กรธ. เผยเองร่างแม่น้ำ 4 สาย พิมพ์เขียวร่าง รธน. จี้ แก้บทเฉพาะกาลช่วงแก้ปัญหาหัวเลี้ยวหัวต่อ ส.ว. สรรหา 250 คน ผบ. เหล่าทัพ ควบวุฒิสภาโดยตำแหน่ง ไร้อำนาจเลือกนายกฯ แต่ให้พิทักษ์ รธน. เดินต่อปฏิรูป - ยุทธศาสตร์ชาติ มีอำนาจซักฟอกรัฐ ชงเพิ่มบัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบ เขตใหญ่เรียงเบอร์ - บัญชีรายชื่อ ตัดเสนอชื่อ 3 นายกฯ เปิดช่องไอ้โม่งเสียบนายกฯคนนอก ย้ำ ไม่มีสืบทอดอำนาจ จุ้นเลือกตั้งและตั้ง รบ. ใหม่
วันนี้ (15 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ภายหลังจากที่ ครม. ได้แจกแจงรายละเอียดข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้มีการแจกเอกสารใด ๆ ที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น และจากในเวลา 15.40 น. ทาง กรธ. ได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าว จาก คสช. วันที่ 13 มี.ค. 59 ด่วนที่สุด ที่ คสช.(สลธ.)/145 ลงนามโดย พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะการในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาถึง กรธ. ในวันที่ 14 มี.ค. เวลา 10.16 น. โดยมีสาระสำคัญ จำนวน 6 หน้า ซึ่งมีใจความดังนี้ ได้จากการประชุมหารือภายในระหว่างหัวหน้า คสช. นายกรัฐมนตรี ประธาน สนช. ประธาน สปท. ในการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 59 ซึ่งที่ประชุมเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่โรดแมประยะที่ 3 พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลและเปลี่ยนผ่านไปสู่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติชุดใหม่ ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศอาจจะประสบปัญหารุนแรง ความไม่สงบเรียบร้อย และเกิดเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นใหม่ และปัญหาอาจหวนกลับเข้าสู่วงจรเดิม และอาจเป็นกับดักทางเศรษฐกิจที่ฉุดรังเศรษฐกิจของประเทศ ไม่อ่จเติบโตได้ สร้างกับดักทางสังคมที่ชะลอการพัฒนาประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชน แก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนเป็นกับดักทางการเมืองที่สร้างความหวาดระแวง หรือเกลียดชังในหมู่ประชาชน และแยกประชาชนออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ผลักดันให้ออกมาประทบกันทั้งทางความคิด วาจา และการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ รัฐบาลก็จะขาดเสถียรภาพ การปฏิรูปและการออกกฎหมาย อาจดำเนินการต่อไปไม่ได้ อันจะทำให้ระบบประชาธิปไตยและความมั่นคงล้มครืนลง กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ คสช. ในการเข้าควบคุมการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57
เอกสารระบุว่า ซึ่ง คสช. ได้รับฟังความเห็นและข้อแนะนำจากวงการภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง และประชาชนจากหลากหลายตลอดมา เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์แล้ว สิ่งที่วิตกกังวนมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้สูง โดยพิจารณาจากความเคลื่อนไหว และความพยายามของบุคคลบางหมู่ ที่วางแผนเคลื่อนไหวออกมาต่อต้าน ปลุกระดม และแทรกซึมอยู่ทั่วไป เพื่อทำร้ายความชอบธรรมและขัดขวางการดำเนินการต่าง ๆ ในการคืนความสงบสุขแก่ประชาชนในขนาดนี้ จึงขอเสนอแนวทางการปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พิจารณา โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ คสช. จึงเห็นว่า ในช่วงดังกล่าวควรเขียนรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล ให้มีวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดแรก มาจากการสรรหา ให้มีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 250 คน เพื่อใช้อำนาจร่วมกับ ส.ส. 500 คน อย่างเหมาะสม โดย ส.ว. สรรหา มาจากคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง 8 - 10 คน โดยมี ส.ว. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และควรเปิดให้สามารถแต่งตั้งข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญบางตำแหน่ง ซึ่งมิใช่สมาชิก คสช. ในปัจจุบัน โดยให้มีจำนวนไม่เกิน 6 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.สส. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.ตร. และกรณีตำแหน่งดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งราชการไป ก็ให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่เข้ามาแทน
ทั้งนี้ วุฒิสภาในวาระแรกไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีหน้าที่ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น อภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรมตามสมควร
เอกสารดังกล่าวยังกำหนดวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. ควรให้ใช้บัตร 2 ใบ ใบแรกใช้เลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขต 350 คน และให้ใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น มี ส.ส. ไม่เกิน 3 คน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกได้เพียง 1 คน แล้วให้นับคะแนนเรียงลำดับลดหลั่นจนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ใบที่สอง สำหรับเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้ พรรคการเมืองต้องเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี 3 ชื่อ ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นวิธีที่ใช้ครั้งแรกในโลก อาจจะไม่เหมาะสม และอ่อนไหวต่อระยะเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เพราะทำให้เข้มงวด ผู้ถูกเสนอชื่ออาจขัดคุณสมบัติภายหลัง รวมทั้งอาจไม่มีพรรคการเมืองใดไม่ได้เสียงข้างมาก จนต้องจัดรัฐบาลผสม ทำให้ตกลงรายชื่อไม่ได้ จนทำให้เกิดปัญหา อีกทั้งการนำกติกาใหม่ ๆ มาใช้อาจเป็นอีกกับดักหนึ่งที่ปิดทางออกในยามวิกฤตจนทำให้การเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ จึงเห็นว่า ควรงดเว้นไม่นำเรื่องการแจ้งรายชื่อนายกรัฐมตรี 3 รายชื่อ มาบังคับใช้ช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยให้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล
“คสช. ขอเรียนว่า อย่าได้หวาดระแวงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ คสช. ยินดีจะพ้นจากตำแหน่งและยุติอำนาจหน้าที่ทั้งปวงตามกำหนดเวลาในโรดแมป และในร่างรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวแทรกแซงการจัดการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ การประคับประคองสถานการณ์ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่ รัฐสภาใหม่ ซึ่งรวมถึงวุฒิสภาด้วย “เพื่อให้บรรลุเจตนารมย์ในการยึดอำนาจ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ คสช. จึงขอเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะกาล ในร่างรัฐธรรมนูญ ตามผลการหารือมาเพื่อกรุณาพิจารณา” ช่วงท้ายของเอกสาร คสช. ได้กำชับ ทิ้งท้าย
วันนี้ (15 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ภายหลังจากที่ ครม. ได้แจกแจงรายละเอียดข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้มีการแจกเอกสารใด ๆ ที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น และจากในเวลา 15.40 น. ทาง กรธ. ได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าว จาก คสช. วันที่ 13 มี.ค. 59 ด่วนที่สุด ที่ คสช.(สลธ.)/145 ลงนามโดย พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ในฐานะเลขาธิการ คสช. เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะการในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาถึง กรธ. ในวันที่ 14 มี.ค. เวลา 10.16 น. โดยมีสาระสำคัญ จำนวน 6 หน้า ซึ่งมีใจความดังนี้ ได้จากการประชุมหารือภายในระหว่างหัวหน้า คสช. นายกรัฐมนตรี ประธาน สนช. ประธาน สปท. ในการประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 59 ซึ่งที่ประชุมเชื่อว่าเมื่อเข้าสู่โรดแมประยะที่ 3 พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลและเปลี่ยนผ่านไปสู่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติชุดใหม่ ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศอาจจะประสบปัญหารุนแรง ความไม่สงบเรียบร้อย และเกิดเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นใหม่ และปัญหาอาจหวนกลับเข้าสู่วงจรเดิม และอาจเป็นกับดักทางเศรษฐกิจที่ฉุดรังเศรษฐกิจของประเทศ ไม่อ่จเติบโตได้ สร้างกับดักทางสังคมที่ชะลอการพัฒนาประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชน แก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนเป็นกับดักทางการเมืองที่สร้างความหวาดระแวง หรือเกลียดชังในหมู่ประชาชน และแยกประชาชนออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ผลักดันให้ออกมาประทบกันทั้งทางความคิด วาจา และการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ รัฐบาลก็จะขาดเสถียรภาพ การปฏิรูปและการออกกฎหมาย อาจดำเนินการต่อไปไม่ได้ อันจะทำให้ระบบประชาธิปไตยและความมั่นคงล้มครืนลง กรณีเช่นนี้ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ คสช. ในการเข้าควบคุมการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57
