xs
xsm
sm
md
lg

“ประยุทธ์” วอนพวกต้านเสนอไอเดียปฏิรูป ยันฟังทุกกลุ่มแต่อย่าต้านรัฐบาล-คสช.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นายกฯ วอนพวกต่อต้านรวมกลุ่มกันสรุปข้อคิดเห็นด้านปฏิรูปแล้วเสนอเข้ามา ยันรับฟังทุกกลุ่มเพียงแต่อย่าต่อต้าน “รัฐบาล-คสช.” เสนอไอเดียปฏิรูป เบรกอย่าทำเสียบรรยากาศ แจงจำเป็นต้องรื้อโครงการบริหารน้ำ หวังใช้งบประมาณลดลง โอดหาทางแก้ปัญหาข้าว-ยางพาราตลอด แต่ต้องใช้เวลา


วันนี้ (28 พ.ย.) เมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจว่า การทำงานในปัจจุบันนั้นตนอยากรับฟังความเห็นของทุกพวกทุกกลุ่มในเรื่องของการปฏิรูป ในเรื่องของการทำงานมีหลายท่านทั้งอดีตผู้นำรัฐบาล ทั้งในส่วนของนักวิชาการนักศึกษา ก็ออกมาพูดในทำนองว่าขอให้เรารับฟังความคิดเห็น ของคนในทุกระดับบ้างก็ทำอยู่แล้วนะ วันนี้รับฟังจนเยอะไปหมดเลย เพียงแต่ว่าขออย่าให้มีการต่อต้านการทำงานของรัฐบาล และของ คสช.เลย หากว่าท่านจะรวมกลุ่มกันแล้วก็สรุปผลการประชุมมาสรุปข้อคิดเห็นส่งมาที่เราได้ หรือส่งไปที่ กกต. ที่สภาปฏิรูปฯ ก็ได้ ตนรับทุกช่องทาง

วันนี้ก็มีหลายประการที่รับมาแล้ว แต่ถ้าไปพูดแล้วสร้างความขัดแย้ง มันเดินไปไม่ได้ เราไม่ได้กำจัดศัตรู แล้วก็ไม่ได้จะตัดสิทธิ์ของใคร สถานการณ์ในวันนี้พูดหลายครั้งแล้วว่าเราต้องเดินหน้าประเทศไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต วางพื้นฐานประเทศ เพราะเราจะถอยหลังกลับไปก่อน 22 พฤษภาคม 57 ไม่ได้ วันนี้เรามีแต่เดินหน้ากันอย่างเดียว ทุกคนต้องช่วยกัน เคารพซึ่งกันและกัน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ในเรื่องตรวจสอบการทุจริต ความโปร่งใสหรือการใช้จ่ายงบประมาณก็ไปว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง มันต้องพูดให้ครบตั้งแต่ตอนเริ่มต้น การควบคุม การใช้จ่าย การตรวจสอบการสุจริตอะไรต่างๆ เหล่านี้ไปว่ามา แต่ถ้าทั้งหมดมาพันกันในเวลาเดียว มันเดินไม่ได้ หาข้อยุติไม่ได้ ก็ขอความกรุณาด้วย

วันนี้มีคนเห็นต่างกันมากมาย เพราะงั้นต่างคนต่างทำบทบาทของตัวเองให้ดีที่สุดก็แล้วกัน คสช.ก็จะกำหนดบทบาทตัวเองชัดเจน รัฐบาลก็จะเกื้อกูลในการปฏิรูปให้ได้ โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด

นายกฯ กล่าวอีกว่า วันนี้การประชุม ครม.มีวาระปกติถึง 28 วาระด้วยกัน เร่งด่วนอีก 11 วาระ ซึ่งถกแถลงกันใช้เวลานานพอสมควร ประเด็นสำคัญก็คือการหารือกันในเรื่องการปฏิรูปว่าจะทำยังไง เราจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสมแล้วก็ทันเวลา แล้วก็อะไรที่สำคัญก่อน สำคัญหลัง วันนี่ก็ตกลงกันว่าถ้าเราจะมีการเลือกตั้งกันในระยะเวลาอันใกล้ จะต้องทำอะไรบ้าง ก็คือการสร้างกระบวนการในการเข้ามาสู่การบริหารราชการแผ่นดิน แล้วก็ในการบริหารราชการจะทำกันยังไง แล้วทำให้ข้าราชการฝ่ายบริหาร มีความสมดุลกันกับข้าราชการ ที่ต้องทำงานตามกรอบระเบียบของกฎหมายที่กำหนดไว้แล้วเดิม ว่าจะทำยังไง มันไม่เกิดความขัดแย้งกัน คือถ้าเราบอกว่าข้าราชการทำได้ ไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งฝ่ายบริหารมันก็ไม่ถูก มันต้องสมดุลกันทั้งคู่ รับฟังซึ่งกันและกัน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาว่ามีความขัดแย้ง แล้วก็มีการก้าวล่วงซึ่งกันและกัน

