แหล่งข่าว คสช.ย้ำเปลี่ยนคำ “ปรับทัศนคติ” เป็น “ทำความเข้าใจ” แจงกรณีหาดราไวย์ ภูเก็ต ต้นเหตุย้ายสถานที่คุย อ้างแค่เชิญคู่กรณีมารับทราบข้อมูลร่วมกัน มีผู้ว่าฯ เป็นหัวหน้าทีม ยันไม่ใช้ค่ายทหารแล้วเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ส่วนจะไม่ให้ทหารไปคุยขอดูสถานการณ์ก่อน
วันนี้ (1 มิ.ย.) แหล่งข่าวจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีกรณี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปลี่ยนสถานที่ปรับทัศนคติจากค่ายทหารเป็นศาลากลางจังหวัด และสถานีตำรวจ ว่าต้องลำดับความก่อนว่าพอมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559 ขอย้ำว่าตอนนี้ไม่มีการเรียกบุคคลมาปรับทัศนคติแล้ว เราไม่ใช้คำนี้ แต่ใช้คำว่าการพูดคุยทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้สถานที่ราชการแทนค่ายทหารนั้นเป็นเพราะมีอยู่กรณีหนึ่งที่จังหวัดภูเก็ตที่บริษัทหนึ่งซื้อที่ดินมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีพี่น้องประชาชนดูในบริเวณที่ดินนั้นมาเป็นเวลานานทำให้เป็นความขัดแย้งระหว่างบริษัทกับประชาชนในพื้นที่จนทหารต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการเชิญทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกันในค่ายทหาร เลยทำให้กระแสสังคมที่เห็นต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเชิญมาปรับทัศนคติ โดยที่ประชาชนมีความเดือดร้อนทั้งๆ ที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เป็นเพียงการเชิญมารับทราบข้อมูลร่วมกันทั้งสองฝ่าย
แหล่งข่าว คสช.กล่าวต่อว่า กรณีที่ 2 เกิดที่จังหวัดพิษณุโลก ที่มีการตรวจสอบการขุดลอกคลองขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) โดยมีประชาชนเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจในค่ายทหาร จากนั้นก็มีการโจมตีว่าทหารเรียกประชาชนไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร ทั้งสองกรณีนี้จึงเป็นที่มาที่ไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.พิจารณาว่าเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแนวทางดังกล่าวเลยหันมาใช้สถานที่ราชการ ทั้งศาลากลางจังหวัด และสถานีตำรวจ ในการเรียกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมารับทราบปัญหาขัดแย้งไม่เข้าใจกันก็เท่านั้นเอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม
เมื่อถามว่า แนวทางดังกล่าวจะปฏิบัติต่อนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างไร แหล่งข่าว คสช.กล่าวว่า หากภาคประชาสัมคมไม่เคลื่อนไหวเกินกรอบกฎหมาย เราจะใช้แนวทางแจ้งเตือนบอกกล่าว หากทำผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ขอย้ำว่าจะไม่มีการเชิญมาปรับทัศนคติ พร้อมทั้งจะไม่ใช้พื้นทีค่ายทหารอีกแล้ว เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดและลดความรู้สึกไม่ดีว่ามีอะไรก็ต้องไปที่ค่ายทหาร
เมื่อถามต่อว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะไม่ใช่เครื่องแบบไปพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อทำให้ภาพลักษณ์การพูดคุยดีขึ้น แหล่งข่าว คสช.กล่าวต่อว่า คงต้องดูสถานการณ์ความพร้อมและความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
“หลังจากนี้ไป คสช.จะพิจารณาคำสั่งหรือประกาศได้หรือไม่นั้นคงต้องดูว่าไปตามสถานการณ์ ทั้งนี้เรายึดถือความสงบของบ้านเมืองเป็นเรื่องหลัก พร้อมทั้งสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าอะไรก็ตามทำให้บ้านเมืองเกิดบรรยากาศแห่งความสงบสุขร่มเย็นก็สามารถทำได้ทั้งนั้น” แหล่งข่าว คสช.กล่าว
วันนี้ (1 มิ.ย.) แหล่งข่าวจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีกรณี พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปลี่ยนสถานที่ปรับทัศนคติจากค่ายทหารเป็นศาลากลางจังหวัด และสถานีตำรวจ ว่าต้องลำดับความก่อนว่าพอมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559 ขอย้ำว่าตอนนี้ไม่มีการเรียกบุคคลมาปรับทัศนคติแล้ว เราไม่ใช้คำนี้ แต่ใช้คำว่าการพูดคุยทำความเข้าใจและขอความร่วมมือ ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้สถานที่ราชการแทนค่ายทหารนั้นเป็นเพราะมีอยู่กรณีหนึ่งที่จังหวัดภูเก็ตที่บริษัทหนึ่งซื้อที่ดินมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีพี่น้องประชาชนดูในบริเวณที่ดินนั้นมาเป็นเวลานานทำให้เป็นความขัดแย้งระหว่างบริษัทกับประชาชนในพื้นที่จนทหารต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการเชิญทั้งสองฝ่ายมาพูดคุยกันในค่ายทหาร เลยทำให้กระแสสังคมที่เห็นต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเชิญมาปรับทัศนคติ โดยที่ประชาชนมีความเดือดร้อนทั้งๆ ที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เป็นเพียงการเชิญมารับทราบข้อมูลร่วมกันทั้งสองฝ่าย
แหล่งข่าว คสช.กล่าวต่อว่า กรณีที่ 2 เกิดที่จังหวัดพิษณุโลก ที่มีการตรวจสอบการขุดลอกคลองขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) โดยมีประชาชนเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจในค่ายทหาร จากนั้นก็มีการโจมตีว่าทหารเรียกประชาชนไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร ทั้งสองกรณีนี้จึงเป็นที่มาที่ไปที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.พิจารณาว่าเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแนวทางดังกล่าวเลยหันมาใช้สถานที่ราชการ ทั้งศาลากลางจังหวัด และสถานีตำรวจ ในการเรียกคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมารับทราบปัญหาขัดแย้งไม่เข้าใจกันก็เท่านั้นเอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม
เมื่อถามว่า แนวทางดังกล่าวจะปฏิบัติต่อนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างไร แหล่งข่าว คสช.กล่าวว่า หากภาคประชาสัมคมไม่เคลื่อนไหวเกินกรอบกฎหมาย เราจะใช้แนวทางแจ้งเตือนบอกกล่าว หากทำผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ขอย้ำว่าจะไม่มีการเชิญมาปรับทัศนคติ พร้อมทั้งจะไม่ใช้พื้นทีค่ายทหารอีกแล้ว เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดและลดความรู้สึกไม่ดีว่ามีอะไรก็ต้องไปที่ค่ายทหาร
เมื่อถามต่อว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ทหารจะไม่ใช่เครื่องแบบไปพูดคุยทำความเข้าใจ เพื่อทำให้ภาพลักษณ์การพูดคุยดีขึ้น แหล่งข่าว คสช.กล่าวต่อว่า คงต้องดูสถานการณ์ความพร้อมและความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง
“หลังจากนี้ไป คสช.จะพิจารณาคำสั่งหรือประกาศได้หรือไม่นั้นคงต้องดูว่าไปตามสถานการณ์ ทั้งนี้เรายึดถือความสงบของบ้านเมืองเป็นเรื่องหลัก พร้อมทั้งสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าอะไรก็ตามทำให้บ้านเมืองเกิดบรรยากาศแห่งความสงบสุขร่มเย็นก็สามารถทำได้ทั้งนั้น” แหล่งข่าว คสช.กล่าว