เครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ยื่นเรื่อง “ประยุทธ์” ขอให้หนุนธุรกิจ ย้อนรัฐบรรจุ SMEs เป็นวาระแห่งชาติ จับตามา 6 เดือนก็ไม่คืบ ชี้ รบ.ก่อนทำดีกว่า อ้าง สสว.บอก “หม่อมอุ๋ย” ให้ยกเลิกส่งเสริม SMEs จี้นายกฯ ช่วย ก่อน SMEs จะถึงยุคตกต่ำที่สุด
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล (ชั่วคราว) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs นำโดยนายอานนท์ จุลขันธ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯเข้าร้องเรียนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอการสนับสนุนธุรกิจ SMEs จากหน่วยงานรัฐ โดยมีตัวแทนศูนย์บริการประชาชนเป็นตัวแทนรับเรื่อง ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลแถลงผลงานต่อรัฐสภาโดยบรรจุเรื่อง SMEs เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ ทางเครือข่ายฯยินดีและเฝ้ารอมาตราการความช่วยเหลือมากว่า 6 เดือน แต่ที่ผ่านมายังไม่มีมาตราการชัดเจนใดๆ ที่แสดงว่ารัฐบาลตอบสนองความต้องการของ SMEs ต่างจากสมัยรัฐบาลที่แล้วที่มีกิจกรรมและมาตรการส่งเสริม SMEs อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนและต่อเนื่องมาโดยตลอด
ทั้งนี้ นายอานน์อ้างว่า พวกเราได้พยายามติดต่อไปยังสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ได้คำตอบว่ารัฐบาลชุดนี้โดยความเห็นของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ให้ยกเลิกส่งเสริม SMEs ทุกรูปแบบและคงไว้แต่การทำยุทธศาสตร์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม พวกเรายังมีความเชื่อมั่นในตัวนายกฯว่ามีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือ SMEs ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่หากทีมงานของนายกฯ ตั้งแต่รองนายกฯ ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐอย่าง สสว.ไม่สามารถผลักดันและทำงานตามนโยบายได้ นายกฯ ควรพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายยิ่งกว่าปัจจุบันที่ถือเป็นยุคตกต่ำที่สุดของผู้ประกอบการ SMEs
วันนี้ (14 ม.ค.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล (ชั่วคราว) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs นำโดยนายอานนท์ จุลขันธ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯเข้าร้องเรียนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอการสนับสนุนธุรกิจ SMEs จากหน่วยงานรัฐ โดยมีตัวแทนศูนย์บริการประชาชนเป็นตัวแทนรับเรื่อง ทั้งนี้ ตามที่รัฐบาลแถลงผลงานต่อรัฐสภาโดยบรรจุเรื่อง SMEs เป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ ทางเครือข่ายฯยินดีและเฝ้ารอมาตราการความช่วยเหลือมากว่า 6 เดือน แต่ที่ผ่านมายังไม่มีมาตราการชัดเจนใดๆ ที่แสดงว่ารัฐบาลตอบสนองความต้องการของ SMEs ต่างจากสมัยรัฐบาลที่แล้วที่มีกิจกรรมและมาตรการส่งเสริม SMEs อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนและต่อเนื่องมาโดยตลอด
ทั้งนี้ นายอานน์อ้างว่า พวกเราได้พยายามติดต่อไปยังสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) ได้คำตอบว่ารัฐบาลชุดนี้โดยความเห็นของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ ให้ยกเลิกส่งเสริม SMEs ทุกรูปแบบและคงไว้แต่การทำยุทธศาสตร์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม พวกเรายังมีความเชื่อมั่นในตัวนายกฯว่ามีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือ SMEs ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่หากทีมงานของนายกฯ ตั้งแต่รองนายกฯ ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐอย่าง สสว.ไม่สามารถผลักดันและทำงานตามนโยบายได้ นายกฯ ควรพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่สถานการณ์จะเลวร้ายยิ่งกว่าปัจจุบันที่ถือเป็นยุคตกต่ำที่สุดของผู้ประกอบการ SMEs