xs
xsm
sm
md
lg

มีผลแล้ว! พ.ร.บ.การประมง ฉบับใหม่ “ประวิตร” ชง “กองทัพเรือ” บูรณาการ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


มีผลแล้ว! พ.ร.บ. การประมง ฉบับใหม่ “ประวิตร” สั่งกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ. ให้ กองทัพเรือ บูรณาการทุกหน่วยงานแก้ไข พร้อมสั่งการให้ กระทรวงเกษตรฯ จัดทำร่าง พ.ร.ก. ปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่อียูได้ท้วงติงมา ส่วน “พ.ร.บ. ค้ามนุษย์” เพิ่มอํานาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่

วันนี้ (28 เม.ย.) มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และ พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘

โดย เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปัจจุบันที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ

จึงเห็นควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยกําหนดให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์แจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกําหนดมาตรการเพิ่มอํานาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งปรับปรุงบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะมีการตั้ง คณะกรรมการ ปคม. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ปกค. เป็นรองประธานกรรมการ รมว.กลาโหม รมว.การต่างประเทศ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมว.มหาดไทย รมว.ยุติธรรม รมว.แรงงาน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 4 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ด้านการป้องกัน การปราบปราม การบําบัดฟื้นฟูและการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี ด้านละหนึ่งคน โดยต้องเป็นภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการ

ทั้งนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือพบการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในสถานประกอบกิจการโรงงาน หรือยานพาหนะตามมาตรา ๑๖/๑ หากเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการโรงงาน หรือยานพาหนะ ดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองมีอํานาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว
(๒) พักใช้ใบอนุญาตประกอบการสําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน
(๓) ห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราว
(๔) ดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําผิดเกิดขึ้นอีก

ทั้งนี้ การสั่งตาม (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่เกินครั้งละสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ ได้รับทราบคําสั่งในกรณีมีการออกคําสั่งใดๆ ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองแจ้งให้หน่วยงานซึ่งควบคุมสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะนั้นทราบ และให้หน่วยงานดังกล่าวถือปฏิบัติตามนั้น การพิจารณาปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว การพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ

สําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน การห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราวหรือการดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําผิดเกิดขึ้นอีก ตามวรรคหนึ่ง และการแจ้งให้หน่วยงานรับทราบตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

มาตรา ๑๖/๓ ให้แจ้งคําสั่งตามมาตรา ๑๖/๒ ต่อเจ้าของ ผู้ครอบครองหรือผู้ดําเนินกิจการ สถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะนั้นทราบเป็นหนังสือ ณ ภูมิลําเนาของผู้นั้น ภายในเจ็ดวันนับแต่วันออกคําสั่ง

ในกรณีที่ไม่มีผู้รับ ให้ปิดคําสั่งไว้ที่ภูมิลําเนาของผู้นั้นในที่เปิดเผย และให้ถือว่าเจ้าของ ผู้ครอบครองหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ ได้รับแจ้งคําสั่งนั้นแล้ว เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันปิดคําสั่ง

ในกรณีเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะไม่เห็นด้วยกับคําสั่งของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งจากคณะอนุกรรมการ

การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุ ุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๕ คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. มอบหมายก็ได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการตามมาตรา ๑๖/๒ให้นํามาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานโดยอนุโลม”

มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖/๑) ของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “(๖/๑) ค่าปรับตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นําไปใช้ได้โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑“มาตรา ๕๓/๑ ถ้าการกระทําผิดตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๓ วรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํา

(๑) รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่แปดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจําคุกตลอดชีวิต
(๒) ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตมาตรา ๕๓/๒ เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงานหรือยานพาหนะ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งตามมาตรา ๑๖/๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ส่วน พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มี เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการประมงได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำจํานวนจํากัด ในขณะที่เทคโนโลยีด้านการประมงได้พัฒนาไปอย่างมากและถูกนําไปใช้เป็นเครื่องมือทําการประมง อันส่งผลให้สัตว์น้ำลดจํานวนลงอย่างรวดเร็ว จึงสมควรปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมงของประเทศ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/034/1.PDF

ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ด้านการประมง และสภาพของสังคมในปัจจุบัน โดยกําหนดให้มีมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการ

การบํารุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ และการดําเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริม
ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสมดุล เพื่อให้สามารถนําทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และกําหนดมาตรการในการส่งเสริมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทําการประมงหรือจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานด้านสุขอนามัย มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งกําหนดมาตรการควบคุมและจัดระเบียบการใช้เรือประมงไทยในการทําการประมงทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทย

มีรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (28 เม.ย.) ได้มีการหารือเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ซึ่งประเทศไทยถูกสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศภาคทัณฑ์ โดย ครม. รับทราบว่า ขณะนี้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประมง พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วัน

“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานในที่ประชุม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพื่อให้ กองทัพเรือ เป็นหน่วยงานบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการแก้ไขเรื่องต่างๆตามมติของอนุกรรมการฯ และได้สั่งการให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆตามที่อียูได้ท้วงติงมาให้พร้อม เพื่อประกาศออกมาทันทีที่ พ.ร.บ.ประมงมีผลบังคับใช้”



กำลังโหลดความคิดเห็น