วานนี้ (28 เม.ย.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึง มติครม.ในส่วนโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปี 58 ว่า ครม.ได้มีมติอนุมัติตามกระทรวงการคลังเสนอ โดยเร่งรัดให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ดำเนินการให้ทันภายในฤดูเพาะปลูก หรือในเดือนพ.ค.นี้ โดยใช้งบประมาณ 476 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณของโครงการที่เหลือมาจากการดำเนินการในปี 57 จำนวน 208 ล้านบาท รวมกับงบประมาณที่ขออนุมัติเพิ่มเติมอีก 268 ล้านบาท
ทั้งนี้เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้ให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลไปก่อนที่จะเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริง ในปีงบประมาณถัดไป
สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปี มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการเพาะปลูกข้าวของเกษตร ซึ่งรัฐบาลอาจจะเยียวยาได้ไม่ครอบคลุม และใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงได้เชิญชวนให้เกษตรเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ต้องจ่ายไร่ละ 60–100 บาทต่อไร่ และรัฐบาลอุดหนุนเพิ่มเติม 64–384 บาทต่อไร่ ตามระดับพื้นที่รับประกันภัย 5 พื้นที่ คุ้มครองภัย 7 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเก็บ และไฟไหม้ รวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด โดยในปีน้ตั้งเป้าหมายให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่ เพิ่มจากปี 57 ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 8 แสนไร่เศษเท่านั้น
พล.ต.สรรเสริญ ยังกล่าวถึง การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ซึ่งประเทศไทยถูก สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศภาคทัณฑ์ ว่า ขณะนี้พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อให้ กองทัพเรือ เป็นหน่วยงานบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไข เรื่องต่างๆ ตามมติของอนุกรรมการฯ และได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำ ร่าง พ.ร.ก. เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่ อียูได้ท้วงติงมาให้พร้อม เพื่อประกาศออกมาทันที ที่พ.ร.บ.ประมง มีผลบังคับใช้
ทั้งนี้เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้ให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลไปก่อนที่จะเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริง ในปีงบประมาณถัดไป
สำหรับโครงการประกันภัยข้าวนาปี มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการเพาะปลูกข้าวของเกษตร ซึ่งรัฐบาลอาจจะเยียวยาได้ไม่ครอบคลุม และใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงได้เชิญชวนให้เกษตรเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายได้มากขึ้น
ทั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ต้องจ่ายไร่ละ 60–100 บาทต่อไร่ และรัฐบาลอุดหนุนเพิ่มเติม 64–384 บาทต่อไร่ ตามระดับพื้นที่รับประกันภัย 5 พื้นที่ คุ้มครองภัย 7 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเก็บ และไฟไหม้ รวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด โดยในปีน้ตั้งเป้าหมายให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่ เพิ่มจากปี 57 ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 8 แสนไร่เศษเท่านั้น
พล.ต.สรรเสริญ ยังกล่าวถึง การดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ซึ่งประเทศไทยถูก สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศภาคทัณฑ์ ว่า ขณะนี้พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมายได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อให้ กองทัพเรือ เป็นหน่วยงานบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ไข เรื่องต่างๆ ตามมติของอนุกรรมการฯ และได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ จัดทำ ร่าง พ.ร.ก. เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่ อียูได้ท้วงติงมาให้พร้อม เพื่อประกาศออกมาทันที ที่พ.ร.บ.ประมง มีผลบังคับใช้