ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาข้อเรียกร้องของแกนนำพนักงานสอบสวนเสียชีวิต โดยเฉพาะความอิสระ ไม่ถูกแทรกแซง และค่าตอบแทนเพียงพอ รวมทั้งตรวจสอบการเสียชีวิตทุกมิติ แก้ไขปัญหาด้านกระบวนการสอบสวน และให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างจริงจัง
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย (ส.ปอ.ท.) ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจากคำสั่ง คสช. ที่ 6/2559 และ 7/2559
โดยหนังสือระบุว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่งดังกล่าว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 8 ก.พ. พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล ในฐานะเลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม และต่อมาเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ได้มีการพบ พ.ต.ท.จันทร์ เสียชีวิต ด้วยการแขวนคอตายที่บ้านพักเขตบางบอน กทม. กรณีดังกล่าว ส.ปอ.ท. ซึ่งได้เคยร่วมภารกิจกับสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ โดยเฉพาะกับ พ.ต.ท.จันทร์ เห็นว่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนได้ทำหน้าที่ให้เกิดความเป็นธรรมให้มากที่สุดอันเป็นไปเพื่อการ “บำบัดทุกข์บำรุงสุข” ให้กับประชาชน ส.ปอ.ท. จึงมีข้อเสนอแนะมายังรัฐบาล ดังนี้
1. ขอให้พิจารณาข้อเรียกร้องของ พ.ต.ท.จันทร์ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องที่ต้องการให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีต้องมีอิสระในการทำหน้าที่โดยไม่มีการแทรกแซงสั่งการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาอย่างเด็ดขาด รวมถึงเรื่องค่าตอบแทนตลอดถึงสิทธิสวัสดิการต้องเป็นไปอย่างเพียงพอในการทำหน้าที่เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ อันเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการทำหน้าที่ไม่ให้มีการรับผลประโยชน์อันส่งผลต่อความสุจริต ดังเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ตุลาการ เจ้าหน้าที่อัยการ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
2. ขอให้รัฐบาลได้สั่งการให้ตรวจสอบการเสียชีวิตของ พ.ต.ท.จันทร์ ให้ได้ความจริงในทุกมิติอันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการเสียชีวิต และเหตุแห่งการเสียชีวิต และนำมาเปิดเผยเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตความศรัทธาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการสอบสวน เพื่อหยุดยั้งกระแสข่าวต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
3. ขอให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการสอบสวนในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาระหว่างหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ระหว่างพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มีอำนาจการสอบสวนความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา เพราะส่งผลกระทบกับการทำหน้าที่ให้กับประชาชน ในประเด็นกรณีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดําเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นระเบียบที่ รมว.มหาดไทย ได้ออกระเบียบในการดำเนินคดีอาญา กับคำสั่ง ตร. ที่ 419/2556 เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา โดยให้เป็นที่ยุติอย่างชัดเจน
และ 4. ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมในการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาสำคัญส่งผลด้านความเชื่อมั่น ทั้งกับประชาชนรวมถึงยังกระทบกับปัญหาความมั่นคงของประเทศ ทั้งปัญหาด้านการเมือง ปัญหายาเสพติด ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ สาเหตุส่วนสำคัญมาจากระบบการสอบสวนที่ยังไม่สามารถดำเนินการกับผู้กระทำผิดมาลงโทษทางอาญาได้ทั้งกระบวนการ จึงขอให้รัฐบาลได้พิจารณาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างจริงจัง ให้เกิดความยุติธรรมอันจะส่งผลดีในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติต่อไปได้ ดังนั้น ส.ปอ.ท. จึงนำปัญหาด้านการสอบสวนกราบเรียนข้อมูลดังกล่าวมายังนายกฯเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและได้พิจารณาในการแก้ไขปัญหาอันอาจจะเป็นประโยชน์ในกระบวยการอำนวยความเป็นธรรมต่อไป
