ผอ.สมาคมการค้ายาสูบ โวย “หมอประกิต” เอาแต่ชงขึ้นภาษีบุหรี่ทำรัฐขาดรายได้ ยกรายงานสรรพสามิตปี 57 ภาษีหดปีเดียว 6 พันล้าน จี้พูดความจริง อย่าเอาเรื่องรายได้รัฐมาบังหน้า แนะมองภาพรวมก่อนคิดปรับภาษี ห่วงผลักนักสูบหันหาของถูก ยาเส้น-บุหรี่หนีภาษี
นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่เรียกร้องให้มีการขึ้นภาษียาสูบเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐว่า สมาคมฯ ไม่เข้าใจว่าเหตุใดเอ็นจีโอต้านบุหรี่ จึงพุ่งเป้าโจมตีแต่บุหรี่ต่างชาติอย่างไม่สร้างสรรค์ แต่กลับไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่รายงานประจำปี 2557 ของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รายได้จากภาษียาสูบปี 2557 จัดเก็บได้ประมาณ 6.1 หมื่นล้านบาท ตกลงจากเดิมที่เก็บได้ประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาทในปี 2556 โดยสาเหตุนั้นหน่วยงานได้ระบุในรายงานฉบับเดียวกันว่า เกิดจากการที่ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคบุหรี่ยี่ห้อที่มีราคาถูกมากขึ้น สะท้อนว่าเมื่อใดที่รัฐขึ้นภาษียาสูบ คนก็เปลี่ยนไปบริโภคบุหรี่ที่เสียภาษีน้อยกว่า ในขณะที่คนสูบไม่ได้ลดลงมากนัก จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการสูบบุหรี่ของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาจากปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 23 มาถึงปี 2557 ที่ร้อยละ 20.7 คำถามคือแล้วรัฐได้อะไร ทั้งที่ภาษีที่ควรจะได้กลับไม่ได้ และคนสูบก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างการขึ้นภาษีในปี 2553 ที่ขึ้นไปถึง 5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากและเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของกลุ่มบุหรี่ราคาถูก ในขณะที่อัตราการบริโภคลดลงได้เพียงแค่ระยะหนึ่ง
“การหลับหูหลับตาออกมาเรียกร้องให้รัฐขึ้นภาษีอย่างเดียวนั้นไม่ใช่คำตอบ เพราะเมื่อคนหันมาหาของถูก และของเถื่อน ที่กระทบต่อการขายของที่ถูกกฎหมายของร้านค้าร้านโชวห่วย เม็ดเงินที่รัฐได้ก็น้อยลงตามไปอยู่แล้ว กลุ่มค้าปลีกยาสูบขนาดเล็กหวังว่ากระทรวงการคลังจะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบรอบด้านที่จะเกิดกับภาพใหญ่ของการขึ้นภาษียาสูบ และรับฟังความเห็นผู้ได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วนเสียก่อน”
นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวถึงกรณีที่ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่เรียกร้องให้มีการขึ้นภาษียาสูบเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐว่า สมาคมฯ ไม่เข้าใจว่าเหตุใดเอ็นจีโอต้านบุหรี่ จึงพุ่งเป้าโจมตีแต่บุหรี่ต่างชาติอย่างไม่สร้างสรรค์ แต่กลับไม่พูดถึงข้อเท็จจริงที่รายงานประจำปี 2557 ของกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รายได้จากภาษียาสูบปี 2557 จัดเก็บได้ประมาณ 6.1 หมื่นล้านบาท ตกลงจากเดิมที่เก็บได้ประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาทในปี 2556 โดยสาเหตุนั้นหน่วยงานได้ระบุในรายงานฉบับเดียวกันว่า เกิดจากการที่ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบริโภคบุหรี่ยี่ห้อที่มีราคาถูกมากขึ้น สะท้อนว่าเมื่อใดที่รัฐขึ้นภาษียาสูบ คนก็เปลี่ยนไปบริโภคบุหรี่ที่เสียภาษีน้อยกว่า ในขณะที่คนสูบไม่ได้ลดลงมากนัก จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติเรื่องการสูบบุหรี่ของคนไทยในช่วงที่ผ่านมาจากปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 23 มาถึงปี 2557 ที่ร้อยละ 20.7 คำถามคือแล้วรัฐได้อะไร ทั้งที่ภาษีที่ควรจะได้กลับไม่ได้ และคนสูบก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ยกตัวอย่างการขึ้นภาษีในปี 2553 ที่ขึ้นไปถึง 5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากและเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของกลุ่มบุหรี่ราคาถูก ในขณะที่อัตราการบริโภคลดลงได้เพียงแค่ระยะหนึ่ง
“การหลับหูหลับตาออกมาเรียกร้องให้รัฐขึ้นภาษีอย่างเดียวนั้นไม่ใช่คำตอบ เพราะเมื่อคนหันมาหาของถูก และของเถื่อน ที่กระทบต่อการขายของที่ถูกกฎหมายของร้านค้าร้านโชวห่วย เม็ดเงินที่รัฐได้ก็น้อยลงตามไปอยู่แล้ว กลุ่มค้าปลีกยาสูบขนาดเล็กหวังว่ากระทรวงการคลังจะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบรอบด้านที่จะเกิดกับภาพใหญ่ของการขึ้นภาษียาสูบ และรับฟังความเห็นผู้ได้รับผลกระทบในทุกภาคส่วนเสียก่อน”