เอกสารระบุว่า ซึ่ง คสช. ได้รับฟังความเห็นและข้อแนะนำจากวงการภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง และประชาชนจากหลากหลายตลอดมา เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์แล้ว สิ่งที่วิตกกังวนมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้สูง โดยพิจารณาจากความเคลื่อนไหว และความพยายามของบุคคลบางหมู่ ที่วางแผนเคลื่อนไหวออกมาต่อต้าน ปลุกระดม และแทรกซึมอยู่ทั่วไป เพื่อทำร้ายความชอบธรรมและขัดขวางการดำเนินการต่าง ๆ ในการคืนความสงบสุขแก่ประชาชนในขนาดนี้ จึงขอเสนอแนวทางการปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พิจารณา โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ คสช. จึงเห็นว่า ในช่วงดังกล่าวควรเขียนรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล ให้มีวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดแรก มาจากการสรรหา ให้มีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 250 คน เพื่อใช้อำนาจร่วมกับ ส.ส. 500 คน อย่างเหมาะสม โดย ส.ว. สรรหา มาจากคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง 8 - 10 คน โดยมี ส.ว. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และควรเปิดให้สามารถแต่งตั้งข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญบางตำแหน่ง ซึ่งมิใช่สมาชิก คสช. ในปัจจุบัน โดยให้มีจำนวนไม่เกิน 6 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.สส. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.ตร. และกรณีตำแหน่งดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งราชการไป ก็ให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่เข้ามาแทน
ทั้งนี้ วุฒิสภาในวาระแรกไม่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี แต่มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีหน้าที่ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น อภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำหน้าที่ตามกระบวนการยุติธรรมตามสมควร
เอกสารดังกล่าวยังกำหนดวิธีการเลือกตั้ง ส.ส. ควรให้ใช้บัตร 2 ใบ ใบแรกใช้เลือกตั้งส.ส. แบบแบ่งเขต 350 คน และให้ใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น มี ส.ส. ไม่เกิน 3 คน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกได้เพียง 1 คน แล้วให้นับคะแนนเรียงลำดับลดหลั่นจนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ใบที่สอง สำหรับเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
นอกจากนี้ ยังไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้ พรรคการเมืองต้องเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี 3 ชื่อ ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นวิธีที่ใช้ครั้งแรกในโลก อาจจะไม่เหมาะสม และอ่อนไหวต่อระยะเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งอาจทำให้เกิดปัญหาภายหลัง เพราะทำให้เข้มงวด ผู้ถูกเสนอชื่ออาจขัดคุณสมบัติภายหลัง รวมทั้งอาจไม่มีพรรคการเมืองใดไม่ได้เสียงข้างมาก จนต้องจัดรัฐบาลผสม ทำให้ตกลงรายชื่อไม่ได้ จนทำให้เกิดปัญหา อีกทั้งการนำกติกาใหม่ ๆ มาใช้อาจเป็นอีกกับดักหนึ่งที่ปิดทางออกในยามวิกฤตจนทำให้การเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ จึงเห็นว่า ควรงดเว้นไม่นำเรื่องการแจ้งรายชื่อนายกรัฐมตรี 3 รายชื่อ มาบังคับใช้ช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยให้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล
“คสช. ขอเรียนว่า อย่าได้หวาดระแวงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ คสช. ยินดีจะพ้นจากตำแหน่งและยุติอำนาจหน้าที่ทั้งปวงตามกำหนดเวลาในโรดแมป และในร่างรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวแทรกแซงการจัดการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ การประคับประคองสถานการณ์ต่อจากนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่ รัฐสภาใหม่ ซึ่งรวมถึงวุฒิสภาด้วย “เพื่อให้บรรลุเจตนารมย์ในการยึดอำนาจ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงแห่งชาติ คสช. จึงขอเสนอแนวทางการปรับปรุงบทเฉพาะกาล ในร่างรัฐธรรมนูญ ตามผลการหารือมาเพื่อกรุณาพิจารณา” ช่วงท้ายของเอกสาร คสช. ได้กำชับ ทิ้งท้าย