“พล.ต.สรรเสริญ” เผยข้อตกลง คกก.ร่วมหารือปิโตรเลียม 21 เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ฝ่ายประชาชนขอเสนอรายชื่อ คณะทำงานเพิ่มจาก 6 คน เป็น 10 คน อ้างฝ่ายรัฐไม่รู้ล่วงหน้า ระบุจำเป็นต้องกลับไปทบทวนรายชื่อใหม่ ก่อนเสนอสปน. ส่วนข้อเสนอตั้ง 3 คณะอนุกรรมการซ้อนขึ้นมาอีก ยังไม่มีข้อสรุป เหตุคณะทำงานชุดหลักยังไม่ได้ตั้งอย่างเป็นทางการเลย
วันนี้ (9 มี.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงความคืบหน้าการหารือของคณะทำงาน 2 ฝ่าย ระหว่างภาคประชาชน และตัวแทนกระทรวงพลังงาน ในประเด็นการบริหารจัดการพลังงาน และการปรับแก้ไข หลักเกณฑ์หรือข้อกฎหมายเพื่อรองรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมนอกรอบ ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยทั้ง 2 ฝ่าย ยังคงมีความเห็นตรงกันในประเด็น การบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งเห็นควรมีการศึกษาทบทวนกฎหมายหลายฉบับประกอบด้วย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รวมไปถึงกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานและผลประโยชน์ทับซ้อน และการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ คือ การเสนอแนะข้อมูล การให้ข้อสังเกต รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าสำคัญ ในประเด็นต่างๆที่จะช่วยให้ การบริหารทรัพยากรมีความครอบคลุม รัดกุมยิ่งขึ้น ส่งมอบให้แก่ สนช. และสปช. ที่กำลังมีการพิจารณาเพื่อปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับพลังงาน
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ ตัวแทนฝ่ายผู้เห็นแย้ง ได้เสนอรายชื่อ คณะทำงานมาเพิ่มจากที่ได้เคยตกลงกันไว้ที่ 6 คนเป็น 10 คน โดยฝ่ายกระทรวงพลังงานมิได้ทราบล่วงหน้า จึงทำให้จำเป็นต้องกลับไปทบทวนรายชื่อ แล้วเสนอกลับมาให้สำนักปลัดประจำสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะทำงาน อย่างเป็นทางการเพื่อร่วมมือกันเดินหน้าทำงานต่อไป
ในส่วนข้อเสนอ จากฝ่ายผู้เห็นแย้ง ที่ต้องการให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการซ้อนขึ้นมาอีก 3 คณะ โดยมีองค์ประกอบฝ่ายละไม่เกิน 10 คนในแต่ละคณะนั้น ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ว่าจะมีการจัดตั้งหรือไม่ อย่างไรเพราะคณะทำงานชุดหลักยังไม่ได้ตั้งอย่างเป็นทางการเลย และกรอบการทำงานที่ตกลงกันไว้แต่เดิม การตั้งคณะทำงานร่วม คือการพยายามให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยหารือ หากเรื่องใดสามารถดำเนินการในระดับกระทรวง และเห็นพ้องต้องกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็สามารถดำเนินการได้เลย
ทั้งนี้ หากเรื่องใดเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องแก้กฎหมายหรือเกี่ยวพันกับหลายส่วน ก็เห็นควรมอบให้เป็นหน้าที่ของ สนช. สปช. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงดำเนินการต่อไป"ดังนั้นการมีคณะอนุกรรมขึ้นมาหลายชุด นอกจากจะทำให้เกิดความอุ้ยอ้ายในการทำงาน รวมทั้งเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับภารกิจขององค์กรที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากเทอะทะโดยไม่จำเป็น
วันนี้ (9 มี.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงความคืบหน้าการหารือของคณะทำงาน 2 ฝ่าย ระหว่างภาคประชาชน และตัวแทนกระทรวงพลังงาน ในประเด็นการบริหารจัดการพลังงาน และการปรับแก้ไข หลักเกณฑ์หรือข้อกฎหมายเพื่อรองรับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมนอกรอบ ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
โดยทั้ง 2 ฝ่าย ยังคงมีความเห็นตรงกันในประเด็น การบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ รวมทั้งเห็นควรมีการศึกษาทบทวนกฎหมายหลายฉบับประกอบด้วย พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รวมไปถึงกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานและผลประโยชน์ทับซ้อน และการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชุดนี้ คือ การเสนอแนะข้อมูล การให้ข้อสังเกต รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าสำคัญ ในประเด็นต่างๆที่จะช่วยให้ การบริหารทรัพยากรมีความครอบคลุม รัดกุมยิ่งขึ้น ส่งมอบให้แก่ สนช. และสปช. ที่กำลังมีการพิจารณาเพื่อปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับพลังงาน
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ ตัวแทนฝ่ายผู้เห็นแย้ง ได้เสนอรายชื่อ คณะทำงานมาเพิ่มจากที่ได้เคยตกลงกันไว้ที่ 6 คนเป็น 10 คน โดยฝ่ายกระทรวงพลังงานมิได้ทราบล่วงหน้า จึงทำให้จำเป็นต้องกลับไปทบทวนรายชื่อ แล้วเสนอกลับมาให้สำนักปลัดประจำสำนักนายกฯ แต่งตั้งคณะทำงาน อย่างเป็นทางการเพื่อร่วมมือกันเดินหน้าทำงานต่อไป
ในส่วนข้อเสนอ จากฝ่ายผู้เห็นแย้ง ที่ต้องการให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการซ้อนขึ้นมาอีก 3 คณะ โดยมีองค์ประกอบฝ่ายละไม่เกิน 10 คนในแต่ละคณะนั้น ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ว่าจะมีการจัดตั้งหรือไม่ อย่างไรเพราะคณะทำงานชุดหลักยังไม่ได้ตั้งอย่างเป็นทางการเลย และกรอบการทำงานที่ตกลงกันไว้แต่เดิม การตั้งคณะทำงานร่วม คือการพยายามให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยหารือ หากเรื่องใดสามารถดำเนินการในระดับกระทรวง และเห็นพ้องต้องกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็สามารถดำเนินการได้เลย
ทั้งนี้ หากเรื่องใดเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องแก้กฎหมายหรือเกี่ยวพันกับหลายส่วน ก็เห็นควรมอบให้เป็นหน้าที่ของ สนช. สปช. ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงดำเนินการต่อไป"ดังนั้นการมีคณะอนุกรรมขึ้นมาหลายชุด นอกจากจะทำให้เกิดความอุ้ยอ้ายในการทำงาน รวมทั้งเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับภารกิจขององค์กรที่มีอยู่เดิม ทำให้เกิดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากเทอะทะโดยไม่จำเป็น