ศาลปครองกลางยกฟ้องคดีสมาคมโลกร้อน-ชาวบ้านรอบสุวรรณภูมิ ฟ้อง ฝ่ายเกี่ยวข้องระงับขึ้นลงเครื่องบิน 5 ทุ่มถึงตี 5 ให้วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ เหตุชอบด้วย กม. ไม่ต้องฟังความเห็น ปชช. ตามที่ ครม.อนุมัติก่อนมี รธน.40 ส่วนปัญหามลพิษ การตรวจหน่วยต่างๆ ยังไม่มีปัญหาหนัก คงปรับปรุงได้ เมินระงับเวลาขึ้นลงเครื่องบิน
วันนี้ (19 ก.พ.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องอีกในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้านซึ่งมีที่พักอาศัย ผู้พักอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิรวม 545 คน ยื่นฟ้องบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-6 กรณีขอให้ระงับการบริการขึ้นลงของเครื่องบินทุกประเภทในเวลา 23.00-05.00 น.ของทุกวัน ให้มีกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินหรือการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ เนื่องจากรายงานฯฉบับวันที่ 10 มี.ค. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกาศให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และต้องกำหนดมาตรฐานควบคุม เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ โดยศาลปกครองกลางระบุว่า โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ 7 พ.ย. 2534 ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญปี 2540
มาตรา 56 วรรคสองที่กำหนดว่าโครงการขนาดใหญ่หรือกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะกระทำไม่ได้เว้นแต่จะมีประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนประกาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ฉบับลงวันที่ 24 ส.ค. 2535 ที่กำหนดให้สนามบินพาณิชย์ทุกขนาดต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนก่อนของอนุมัติต่อ ครม. และก่อนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 2539 โครงการพิพาทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่จำเป็นต้องนำไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแต่อย่างใด การจัดทำโครงการสนามบินสุวรรณภูมิจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนปัญหามลพิษด้านต่างๆ ทั้งเสียง อากาศ แหล่งน้ำ จากผลการตรวจวัดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่ายังไม่ถึงขั้นมีปัญหามลพิษหรือมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยังอยู่ในวิสัยที่จะปรับปรุงได้ จึงไม่ไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 59 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ที่จะให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ
ทั้งนี้ ที่ขอให้ศาลสั่งระงับการบินขึ้นลงของเครื่องบินในเวลา 23.00-05.00 น.ของทุกวันนั้น เห็นว่า การกำหนดห้ามบินในเวลากลางคืนอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนเป็นวงกว้างซึ่งมีผลเสียมากกว่าเมื่อเทียบกับการคุ้มครองสิทธิในการพักผ่อนของประชาชนโดยรอบสนามบินฯ และจากการตรวจวัดระดับเสียงตั้งแต่เดือน ก.ค. 2550 - มิ.ย. 2555 จำนวน 13 สถานีตรวจจัด มีเพียงสถานีตรวจวัดหมู่บ้านพนาสนธ์การ์เด้นโฮม 3 สถานีตรวจวัดสาวิตรีอพาร์ทเม้นท์ และสถานีตรวจวัดบริเวณใกล้มหาวิทยาลัยเกริก ที่ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินจากเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย และเฉพาะในบางช่วงของการวัดเท่านั้น กรมการบินพลเรือนได้ดำเนินการทางเทคนิคเพื่อแก้ไขแล้วจึงไม่ถึงขนาดที่จะต้องระงับการให้บริการขึ้นลงของเครื่องบินในเวลากลางคืนแต่อย่างใด
วันนี้ (19 ก.พ.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องอีกในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และชาวบ้านซึ่งมีที่พักอาศัย ผู้พักอาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิรวม 545 คน ยื่นฟ้องบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-6 กรณีขอให้ระงับการบริการขึ้นลงของเครื่องบินทุกประเภทในเวลา 23.00-05.00 น.ของทุกวัน ให้มีกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินหรือการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิใหม่ เนื่องจากรายงานฯฉบับวันที่ 10 มี.ค. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกาศให้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ และต้องกำหนดมาตรฐานควบคุม เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษ โดยศาลปกครองกลางระบุว่า โครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการไปแล้วตั้งแต่ 7 พ.ย. 2534 ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญปี 2540
มาตรา 56 วรรคสองที่กำหนดว่าโครงการขนาดใหญ่หรือกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะกระทำไม่ได้เว้นแต่จะมีประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนประกาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ฉบับลงวันที่ 24 ส.ค. 2535 ที่กำหนดให้สนามบินพาณิชย์ทุกขนาดต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนก่อนของอนุมัติต่อ ครม. และก่อนระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ 2539 โครงการพิพาทดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และไม่จำเป็นต้องนำไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแต่อย่างใด การจัดทำโครงการสนามบินสุวรรณภูมิจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนปัญหามลพิษด้านต่างๆ ทั้งเสียง อากาศ แหล่งน้ำ จากผลการตรวจวัดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพบว่ายังไม่ถึงขั้นมีปัญหามลพิษหรือมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยังอยู่ในวิสัยที่จะปรับปรุงได้ จึงไม่ไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 59 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ที่จะให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมประกาศให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ
ทั้งนี้ ที่ขอให้ศาลสั่งระงับการบินขึ้นลงของเครื่องบินในเวลา 23.00-05.00 น.ของทุกวันนั้น เห็นว่า การกำหนดห้ามบินในเวลากลางคืนอาจส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนเป็นวงกว้างซึ่งมีผลเสียมากกว่าเมื่อเทียบกับการคุ้มครองสิทธิในการพักผ่อนของประชาชนโดยรอบสนามบินฯ และจากการตรวจวัดระดับเสียงตั้งแต่เดือน ก.ค. 2550 - มิ.ย. 2555 จำนวน 13 สถานีตรวจจัด มีเพียงสถานีตรวจวัดหมู่บ้านพนาสนธ์การ์เด้นโฮม 3 สถานีตรวจวัดสาวิตรีอพาร์ทเม้นท์ และสถานีตรวจวัดบริเวณใกล้มหาวิทยาลัยเกริก ที่ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินจากเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย และเฉพาะในบางช่วงของการวัดเท่านั้น กรมการบินพลเรือนได้ดำเนินการทางเทคนิคเพื่อแก้ไขแล้วจึงไม่ถึงขนาดที่จะต้องระงับการให้บริการขึ้นลงของเครื่องบินในเวลากลางคืนแต่อย่างใด