xs
xsm
sm
md
lg

ศาล ปค.สั่งเพิกถอนมติ ครม.รับรองขึ้นราคาโทลล์เวย์ 50 ปี-แต่ไม่ยกเลิกค่าบริการปัจจุบัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) ให้เพิกถอนมติผู้ถูกฟ้องที่ 4 (มติคณะรัฐมนตรี)
ศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนมติ ครม.ยุค “มาร์ค” รับรองออกประกาศขึ้นราคาอัตราค่าบริการโทลล์เวย์ ไม่ชอบตามข้อสัญญาสัมปทาน แต่ไม่ยกเลิกอัตราค่าบริการตามสัมปทาน ที่จะหมดอายุสัมปทาน ในอีกกว่า 50 ปีในวันที่ 12 ก.ย. 2577 พร้อมยกฟ้อง รมว.คมนาคม-กรมทางหลวง-บริษัท โทลล์เวย์

วันนี้ (19 ส.ค.) มีรายงานว่า สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลปกครองเผยแพร่คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) ในคดีหมายเลขดำ ที่ 2038/2552, 206/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 1951-1952/2558 ระหว่าง นายสมคิด หอมเนตร ที่ 1 กับพวกรวม 21 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (การออกประกาศขึ้นราคาอัตราค่าบริการทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงดินแดง-ดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน โดยไม่ชอบตามข้อสัญญาสัมปทาน)

โดยมีคำพิพากษาให้เพิกถอนมติผู้ถูกฟ้องที่ 4 (มติคณะรัฐมนตรี) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0504/4992 ลงวันที่ 20 เมษายน 2549 และมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/5638 ลงวันที่ 19 เมษายน 2550 เฉพาะส่วนที่ปรากฏ ภาคผนวก ข และภาคผนวก ค ของบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 ถนนวิภาวดีรังสิต ตอนดินแดง-ดอนเมือง ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2532 ฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 และยกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องที่ 1 (รมว.คมนาคม ) 2 (อธิบดีกรมทางหลวง) 3 บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) 5 กระทรวงคมนาคม และ 6 กรมทางหลวง

โดยคดีนี้ศาลให้รวมคำฟ้องของนายสมคิด หอมเนตร นักวิชาการอิสระ (ผู้ฟ้อง) ฟ้องนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อดีตอธิบดีกรมทางหลวง บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ดอนเมืองโทลล์เวย์ จำกัด ครม.ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ (ผู้ถูกร้องคดีที่ 1, 2, 3, 4) เนื่องจากในการขึ้นค่าทางด่วน ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และกรณีที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ร่วมกับสถาบันพัฒนา นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักศึกษาและประชาชนผู้เสียหายจากการขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์ ยื่นฟ้องอธิบดีกรมทางหลวง ปลัดกระทรวงคมนาคม รมว.คมนาคม และคณะรัฐมนตรีเช่นกัน

มีรายงานว่าการฟ้องขอให้ ยกเลิกมติ ครม.ยังขอให้บรรเทาทุกข์สัญญาสัมปทานเป็นเวลา 5 ปี เหตุไม่ได้บอกประชาชนล่วงหน้า 30 วัน ก่อนขึ้นค่าทางด่วน

โดยการแก้ไขสัญญาให้กับบริษัท ถือเป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2550 โดยขยายสัมปทานเพิ่มอีก 13 ปีสิ้นสุดปี 2577 และขยายฐานค่าผ่านทางช่วงดินแดง-ดอนเมือง จาก 20-100 บาท ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน 15-45 บาท

มีรายงานเพิ่มเติมว่า ในการปรับขึ้นค่าผ่านทางของดอนเมืองโทลล์เวย์ เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำไว้กับกรมทางหลวง ซึ่งเมื่อ 22 ธ.ค. 2550 ถึงวันที่ 21 ธ.ค. 2552 ได้มีการปรับขึ้น ภายหลังกระทรวงคมนาคม เจรจาให้ปรับลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย กระทั่งเดือน เม.ย. 2549 ปรับขึ้นเป็น 30 บาทตลอดสาย จนวันที่ 22 ธ.ค. 2550 ได้มีการปรับขึ้น โดยครั้งนั้นช่วงด่านดินแดง-ดอนเมือง รถยนต์สี่ล้อปรับขึ้นจากเดิม 20 บาท เป็น 35 บาท รถยนต์หกล้อขึ้นไปจากเดิม 50 บาท เป็น 65 บาท

ส่วนช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิต สำหรับรถยนต์สี่ล้อ ปรับขึ้นจาก 10 บาท เป็น 20 บาท รถยนต์หกล้อขึ้นไป ปรับขึ้นจาก 20 บาท เป็น 30 บาท ส่วนกรณีใช้ทางตลอดสายรถยนต์สี่ล้อจะเสียค่าผ่านทาง 55 บาทตลอดสาย รถยนต์หกล้อขึ้นไปอยู่ที่ 95 บาทตลอดสาย

ต่อมาวันที่ 22 ธ.ค. 2552 ถึง 21 ธ.ค. 2557 ได้มีการปรับขึ้นอีก โดยช่วงดินแดง-ดอนเมือง รถสี่ล้อ จาก 35 บาท เป็น 60 บาท รถมากกว่าสี่ล้อ จาก 65 บาท เป็น 90 บาท ช่วงดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน รถสี่ล้อ จาก 20 บาท เป็น 25 บาท รถมากกว่าสี่ล้อ จาก 30 บาท เป็น 35 บาท ถ้าใช้ตลอดสายรถสี่ล้อ เก็บ 85 บาท รถมากกว่าสี่ล้อ เก็บ 125 บาท กระทั่งล่าสุด เตรียมปรับขึ้นวันที่ 22 ธ.ค. 2557 ถึงวันที่ 21 ธ.ค. 2562 ซึ่งต่อไปจะมีการปรับขึ้นราคาทุกๆ 5 ปี จนกว่า จะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 12 ก.ย. 2577


เมื่อปี 2553 เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จับมือนักฎหมายสิทธิมนุยษชน ร้องศาลปกครองมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราว กรณีบริษัททางด่วนโทลล์เวย์ขึ้นค่าทางด่วน ส่งผลให้รัฐและปชช. เสียผลประโยชน์ พร้อมร้องขอให้เพิกถอนสัญญาอัปยศ และมติ ครม.บันทึกข้อตกลงปี 50 จำนวน 3 ฉบับ

กำลังโหลดความคิดเห็น