อธิบดีกรมควบคุมโรคจี้ทุกภาคส่วนช่วยกันควบคุมยุงลาย หากไม่ทำอะไรปีนี้จะมีคนป่วย 1.6 แสนราย เผยลงนามร่วม 7 กระทรวงทำงานจริงจัง วอนประชาชนร่วม 3 เก็บ ชูแอปมือถือ “พิชิตลูกน้ำยุงลาย” ใครแจ้งข้อมูลมากสุดมีรางวัลให้ ให้ผู้ว่าฯ รณรงค์ 6 ร.
วันนี้ (9 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาในเรื่องของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคสำคัญ 3 โรค 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยในส่วนของโรคไข้เลือดออกนั้น ในปีนี้หากไม่ทำอะไรกันอย่างจริงจัง คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยถึง 1.6 แสนราย จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันในการควบคุมยุงลาย โดยในส่วนของภาครัฐมีการลงนามบันทึกความร่วมมือว่าจะทำงานร่วมกันอย่างจริงจังระหว่าง 7 กระทรวง และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังคาดหวังว่าจะได้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ตามแนวคิดประชารัฐ ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค.- เม.ย.จะเป็นช่วงของการรณรงค์ และควบคุม โดยขอให้ประชาชนร่วมกันป้องกันไม่ให้มีการเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่ม ด้วยมาตรการ 3 เก็บ ประกอบด้วย (1. เก็บน้ำ โดยการปิดฝาภาชนะใส่น้ำมิดชิด (2. เก็บบ้าน ให้มีความโปร่งโล่ง และ (3. เก็บขยะ โดยเฉพาะขยะเปียกที่เกิดจากน้ำท่วม
อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “พิชิตลูกน้ำ-ยุงลาย” ที่เบื้องต้นสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์สามารถดาวน์โหลดได้แล้ว โดยให้ประชาชนแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่พันธุ์ยังลายซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะส่งมายังกรมควบคุมโรค และในรอบ 1 เดือน ผู้ที่แจ้งข้อมูลเข้ามามากที่สุดจะมีการพิจารณามอบรางวัลให้ด้วย ขณะเดียวกัน ในส่วนของจังหวัดต่างให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการรณรงค์ป้องปราม โดยกำหนดมาตรการ 6 ร. ที่ต้องดูแลให้สะอาด เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ คือ 1. โรงเรียน 2. โรงงาน 3. โรงพยาบาล 4. โรงธรรม หรือวัด 5. โรงแรม และ 6. โรงเรือน
วันนี้ (9 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 09.00 น. นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาในเรื่องของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคสำคัญ 3 โรค 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยในส่วนของโรคไข้เลือดออกนั้น ในปีนี้หากไม่ทำอะไรกันอย่างจริงจัง คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยถึง 1.6 แสนราย จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันในการควบคุมยุงลาย โดยในส่วนของภาครัฐมีการลงนามบันทึกความร่วมมือว่าจะทำงานร่วมกันอย่างจริงจังระหว่าง 7 กระทรวง และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังคาดหวังว่าจะได้ความร่วมมือจากภาคประชาชน ตามแนวคิดประชารัฐ ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ม.ค.- เม.ย.จะเป็นช่วงของการรณรงค์ และควบคุม โดยขอให้ประชาชนร่วมกันป้องกันไม่ให้มีการเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่ม ด้วยมาตรการ 3 เก็บ ประกอบด้วย (1. เก็บน้ำ โดยการปิดฝาภาชนะใส่น้ำมิดชิด (2. เก็บบ้าน ให้มีความโปร่งโล่ง และ (3. เก็บขยะ โดยเฉพาะขยะเปียกที่เกิดจากน้ำท่วม
อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า “พิชิตลูกน้ำ-ยุงลาย” ที่เบื้องต้นสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์สามารถดาวน์โหลดได้แล้ว โดยให้ประชาชนแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่พันธุ์ยังลายซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะส่งมายังกรมควบคุมโรค และในรอบ 1 เดือน ผู้ที่แจ้งข้อมูลเข้ามามากที่สุดจะมีการพิจารณามอบรางวัลให้ด้วย ขณะเดียวกัน ในส่วนของจังหวัดต่างให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการรณรงค์ป้องปราม โดยกำหนดมาตรการ 6 ร. ที่ต้องดูแลให้สะอาด เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ คือ 1. โรงเรียน 2. โรงงาน 3. โรงพยาบาล 4. โรงธรรม หรือวัด 5. โรงแรม และ 6. โรงเรือน