ทั้งนี้ นายบุญญฤทธิ์ เปิดเผยว่า ภายหลัง ส.ปอ.ท. ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง พ.ต.ท.จันทร์ เราได้ถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบ แต่เรายืนยันว่า เรามีสิทธิ์ที่จะแถลงการณ์ดังกล่าว
วันนี้ (16 ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย (ส.ปอ.ท.) ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจากคำสั่ง คสช. ที่ 6/2559 และ 7/2559
โดยหนังสือระบุว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีคำสั่งดังกล่าว ส่งผลให้เมื่อวันที่ 8 ก.พ. พ.ต.ท.จันทร์ ชัยสวัสดิ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล ในฐานะเลขาธิการสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม และต่อมาเมื่อวันที่ 12 ก.พ. ได้มีการพบ พ.ต.ท.จันทร์ เสียชีวิต ด้วยการแขวนคอตายที่บ้านพักเขตบางบอน กทม. กรณีดังกล่าว ส.ปอ.ท. ซึ่งได้เคยร่วมภารกิจกับสหพันธ์พนักงานสอบสวนแห่งชาติ โดยเฉพาะกับ พ.ต.ท.จันทร์ เห็นว่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนได้ทำหน้าที่ให้เกิดความเป็นธรรมให้มากที่สุดอันเป็นไปเพื่อการ “บำบัดทุกข์บำรุงสุข” ให้กับประชาชน ส.ปอ.ท. จึงมีข้อเสนอแนะมายังรัฐบาล ดังนี้
1. ขอให้พิจารณาข้อเรียกร้องของ พ.ต.ท.จันทร์ โดยเฉพาะข้อเรียกร้องที่ต้องการให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีต้องมีอิสระในการทำหน้าที่โดยไม่มีการแทรกแซงสั่งการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาอย่างเด็ดขาด รวมถึงเรื่องค่าตอบแทนตลอดถึงสิทธิสวัสดิการต้องเป็นไปอย่างเพียงพอในการทำหน้าที่เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้อย่างเพียงพอ อันเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการทำหน้าที่ไม่ให้มีการรับผลประโยชน์อันส่งผลต่อความสุจริต ดังเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ตุลาการ เจ้าหน้าที่อัยการ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
2. ขอให้รัฐบาลได้สั่งการให้ตรวจสอบการเสียชีวิตของ พ.ต.ท.จันทร์ ให้ได้ความจริงในทุกมิติอันเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการเสียชีวิต และเหตุแห่งการเสียชีวิต และนำมาเปิดเผยเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตความศรัทธาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการสอบสวน เพื่อหยุดยั้งกระแสข่าวต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
3. ขอให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านกระบวนการสอบสวนในระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาระหว่างหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ระหว่างพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจที่มีอำนาจการสอบสวนความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา เพราะส่งผลกระทบกับการทำหน้าที่ให้กับประชาชน ในประเด็นกรณีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดําเนินคดีอาญา พ.ศ. 2523 ซึ่งเป็นระเบียบที่ รมว.มหาดไทย ได้ออกระเบียบในการดำเนินคดีอาญา กับคำสั่ง ตร. ที่ 419/2556 เรื่องการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา โดยให้เป็นที่ยุติอย่างชัดเจน
และ 4. ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมในการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาสำคัญส่งผลด้านความเชื่อมั่น ทั้งกับประชาชนรวมถึงยังกระทบกับปัญหาความมั่นคงของประเทศ ทั้งปัญหาด้านการเมือง ปัญหายาเสพติด ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ สาเหตุส่วนสำคัญมาจากระบบการสอบสวนที่ยังไม่สามารถดำเนินการกับผู้กระทำผิดมาลงโทษทางอาญาได้ทั้งกระบวนการ จึงขอให้รัฐบาลได้พิจารณาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาระบบกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างจริงจัง ให้เกิดความยุติธรรมอันจะส่งผลดีในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติต่อไปได้ ดังนั้น ส.ปอ.ท. จึงนำปัญหาด้านการสอบสวนกราบเรียนข้อมูลดังกล่าวมายังนายกฯเพื่อเป็นข้อเสนอแนะและได้พิจารณาในการแก้ไขปัญหาอันอาจจะเป็นประโยชน์ในกระบวยการอำนวยความเป็นธรรมต่อไป
ทั้งนี้ นายบุญญฤทธิ์ เปิดเผยว่า ภายหลัง ส.ปอ.ท. ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง พ.ต.ท.จันทร์ เราได้ถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบ แต่เรายืนยันว่า เรามีสิทธิ์ที่จะแถลงการณ์ดังกล่าว