตกปลาในอ่างเข้ามา แน่นอนว่าเป้าหมายก็คือ พรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก ฉะนั้นทุกอย่างก็ฉายภาพชัดว่าพยายามทำทุกอย่างเพื่อเอื้อพรรคกลาง พรรคเล็ก เพื่ออะไร
สมการการเมืองมันชัดเจน แบไต๋กันไปหมดแล้ว เหลือก็เพียงแต่วิธีการในขั้นตอนสุดท้าย ไฮไลต์อยู่ที่การเขียนกฎหมายลูกคัดท้ายรัฐธรรมนูญว่าจะรุนแรงเหี้ยมเกรียมมากน้อยแค่ไหน เรื่องเซตซีโร่มีอยู่แล้วไม่มุมใดก็มุมหนึ่ง แต่ยาจะแรงจนปวดแสบปวดร้อน หรือแค่เบาะๆ เจ็บๆ แสบๆ เท่านั้น
ก่อนหน้านี้ก็พูดกันหนาหู โหวกเหวกกันอื้ออึง โดยเฉพาะจากบรรดาลิ่วล้อลูกหาบคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือพวกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นั่นแหละ ออกมาเชียร์แหลกลาญให้เซตซีโร่พรรคการเมือง โละทิ้งทั้งกระดานพรรคการเมือง ไปจดทะเบียนกันใหม่ให้หมด เลือกกรรมการบริหารพรรคใหม่ทั้งชุด เริ่มตั้งต้นจากศูนย์เลย เสนอกันถึงขนาดไม่ให้ใช้ชื่อพรรคการเมืองเดิม เอากันถึงแก่นถึงกึ๋นขนาดนั้น ไม่ล้างให้หมดจดเดี๋ยวเสียแผน ต้องจับยัดลงหลุมให้สิ้นซากไม่ให้โผล่มาหลอกหลอนอีก แต่อย่างว่ามันก็ดูสุดโต่งเกินไป แต่ไม่แน่เหมือนกันอาจกล้าๆ ทำ หรือถ้านักการเมืองไปยั่วต่อมโมโหมากอาจปฏิบัติการลงดาบกันจริงๆ จังๆ เสียเลย
กระนั้นดูแนวโน้มแล้วคงไม่สุดโต่งเกินไป น่าจะอยู่กลางๆ เพียงแต่จะดีไซน์กันยังไง มันต้องทำกันอีกกระทอกหนึ่งแน่ๆ เพราะชั่วโมงนี้ดูแล้วยังฝังไม่สนิท พรรคการเมืองพรรคใหญ่ยังแอบคาดหวัง ยังเดินเกมซุ่มเงียบรอจังหวะ เพราะมองว่ากติกาขนาดนี้ ยังพอมีหวัง มีโอกาสกลับมาผงาดง้ำ จึงบ่นๆ เชิงดักคอพอเป็นพิธี
แต่ถ้าเจออีกดาบซึ่งคาดว่าจะมีแน่ๆ คราวนี้จะร้องแรกแหกกระเชอก็อาจจะสายไปเสียแล้ว แต่ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ทำอะไรไม่ได้มาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ต้องก้มหน้ารับสภาพลงเลือกตั้งภายใต้กติกาที่คนอื่นเขียนไปอย่างยอมจำนน เพราะอาชีพนักเลือกตั้งหนีไม่ออก เดินทางไหนไม่ได้ ต้องสู้ทุกกติกา วิธีการ จนถึงวันนี้ไอ้พวกที่ปากดีๆ เดินเกมพ่นน้ำลายจวกแหลก รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการบ้าง กติกาโจรบ้าง แต่แทบจะไม่มีใครออกมาบอกเลยว่า ถ้าถึงเวลาเลือกตั้งแล้วใช้กติกาโจรอันนั้น จะไม่ลงเลือกตั้ง เชื่อเหลือเกินว่าสุดท้ายจะเป็นกติกาโจร หรือกติกาอะไร ไอ้พวกปากกล้าขาสั่นก็จะโดดลงเลือกตั้งกันหน้าสลอน
พิสูจน์ชัดเจนกันไปอีกอย่างหนึ่งว่าพวกสร้างภาพอุดมการณ์แน่วแน่ ที่แท้ก็แค่นักเลือกตั้ง ขยะประชาธิปไตย ถ้าแน่จริง อุดมการณ์เที่ยงแท้ของจริง ก็ไม่ต้องลงเลือกตั้ง ไหนบอกไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมรับกติกาทหาร ก็อย่ามาข้องแวะใดๆ กับระบบเผด็จการ
อย่ามาอ้างว่าลงสนามเพื่อเข้าสู่กระบวนการเพื่อไปเปลี่ยนแปลงกติกา เพราะตรงนี้มีคนทำเยอะแยะอยู่แล้ว แน่จริงไปรออยู่ข้างนอก ไปสังเกตการณ์ข้างเวที รอกติกาดีๆ เป็นวิถีทางประชาธิปไตยเต็มใบค่อยกลับมา
แบบนั้นจะมีแต่เสียงแซ่ซ้อง ถ้าทำไม่ได้ก็เป็นแค่ขยะประชาธิปไตย!