เครือข่ายภาคประชาสังคมการพัฒนาที่ยั่งยืน ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พร้อมรายชื่อ 109 องค์กร เรียกร้องยกเลิกคำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่ให้เว้นกฏหมายผังเมืองและอาคาร ชี้ส่อเอื้อนายทุนจัดการพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยละเลยการพัฒนาที่เหมาะสมต่อชุมชน จ่อเกิดชนวนขัดแย้งทั่วประเทศ ลำพังแค่กฏหมายที่มียังบังคับใช้รักษาสิ่งแวดล้อมได้ลำบาก หากละเว้นยิ่งหายนะ และเหลื่อมล้ำสูง ขู่ 23 ก.พ.ยังเงียบ จะขนชาวบ้านมาแน่
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายสมนึก จงมีวศิน ผู้แทนเครือข่ายและกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมการพัฒนาที่ยั่งยืน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายปิยะ พงศ์ไทยเสรีกุล นิติกรปฏิบัติการประจำศูนย์บริการประชาชน โดยมีการลงนามจาก 109 องค์กรทั่วประเทศ ขอให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 ที่ให้ยกเว้นการใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายการควบคุมอาคาร และคำสั่งที่ 4 /2559 ที่ยกเว้นการใช้กฎกระทรวงผังเมือง รวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท
โดย นายสมนึก กล่าวว่า คำสั่งทั้ง 2 ฉบับ มีผลเป็นการยกเลิกหลักประกันการคุ้มครองสิทธิ์ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพราะผังเมืองของแต่ละจังหวัดเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนในการบริหารจัดการในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรองการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชน การดำเนินการแบบนี้จะไม่นำไปสู่การปฏิรูปดังที่รัฐบาลกล่าวอ้าง แต่จะกลายเป็นชนวนก่อให้เกิดความขัดแย้งไปทั่วประเทศ ขนาดตอนนี้เรามีกฎหมายผังเมืองบังคับใช้ยังรักษาสิ่งแวดล้อมได้ลำบาก หากมีการยกเว้นกฎหมายก็เท่ากับเป็นหายนะของสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งสูงขึ้นระหว่างนายทุนและชาวบ้านในพื้นที่ด้วย ขอให้ดำเนินการตามคำขอทันที และจะมาติดตามผลในวันที่ 23 ก.พ. หากไม่มีท่าทีที่ชัดเจนจาก นายกฯ ก็จะชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล เพราะชาวบ้านจะถอยไม่ได้อีกแล้ว
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล นายสมนึก จงมีวศิน ผู้แทนเครือข่ายและกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมการพัฒนาที่ยั่งยืน ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านนายปิยะ พงศ์ไทยเสรีกุล นิติกรปฏิบัติการประจำศูนย์บริการประชาชน โดยมีการลงนามจาก 109 องค์กรทั่วประเทศ ขอให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3 ที่ให้ยกเว้นการใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายการควบคุมอาคาร และคำสั่งที่ 4 /2559 ที่ยกเว้นการใช้กฎกระทรวงผังเมือง รวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท
โดย นายสมนึก กล่าวว่า คำสั่งทั้ง 2 ฉบับ มีผลเป็นการยกเลิกหลักประกันการคุ้มครองสิทธิ์ด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพราะผังเมืองของแต่ละจังหวัดเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นการเอื้อประโยชน์กับกลุ่มทุนในการบริหารจัดการในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรองการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชน การดำเนินการแบบนี้จะไม่นำไปสู่การปฏิรูปดังที่รัฐบาลกล่าวอ้าง แต่จะกลายเป็นชนวนก่อให้เกิดความขัดแย้งไปทั่วประเทศ ขนาดตอนนี้เรามีกฎหมายผังเมืองบังคับใช้ยังรักษาสิ่งแวดล้อมได้ลำบาก หากมีการยกเว้นกฎหมายก็เท่ากับเป็นหายนะของสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งสูงขึ้นระหว่างนายทุนและชาวบ้านในพื้นที่ด้วย ขอให้ดำเนินการตามคำขอทันที และจะมาติดตามผลในวันที่ 23 ก.พ. หากไม่มีท่าทีที่ชัดเจนจาก นายกฯ ก็จะชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล เพราะชาวบ้านจะถอยไม่ได้อีกแล้ว