"หมอประกิต" เสนอรัฐบาลรีดภาษีบุหรี่หารายได้เพิ่มได้อีกพันกว่าล้านบาท พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้านสาธารณสุข
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นปีละเกินหมื่นล้านบาททันที โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการครองชีพ และทำลายสุขภาพอย่างยาสูบ นอกจากจะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นทันทีปีละหลายพันล้านบาทแล้ว ยังเป็นมาตรการลดการสูบบุหรี่ที่ดีที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ฐานะยากจนจะสูบน้อยลง และจำนวนหนึ่งจะหยุดสูบ ทำให้สามารถนำเงินค่าสูบบุหรี่ไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็นอื่น สุขภาพก็ดีขึ้น รวมทั้งเยาวชนซึ่งมีกำลังซื้อน้อยจะเข้ามาติดบุหรี่น้อยลงด้วย ส่วนผู้สูบบุหรี่ที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงยังคงสูบต่อไป เพราะการขึ้นภาษีแต่ละครั้งทำให้ราคาบุหรี่แพงขึ้นเพียงซองละไม่กี่บาท แต่ก็สาเหตุที่ทำให้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ข้อดีอีกประการของการขึ้นภาษีบุหรี่คือ เมื่อคนสูบบุหรี่น้อยลง ก็จะช่วยลดภาระที่รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งล้วนเป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น ทั้งนี้ การขึ้นภาษียาสูบครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อ ส.ค.2555 มีผลทำให้รัฐเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละหกพันล้านบาทในสามปีที่ผ่านมา จากที่เก็บได้ 57,1963 ล้านบาทในปี 2554 เป็นเฉลี่ยปีละ 63,865 ล้านบาทสำหรับปี 2556 2557 และ 2558 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการขึ้นภาษีได้เพียงหกเดือน ก็ไม่ส่งผลต่อการลดการสูบบุหรี่ เพราะผู้สูบบุหรี่หันไปสูบบุหรี่ยี่ห้อที่ราคาถูกลง และบริษัทบุหรี่ผลิตบุหรี่ที่มีน้ำหนักต่อมวนน้อยลง เพื่อลดภาระภาษีที่เก็บตามน้ำหนัก ซึ่งที่ถูกแล้วรัฐบาลควรที่จะขึ้นภาษีอีกตั้งแต่ปี 2556 เพราะการทิ้งช่วงการขึ้นภาษีส่งผลเสียทั้งต่อรายได้รัฐบาลและสุขภาพของประชาชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การขึ้นภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นปีละเกินหมื่นล้านบาททันที โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการครองชีพ และทำลายสุขภาพอย่างยาสูบ นอกจากจะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นทันทีปีละหลายพันล้านบาทแล้ว ยังเป็นมาตรการลดการสูบบุหรี่ที่ดีที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ฐานะยากจนจะสูบน้อยลง และจำนวนหนึ่งจะหยุดสูบ ทำให้สามารถนำเงินค่าสูบบุหรี่ไปใช้จ่ายสิ่งจำเป็นอื่น สุขภาพก็ดีขึ้น รวมทั้งเยาวชนซึ่งมีกำลังซื้อน้อยจะเข้ามาติดบุหรี่น้อยลงด้วย ส่วนผู้สูบบุหรี่ที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงยังคงสูบต่อไป เพราะการขึ้นภาษีแต่ละครั้งทำให้ราคาบุหรี่แพงขึ้นเพียงซองละไม่กี่บาท แต่ก็สาเหตุที่ทำให้รัฐเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า ข้อดีอีกประการของการขึ้นภาษีบุหรี่คือ เมื่อคนสูบบุหรี่น้อยลง ก็จะช่วยลดภาระที่รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งล้วนเป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้น ทั้งนี้ การขึ้นภาษียาสูบครั้งสุดท้ายมีขึ้นเมื่อ ส.ค.2555 มีผลทำให้รัฐเก็บภาษียาสูบได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละหกพันล้านบาทในสามปีที่ผ่านมา จากที่เก็บได้ 57,1963 ล้านบาทในปี 2554 เป็นเฉลี่ยปีละ 63,865 ล้านบาทสำหรับปี 2556 2557 และ 2558 อย่างไรก็ตาม ภายหลังการขึ้นภาษีได้เพียงหกเดือน ก็ไม่ส่งผลต่อการลดการสูบบุหรี่ เพราะผู้สูบบุหรี่หันไปสูบบุหรี่ยี่ห้อที่ราคาถูกลง และบริษัทบุหรี่ผลิตบุหรี่ที่มีน้ำหนักต่อมวนน้อยลง เพื่อลดภาระภาษีที่เก็บตามน้ำหนัก ซึ่งที่ถูกแล้วรัฐบาลควรที่จะขึ้นภาษีอีกตั้งแต่ปี 2556 เพราะการทิ้งช่วงการขึ้นภาษีส่งผลเสียทั้งต่อรายได้รัฐบาลและสุขภาพของประชาชน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่