“ปกรณ์” ระบุ ร่าง รธน. ใหม่ไม่ได้ห้ามทำโครงการประชานิยม แต่ต้องทำโครงการแบบยั่งยืน ส่วนนโยบายหาเสียงทุกพรรคต้องแจ้งต่อ กกต. ก่อน ยันยกร่าง รธน. เพื่อให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
นายปกรณ์ นิลพันธ์ เลขานุการกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) บรรยายพิเศษเรื่อง “สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ตอนหนึ่งว่า กฎหมายวินัยการเงินการคลังมีกำหนดไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ไม่เกิดขึ้นเสียที หลายรัฐบาลมีการเสนอร่างฯ แต่มีเหตุยุบสภาต้องตกไปทุกครั้ง รัฐบาลปัจจุบันก็พยายามเสนอร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้ แต่เนื่องจาก กรธ. กำหนดเสนอเรื่องนี้ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจึงชะลอการเสนอไว้ก่อน เพื่อป้องกันความไม่สอดคล้องกัน หลักเกณฑ์ที่วางไว้ไม่ใช่ห้ามทำโครงการประชานิยม เพราะทุกโครงการอยู่บนพื้นฐานที่หวังจะได้รับความนิยมจากประชาชน แต่โครงการเหล่านั้นต้องมีเหตุผลและยั่งยืน ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเพียงเพื่อหาคะแนนเสียงเท่านั้น
สาระสำคัญใน พ.ร.ป. ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งว่า จะมีการกำหนดว่าพรรคการเมืองจะต้องประกาศนโยบายการหาเสียงที่เป็นนโยบายหลักต่อ กกต. และ ให้ กกต. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมคำชี้แจงว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินนโยบายที่ว่าอย่างไร มีแหล่งที่มาของรายได้มาจากไหน ผลดีผลเสียเป็นอย่างไร โดยที่ประชาชนจะได้วินิจฉัยว่าเป็นไปได้หรือไม่กับฐานะการเงินการคลังของประเทศในขณะนั้น และดูว่านโยบายได้จับต้องได้เป็นประโยชน์หรือข้อเสียหรือไม่อย่างไร
นายปกรณ์ กล่าวว่า ในส่วนของรัฐธรรมนูญร่างแรกขอให้ตัดสินบนเหตุผลของตนเอง เพราะที่ผ่านมามีการเผยแพร่ทางสื่อ ทางโซเชี่ยลมีเดียโจมตีรายละเอียดต่าง ๆ ของร่างรัฐธรรมนูญทั้งที่ยังร่างไม่เสร็จ ทำให้หลายคนใน กรธ. นั่งขำว่าเรือยังไม่เสร็จเลย แค่ขึ้นโครงเท่านั้นก็โดนตำหนิแล้ว เพราะร่างสุดท้ายยังไม่อยู่ในเตาเลยก็วิจารณ์ต่าง ๆ นานาแล้ว แต่บัดนี้มีร่างแล้วสามารถวิจารณ์ได้ เราตั้งธงเบื้องต้นแค่ว่ารัฐธรรมนูญควรจะสั้น เข้าใจง่าย แต่ทำไปทำมา 270 มาตรานับว่าไม่น้อย เพราะมีคนเสนอให้เติมเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ จึงเป็นที่มาของความยาว ทุกฝ่ายบอกว่าต้องการสิ่งที่เป็นสากล เราก็นำมาประยุกต์เท่าที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในปี 40 ปี 50 เคยเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญทุกประเทศมารวมกัน แต่ผลลัพธ์คือใช้บังคับกับคนไทยไม่ได้ เพราะคนไทยมีวิธีคิดของตนเอง การร่างครั้งนี้จึงต้องใช้สมองมาก เพราะต้องทำให้สากลที่สุดเป็นที่ยอมรับในโลก โดยไปลอกมาเลยไม่ได้ได้แต่นำมาในเชิงเปรียบเทียบ
นายปกรณ์ กล่าวด้วยว่า กรธ. ยังต้องทำตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ไม่ได้คิดเอาเอง ซึ่งกำหนดให้ต้องมีกลไกป้องกันการคอร์รัปชัน และควบคุมการให้อำนาจรัฐให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพกับประชาชน และไม่ให้คนที่ทุจริตและโกงเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่งอย่างเด็ดขาด รวมทั้งทำให้พรรคการเมือง นักการเมืองมีความเป็นอิสระปราศจาการครอบงำและชี้นำจากบุคคลหรือคณะบุคคล การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหลักจริยธรรม คุณธรรมทุกระดับ ให้สังคมเกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน เป็นต้น
