มีคำถามว่า ทำไม เกษตรกรผู้ปลุกยางพาราในภาคเหนือและภาคอีสาน 42 จังหวัด จึงไม่มีการรวมตัวเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องราคายางเหมือนชาวสวนยางในภาคใต้ 14 จังหวัด
คำตอบนั้นมีอยู่หลายข้อ หนึ่ง เกษตรกรที่เป็นเกษตรกรตัวจริงในภาคเหนือและภาคอีสาน ไม่สามรถรวมตัวกันได้อย่างเข้มแข็งเหมือนชาวสวนยางภาคใต้ หากมีผู้คิดจะชุมนุมเรียกร้อง ก็เสี่ยงต่อการถูกเพ่งเล็งว่า เป็น “ เสื้อแดง” ที่มีเป้าหมายทางการเมือง
สอง ผู้ปลูกยางพาราในภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ปลูกกันคนละไม่กี่ไร่ และไม่ได้ปลูกยางอย่างเดียว แต่ยังทำนา ทำไร่ ทำสวน มีพืชผลอื่นๆ ไม่ได้ฝากชีวิตไว้กับยางอย่างเดียวเหมือนคนใต้
สาม คนอีสานและคนเหนือที่ลงทุนปลูกยางนั้น เป็นชาวสวนยางเกิดใหม่ ตามนโยบายปลูกยาง 1 ล้านไร่ ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เมื่อ พศ.2547-2549 ซึ่งราคายางอยุ่ในช่วงขาขึ้นจากกิโลกรัมละไม่ถึง 50 บาท ขึ้นเป็น 60 บาท 90 บาท จนทะลุร้อย แต่ต้นยางนั้นต้องใช้เวลา 7 ปี ถึงจะให้น้ำยาง ชาวสวนยางในภาคอีสานและภาคเหนือจึงไมได้รับอานิสงก์จากราคายางในตลาดโลกที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
พอถึงเวลาที่กรีดยางขายได้ ก็เป็นช่วงที่ราคายางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือกิโลละ 30 กว่าบาท ความหวังที่จะลืมตาอ้าปาก มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ จากต้นยาง ก็สูญสิ้นไป
ในขณะที่ชาวสวนยางในภาคใต้ พึ่งพารายได้จากสวนยางเพียงอย่างเดียว และเคยหยิบเงินแสน เงินล้าน ปลูกบ้านใหม่ ถอยรถป้ายแดง ในยุคที่ราคายางพุ่งทะลุร้อยเมื่อปี 2553-2554 มาแล้ว
เมื่อยุคทองของยางพารา สิ้นสุดลง และไม่รุ้ว่า จะหวนกลับมาอีกหรือไม่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ย่อมมีผลกระทบกับคนเคยรวยจากยาง กับ คนหวังรวยจากยางที่แตกต่างกัน ชาวสวนยางภาคใต้ที่เคยได้รับผลตอบแทนจากราคายางที่ดีในช่วง สามสี่ปีก่อน รู้สึกสูญเสีย ในขณะที่ ชาวสวนยางในภาคอีสาน ภาคเหนือรู้สึกแค่ว่า ไม่สมหวัง
ราคายางซึ่งลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2554 จากราคาสูงสุด 174 บาทต่อกิโลกรัม เหลือเพียง 30 กว่าบาทในปัจจุบัน มีสาเหตุหลักๆ คือ
ซัพพลายที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไทยซึ่งเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ส่งออกยางมากที่สุดในโลก เคยผลิตยางได้ประมาณ 1.. 5 ล้านตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกในภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ แต่ผลจากนโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกยางในภาคเหนือและภาคอีสาน 1 ล้านไร่ ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัต เมื่อ พ.ศ. 2547-2549 ประกอบกับราคายางที่สูง จึงมีผู้ลงทุนปลูกยางเกือบทั่วประเทศ ในปี 2556 ไทยผลิตยางได้ประมาณ 4. 1 ล้านตัน ต่อปี เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า โดยไม่มีการจัดโซนนิ่งและควบคุมปริมาณให้เหมาะสม
ในขณะที่จีน ซึ่งเป็นผู้ใช้ยางพารามากที่สุดในโลก เปลี่ยนบทบาทจากผู้ซื้อมาเป็นผู้ผลิตเอง จีนเริ่มปลูกยางเอง ทั้งในประเทศ และในเวียดนาม ลาว กัมพูชา ซึ่งยางที่ปลูกตอนนี้ให้น้ำยางได้แล้ว ขณะนี้จีนมียางอยู่ในสต็อคราวๆ 900,000 ตัน
ความต้องการที่ลดลง ภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในช่วง 2-3 ปีนี้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคยางอันดับ 1 ของโลก และเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโตในระดับสูงมาตลอด แต่เริ่มชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในช่วง 2-3 ปีนี้ ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางของโลกอยู่ในระดับต่ำ โดยในช่วงปี 2554-2556 ความต้องการใช้ยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.9 ในขณะที่ผลผลิตยางโลกขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.1
น้ำมันถูก ยางซึง่ใช้ในอุตสาหกรรม ทำจากยางพาราหรือยางสังเคราะห์ ที่ทำจากโพลิเมอร์ ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เมื่อใดที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โพลิเมอร์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน ก็จะมีราคาแพงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจึงหันมาใช้ยางพารา ทำให้ความต้องการยางพาราสูงขึ้น ราคายางพาราก็ปรับตัวสูงขึ้น ถ้าาคาน้ำมันปรับตัวลดลง โพลิเมอร์ก็จะมีราคาลดลงด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนมาใช้โพลิเมอร์แทน ทำให้ความต้องการยางพาราลดลง
สิ่งเหล่านี้คือ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับยางพารา เป็นความจริงใหม่ ที่ชาวสวนยางพารา โดยเฉพาะใน 14 จังหวัดภาคใต้ ต้องยอมรับและปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง