xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” เซ็นตั้งทีมพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ เน้นกลยุทธ์ ส่งออก-นําเข้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“พล.อ.ประยุทธ์” ลงนามตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ” นั่งประธาน พร้อม 11 รมต. ด้านเศรษฐกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรัฐ - ภาคเอกชน ดึง “สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย” ร่วม นั่งคราวละสองปี มีอำนาจกําหนดนโยบายและแนวทาง กําหนดเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อการส่งออก การนําเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จําเป็นในระยะสั้น - ยาว วางแผน ประสานงานการแสวงหาใช้ทรัพยากรทางการเงินจากแหล่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งติดตามเร่งรัดการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ (17 ก.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรให้มีการกําหนดนโยบาย แนวทาง และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ให้เป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าของประเทศอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. ๒๕๕๘”

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในระเบียบนี้

“การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ” หมายความว่า การพัฒนาหรือส่งเสริมให้มีการผลิตและการส่งออกสินค้าและธุรกิจบริการ และนําเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จําเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย รวมทั้งการรักษาและการหาตลาด การพิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ในทางการพาณิชย์ การบริหารการค้าระหว่างประเทศ การเจรจาและดําเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการค้าระหว่างประเทศ

ข้อ ๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ” เรียกโดยย่อว่า “พกค.” ประกอบด้วย
๑. นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
๒. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ
๓. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
๔. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นกรรมการ
๕. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
๖. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
๗. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรรมการและการสื่อสาร
๘. รัฐมนตรีวาการกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ
๙. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เป็นกรรมการและเทคโนโลยี
๑๐. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
๑๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
๑๒. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย
๑๓. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ
๑๔. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ เป็นกรรมการและสังคมแห่งชาติ
๑๕. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นกรรมการ
๑๖. ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ เป็นกรรมการ
๑๗. อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นกรรมการ
๑๘. อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการ
๑๙. ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบาย เป็นกรรมการและยุทธศาสตร์การค้า
๒๐. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
๒๑. ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นกรรมการ
๒๒. ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
๒๓. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
๒๔. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
๒๕. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประธานกรรมการแต่งตั้ง เป็นกรรมการจํานวนไม่เกินสามคน
๒๖. อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ
๒๗. รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการที่อธิบดีมอบหมาย

ข้อ ๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสองปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ และมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตําแหน่งที่ว่าง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตําแหน่งที่ว่างอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วเมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

ข้อ ๖ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ประธานกรรมการให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข้อ ๗ ให้ พกค. มีอํานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดนโยบายและแนวทางเพื่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
(๒) กําหนดเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อการส่งออก การนําเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จําเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระยะสั้นและระยะยาว
(๓) วางแผนและประสานงานการแสวงหาและการใช้ทรัพยากรทางการเงินจากแหล่งต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
(๔) บูรณาการแผนหรือแผนงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๕) กําหนดมาตรการ แนวทาง การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งการติดตามเร่งรัดการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางาน เพื่อปฏิบัติงานตามระเบียบนี้
(๗) เชิญบุคคลหรือผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือแสดงความคิดเห็นหรือขอให้ส่งข้อมูลหรือเอกสาร
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อ ๘ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมการลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ ๙ การประชุมของคณะอนุกรรมการให้นําข้อ ๘ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๐ ให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทําหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ พกค. และให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการ งานวิชาการ งานการประชุม และงานเลขานุการของ พกค.
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการตามมติ พกค.
(๓) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้าของประเทศเสนอต่อ พกค.
(๔) รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะวิธีการแก้ไขและป้องกันปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวต่อ พกค.
(๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่ พกค. มอบหมาย

ข้อ ๑๑ ให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตั้งงบประมาณประจําปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของ พกค.

ข้อ ๑๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี



กำลังโหลดความคิดเห็น