“กรธ. พยายามทำให้ร่าง รธน. นี้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เราเอาหลักความโปร่งใส หลักกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้เกิดสิทธิ์แก่ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ กรธ. ไม่ค่อยมีโอกาสออกมาพูดข้างนอกมากนัก”
นายปกรณ์ นิลพันธ์ เลขานุการกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) บรรยายพิเศษเรื่อง “สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ตอนหนึ่งว่า กฎหมายวินัยการเงินการคลังมีกำหนดไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ไม่เกิดขึ้นเสียที หลายรัฐบาลมีการเสนอร่างฯ แต่มีเหตุยุบสภาต้องตกไปทุกครั้ง รัฐบาลปัจจุบันก็พยายามเสนอร่าง พ.ร.ป.ฉบับนี้ แต่เนื่องจาก กรธ. กำหนดเสนอเรื่องนี้ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาลจึงชะลอการเสนอไว้ก่อน เพื่อป้องกันความไม่สอดคล้องกัน หลักเกณฑ์ที่วางไว้ไม่ใช่ห้ามทำโครงการประชานิยม เพราะทุกโครงการอยู่บนพื้นฐานที่หวังจะได้รับความนิยมจากประชาชน แต่โครงการเหล่านั้นต้องมีเหตุผลและยั่งยืน ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเพียงเพื่อหาคะแนนเสียงเท่านั้น
สาระสำคัญใน พ.ร.ป. ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งว่า จะมีการกำหนดว่าพรรคการเมืองจะต้องประกาศนโยบายการหาเสียงที่เป็นนโยบายหลักต่อ กกต. และ ให้ กกต. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมคำชี้แจงว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินนโยบายที่ว่าอย่างไร มีแหล่งที่มาของรายได้มาจากไหน ผลดีผลเสียเป็นอย่างไร โดยที่ประชาชนจะได้วินิจฉัยว่าเป็นไปได้หรือไม่กับฐานะการเงินการคลังของประเทศในขณะนั้น และดูว่านโยบายได้จับต้องได้เป็นประโยชน์หรือข้อเสียหรือไม่อย่างไร
นายปกรณ์ กล่าวว่า ในส่วนของรัฐธรรมนูญร่างแรกขอให้ตัดสินบนเหตุผลของตนเอง เพราะที่ผ่านมามีการเผยแพร่ทางสื่อ ทางโซเชี่ยลมีเดียโจมตีรายละเอียดต่าง ๆ ของร่างรัฐธรรมนูญทั้งที่ยังร่างไม่เสร็จ ทำให้หลายคนใน กรธ. นั่งขำว่าเรือยังไม่เสร็จเลย แค่ขึ้นโครงเท่านั้นก็โดนตำหนิแล้ว เพราะร่างสุดท้ายยังไม่อยู่ในเตาเลยก็วิจารณ์ต่าง ๆ นานาแล้ว แต่บัดนี้มีร่างแล้วสามารถวิจารณ์ได้ เราตั้งธงเบื้องต้นแค่ว่ารัฐธรรมนูญควรจะสั้น เข้าใจง่าย แต่ทำไปทำมา 270 มาตรานับว่าไม่น้อย เพราะมีคนเสนอให้เติมเข้ามาเพิ่มเรื่อย ๆ จึงเป็นที่มาของความยาว ทุกฝ่ายบอกว่าต้องการสิ่งที่เป็นสากล เราก็นำมาประยุกต์เท่าที่เหมาะสมกับประเทศไทย ในปี 40 ปี 50 เคยเอาข้อดีของรัฐธรรมนูญทุกประเทศมารวมกัน แต่ผลลัพธ์คือใช้บังคับกับคนไทยไม่ได้ เพราะคนไทยมีวิธีคิดของตนเอง การร่างครั้งนี้จึงต้องใช้สมองมาก เพราะต้องทำให้สากลที่สุดเป็นที่ยอมรับในโลก โดยไปลอกมาเลยไม่ได้ได้แต่นำมาในเชิงเปรียบเทียบ
นายปกรณ์ กล่าวด้วยว่า กรธ. ยังต้องทำตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ไม่ได้คิดเอาเอง ซึ่งกำหนดให้ต้องมีกลไกป้องกันการคอร์รัปชัน และควบคุมการให้อำนาจรัฐให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพกับประชาชน และไม่ให้คนที่ทุจริตและโกงเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่งอย่างเด็ดขาด รวมทั้งทำให้พรรคการเมือง นักการเมืองมีความเป็นอิสระปราศจาการครอบงำและชี้นำจากบุคคลหรือคณะบุคคล การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหลักจริยธรรม คุณธรรมทุกระดับ ให้สังคมเกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน เป็นต้น
“กรธ. พยายามทำให้ร่าง รธน. นี้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เราเอาหลักความโปร่งใส หลักกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะทำให้เกิดสิทธิ์แก่ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ กรธ. ไม่ค่อยมีโอกาสออกมาพูดข้างนอกมากนัก”