ในส่วนของกระบวนการบริหาร และนิติบัญญัติจะทำอย่างไรไม่ให้ทับซ้อน อีกเรื่องคือเรื่องของกระบวนการตุลาการจะทำอย่างไร อย่าใช้เครื่องมือเหล่านี้ซึ่งเป็นการ อำนาจ 3 อำนาจมาพันกันไปพันกันมาทำให้เกิดปัญหาในอนาคต

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำว่า ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลมีแผนงานบริหารจัดการน้ำมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ต่อเป็นภาพที่ครบวงจร วันนี้ตนให้แนวทางไปแล้วไปคิดมา ตั้งแต่สมัยที่เรามีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำใหม่แห่งชาติทั้งระบบ โดย คสช.วันนี้ให้เขานำมาเสนอซึ่งมีท่าน พล.อ.ฉัตรชัย เป็นหัวหน้า เขาทำมาตั้งแต่ คสช. วันนี้ทำมาให้ ครม.รับทราบ เราจะพูดถึงว่าต้นทุนน้ำนี่มาจากไหน ยังไง มีต้นทุนน้ำจากน้ำฝนใช่ไหม ปริมาณน้ำจากน้ำฝนนั่นแหละที่ล้นไปท่วม ในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมากๆ เราจะทำยังไง นี่คือน้ำต้นทุนต้องเก็บไว้ให้มากที่สุด เพราะงั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำอะไรก็แล้วแต่จะต้องชัดเจน ตั้งแต่พื้นที่ตอนเหนือ ตอนกลาง แล้วก็พื้นที่ท้ายน้ำนะครับจะขยายกันอย่างไร ทั้งเก็บน้ำ แล้วก็ระบายน้ำให้ได้ พร่องน้ำให้เร็ว เราเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ไม่ใช่ว่าพอน้ำมา ปล่อยไปทีเดียว พรืดเดียวก็หมดกลัวน้ำท่วมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องวางแผนให้มันทีเดียว ทั้งป้องกันภัยแล้ง และป้องกันน้ำท่วมด้วย เพราะปัญหาบ้านเรานั้นยังมีพื้นที่อีกมากมายที่มีปัญหาเรื่องการใช้น้ำนี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้เรามีพื้นที่การเกษตร ที่เราสามารถจัดส่งน้ำนี่ไปได้จำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง อีกจำนวนมากซึ่งเราส่งไม่ได้ ถ้าส่งไม่ได้ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชให้เหมาะกับสภาพดิน สภาพน้ำ หรือปริมาณน้ำที่มีอยู่ สภาพอากาศ ก็ต้องกำหนด โซนนิ่ง ในวันข้างหน้าด้วย

“ถ้าเราแก้ทั้งระบบนี่ เรื่องน้ำ เรื่องการโซนนิ่ง ไปด้วยกันจะแก้ได้ แต่วันนี้ผมบอกว่าไปกำหนดความเร่งด่วนมาซิว่า เราจะทำอันไหนก่อน อันไหนหลัง ตั้งแต่ต้นน้ำ เก็บกักน้ำ เส้นทางที่จะลำเลียงน้ำมาทำยังไง แล้วจะพร่องน้ำเหล่านี้ยังไง แล้วเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง อันนี้เป็นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่แล้ว ท่านทรงสั่งไว้นานแล้วล่ะ เรื่องแก้มลิงบ้าง เรื่องอ่างเก็บน้ำ อ่างพวง เรื่องเขื่อนอะไรต่างๆ ยังไม่เคยมีใครพูดถึงเลยนะ ที่ไปถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่มีใครคิดจะสร้างกันทั้งสิ้นเลยนะ เป็นโครงการเก่าๆ ก็อย่าไปล้วงแคะแกะเกากันออกมาอีก ถ้าทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำอย่างอื่น

วันนี้อาจจะทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป ถ้าต้องไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนเขาคงไม่ยอมตรงนี้ แต่ทำอย่างไรเขาจะได้มีน้ำไว้ใช้ เพราะงั้นประชาชนก็ต้องเข้าใจเราเหมือนกันว่าต้องหาทางออกว่าจะทำยังไง ทำเขื่อนไม่ได้ จะทำอ่างเก็บน้ำได้ไหม? แล้วจะช่วยกันดูแลยังไง ในอนาคตระยะยาว

ในส่วนของน้ำนี้เคยมีโครงการบริหารจัดการน้ำแล้วนะครับ ตัวเลขเดิมๆ ทราบอยู่แล้วผมไม่อยากจะเอ่ยจำนวนตัวเลข วันนี้เราไม่พูดถึงตัวเลขกัน จริงๆ แล้วก็ประมาณการไว้คร่าวๆ ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร อาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึง10 ปีถ้าจะทำครบนะ ใช้งบประมาณสูงมาก

