4 องค์กรสื่อยื่นข้อเสนอแนะร่างรัฐธรรมนูญ สปช. ให้แก้ท่อนท้ายมาตรา 49 เป็น เพิ่มความรับผิดชอบ ปรับคุ้มครอง “สวัสดิการ” เป็น “สวัสดิภาพ” เพื่อความกระชับครอบคลุมเจตนารมณ์ ไม่ให้ตีความจำกัดเสรีภาพสื่อเกินจำเป็น และให้ตัดท่อนสุดท้ายมาตรา 50 วรรค 2 เลิกให้ทำตามยุทธศาสตร์ หวั่น กสทช.ถูกการเมืองครอบงำ
วันนี้ (26 พ.ค.) นายภัทระ คำพิทักษ์ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และตัวแทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้ายื่นข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญต่อนายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
โดยเนื้อหาดังกล่าวระบุว่า สื่อทั้ง 4 องค์กรร่วมกันพิจารณาและเห็นว่าควรมีข้อเสนอเพื่อให้พิจารณาทบทวนเพื่อให้ปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มตั้งแต่มาตรา 49 “ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้แทนองค์การเอกชน และผู้บริโภค เพื่อปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนตามมาตรา 48 ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพ พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพตามาตรา 48 และคุ้มครองสวัสดิการของบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง” โดยเสนอให้แก้ไขท่อนท้ายเป็น “ส่งเสริมจริยธรรม มาตรฐาน และความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง”
สาระสำคัญของการแก้ไขเพื่อให้ข้อความสั้นมีความกระชับ แต่มีความหมายที่ครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของการยกร่างฯ เดิม โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการตีความหมายในขั้นตอนการออกกฎหมายลำดับรองไปในทิศทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมากเกินจนเกินหลักความจำเป็นและหลักการได้สัดส่วน และยังเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแทรกแซง หรือการครอบงำการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนภายหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วจึงไม่ควรกำหนดให้สื่อได้รับการ “คุ้มครองสวัสดิการ” ซึ่งเป็นการสร้างภาระหน้าที่ให้แก่รัฐในการต้องจัดให้มีสวัสดิการแก่ผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพสื่อขึ้นเป็น “พิเศษ” ที่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น อีกทั้งการเปลี่ยนจากคุ้มครอง “สวัสดิการ” เป็น “สวัสดิภาพ” เพราะเป็นคำที่มีความหมายต่อการทำหน้าที่สื่อมากกว่า โดยหมายถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นอกจากนี้ ในมาตรา 50 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “ให้มีองค์การของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งและกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมและกิจการสารสนเทศ โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น คำนึงถึงบุคคลด้อยโอกาส ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่นสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ทั้งนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ และตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ทั้ง 4 องค์กรยังเสนอให้ตัดท่อนสุดท้ายที่บัญญัติว่า “ทั้งนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ และตามที่กฎหมายบัญญัติ” เนื่องจากหากคงไว้อาจทำให้เกิดการตีความทำให้องค์กรรัฐองค์กรนี้ขาดความเป็นอิสระ เพราะกระบวนการจัดทำ “ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ” มักอยู่ภายใต้กลุ่มของผู้มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งหมายถึงกลุ่มอำนาจทางการเมือง และอาจถูกแทรกแซงจากกกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
วันนี้ (26 พ.ค.) นายภัทระ คำพิทักษ์ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และตัวแทนสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้ายื่นข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญต่อนายจุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
โดยเนื้อหาดังกล่าวระบุว่า สื่อทั้ง 4 องค์กรร่วมกันพิจารณาและเห็นว่าควรมีข้อเสนอเพื่อให้พิจารณาทบทวนเพื่อให้ปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญ เริ่มตั้งแต่มาตรา 49 “ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนซึ่งประกอบด้วยบุคคลในวิชาชีพสื่อมวลชนและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้แทนองค์การเอกชน และผู้บริโภค เพื่อปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนตามมาตรา 48 ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพ พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมของผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เสรีภาพตามาตรา 48 และคุ้มครองสวัสดิการของบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง” โดยเสนอให้แก้ไขท่อนท้ายเป็น “ส่งเสริมจริยธรรม มาตรฐาน และความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ และคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง”
สาระสำคัญของการแก้ไขเพื่อให้ข้อความสั้นมีความกระชับ แต่มีความหมายที่ครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของการยกร่างฯ เดิม โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการตีความหมายในขั้นตอนการออกกฎหมายลำดับรองไปในทิศทางที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อมากเกินจนเกินหลักความจำเป็นและหลักการได้สัดส่วน และยังเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแทรกแซง หรือการครอบงำการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนภายหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วจึงไม่ควรกำหนดให้สื่อได้รับการ “คุ้มครองสวัสดิการ” ซึ่งเป็นการสร้างภาระหน้าที่ให้แก่รัฐในการต้องจัดให้มีสวัสดิการแก่ผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพสื่อขึ้นเป็น “พิเศษ” ที่แตกต่างจากวิชาชีพอื่น อีกทั้งการเปลี่ยนจากคุ้มครอง “สวัสดิการ” เป็น “สวัสดิภาพ” เพราะเป็นคำที่มีความหมายต่อการทำหน้าที่สื่อมากกว่า โดยหมายถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นอกจากนี้ ในมาตรา 50 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “ให้มีองค์การของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่งและกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมและกิจการสารสนเทศ โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น คำนึงถึงบุคคลด้อยโอกาส ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนและชุมชนท้องถิ่นสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ ทั้งนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ และตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ทั้ง 4 องค์กรยังเสนอให้ตัดท่อนสุดท้ายที่บัญญัติว่า “ทั้งนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ และตามที่กฎหมายบัญญัติ” เนื่องจากหากคงไว้อาจทำให้เกิดการตีความทำให้องค์กรรัฐองค์กรนี้ขาดความเป็นอิสระ เพราะกระบวนการจัดทำ “ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของชาติ” มักอยู่ภายใต้กลุ่มของผู้มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งหมายถึงกลุ่มอำนาจทางการเมือง และอาจถูกแทรกแซงจากกกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