เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และองค์กรภาคประชาชน 109 องค์กร ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน เรียกร้องให้ คสช.และรัฐบาลยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และคำสั่งที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท
นายสมนึก จงมีวศิน ตัวแทนเครือข่ายฯ อ่านแถลงการณ์ว่า เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการเปิดทางให้มีการบริหารจัดการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อให้เกิดการจัดการพื้นที่โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรอง การพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชนอันเป็นการทำลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และเห็นว่ากระบวนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล กลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนายทุนได้รับสิทธิพิเศษด้านต่าง ๆ มาก อีกทั้งยังมีคำสั่งพิเศษเปิดทางให้กลุ่มทุ่มมีการประกอบกิจการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทย
นายสมนึก กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากฎหมายผังเมืองได้ทำหน้าที่ให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเขตการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามลักษณะภูมิประเทศในแต่ละจังหวัด คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุดและเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับประเทศในปัจจุบัน สอดคล้องกับการพัฒนาของโลก แต่ขณะนี้ไทยกำลังล้าหลังด้วยการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองทั่วประเทศในกิจการโรงงานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ซึ่งเห็นว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมา จะมีการใช้อำนาจอิทธิพลเพิ่มขึ้น และมีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตและไม่บรรลุประโยชน์ในการปฏิรูป หรือส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์ของประชาชน จึงเห็นควรให้มีการยกเลิกคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ เพื่อคลี่คลายวิกฤตโดยเร่งด่วน
นายสมนึก จงมีวศิน ตัวแทนเครือข่ายฯ อ่านแถลงการณ์ว่า เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการเปิดทางให้มีการบริหารจัดการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อให้เกิดการจัดการพื้นที่โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรอง การพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชนอันเป็นการทำลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และเห็นว่ากระบวนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล กลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนายทุนได้รับสิทธิพิเศษด้านต่าง ๆ มาก อีกทั้งยังมีคำสั่งพิเศษเปิดทางให้กลุ่มทุ่มมีการประกอบกิจการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทย
นายสมนึก กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากฎหมายผังเมืองได้ทำหน้าที่ให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเขตการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามลักษณะภูมิประเทศในแต่ละจังหวัด คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุดและเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับประเทศในปัจจุบัน สอดคล้องกับการพัฒนาของโลก แต่ขณะนี้ไทยกำลังล้าหลังด้วยการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองทั่วประเทศในกิจการโรงงานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ซึ่งเห็นว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมา จะมีการใช้อำนาจอิทธิพลเพิ่มขึ้น และมีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตและไม่บรรลุประโยชน์ในการปฏิรูป หรือส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์ของประชาชน จึงเห็นควรให้มีการยกเลิกคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ เพื่อคลี่คลายวิกฤตโดยเร่งด่วน