แต่เราก็พยายามจะใช้งบประมาณประจำปี ปีนี้ ปี’58 บางส่วนเราบรรจุ ใช้งบประมาณปี ‘58 ดำเนินการ จะเริ่มดำเนินการได้เลย อันนี้เป็นเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นเอง น้อยมาก ในแผนงานจัดการภาพใหญ่นะครับ แต่อย่างน้อย ก็จะบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนไปได้ในระดับหนึ่งนะครับ ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาน้ำแล้ง การใช้อุปโภค บริโภค แหล่งน้ำประปา หรือไม่ก็เปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในระยะเวลาสั้น ถ้าทำนาปรังไม่ได้ วันนี้เราก็ทำนาปรังไม่ได้ตั้งเยอะ หลายพื้นที่ด้วนกันนะครับ ในส่วนนี้ก็คงต้องใช้งบประมาณประจำปี ถ้จะต้องไปหางบประมาณอื่นๆ มา ร่วมทุน หรือกู้เงินต่างๆ ไปว่ากันอีกทีนะครับ ก็ต้องพิจารณากันให้ละเอียดอีกครั้ง ว่าเราพร้อมจะรับสถานการณ์ในการกู้ต่างๆ หรือไม่ในอนาคต เรื่องหนี้สาธารณะด้วย”

นายกฯ กล่าวด้วยว่า เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ วันนี้ก็คิดเรื่องข้าว กับเรื่องยาง คิดกันทั้งวันทั้งคืน ก็บอกพี่น้องชาวนา ชาวสวนยางหน่อยว่า เราพยายามอย่างเต็มที่ ว่าทำยังไงให้ราคาไม่ตกลงไปมาก วันนี้ก็ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา

วันนี้ก็มีหลายคณะมาพบที่ทำเนียบรัฐบาล ก็เห็นเชิญไปคุยที่กระทรวงเกษตรแล้ว ว่าจะต้องใช้เวลาอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าจะใช้เงินมากๆ คงไม่ไหวแล้ว ตอนนี้ก็ช่วยไปเยอะแล้ว ก็คงต้องใช้เวลานิดหนึ่งในการที่จะสร้าง มาตรฐานราคา ให้สูงขึ้น ผมคิดว่าวันนี้ราคาได้อยู่ในเกณฑ์ที่ วันนี้อาจจะกำไรน้อยหน่อยนะ สำหรับชาวนาที่ลงทุนสูง ผมถึงบอกไปแล้วว่า การลงทุนนี้ ไปลดยังไงค่าลงทุนในการทำนา หรือการทำสวนยาง สวนยาง ลองไปคุยว่าการดูแลสวรยาง การพัฒนา หรือการให้ปุ๋ยจะทำยังไง ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้ไหม แล้ววันนี้ที่มีปัญหามากที่สุดคือเจ้าของสวนยางกับผู้กรีดยางรับจ้าง ทั้งสองส่วนนี้ จะต้องปรับอะไรกันหรือเปล่า แล้วจะต้องยองรับกันอย่างไร ถ้า 2 ส่วนนี้ต้องการเพิ่มทั้งคู่นี่ รัฐบาลก็ไปไม่ไหว ทุกประเทศเป็นหมดนะ วันนี้ได้เสนอมการประชุมร่วมกัน 4 ประเทศ มีไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่ในส่วนอาเซี่ยนด้วยกัน ในส่วนของจีน ญี่ปุ่น ผมได้ขอข้อมูลไปแล้วนะครับ ว่าจะทำอย่างไรที่จะยกระดับสินค้าการเกษตรเหล่านี้

ในส่วนของการที่จะแก้ไขกฎหมายนั้น เรียนว่าทั้งหมดที่ไล่กันในขณะนี้ ถ้าเรามองว่ากฎหมายที่เราต้องแก้ไขในหลายๆ ประเภทนะ ทั้งกฎหมายปกติ กฎหมายที่ออกยังไม่ได้คั่งค้างอยู่ กฎหมายที่เป็นสากล กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้าเหล่านี้ ทั้งหมด 300-400 ฉบับ แล้วมีบางอย่างต้องออกใหม่เพิ่มเติมด้วย เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องการศึกษา เรื่องการเข้าถึง เหล่านี้มากมาย ก็กลับมา ขณะนี้ได้ประมาณสัก 163 ฉบับ มั้ง ที่จะต้องออกให้ทันภายใน 1 ปี ที่มีการปฏิรูป

หัวหน้า คสช.กล่าวต่อว่า ในเรื่องของความเหลื่อมล้ำวันนี้ก็มีกฎหมายหลายฉบับที่เข้ามา ยกตัวอย่างง่ายๆ ตอนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็มีการเสนอตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นมา เคยกราบสำหรับคนที่มีรายได้น้อย หรือมีปัญหาเรื่องทางกฎหมาย เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม ก็จะตั้งกองทุนไว้ให้นะครับ ก็คงจะต้องจัดหาเม็ดเงินเข้าไปเติม ต้องดูงบประมาณว่าจะเอาเงินที่ไหนมาดี เอาใส่เข้าไปแล้วก็ไปเป็นการต่อสู้คดีความอะไรก็แล้วแต่ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ หลักการอนุมัติไปแล้ว เดี๋ยวคงต้องไปทำเรื่องกฎหมาย เรื่องงบประมาณต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำให้โดยเร็วนะครับ

ในเรื่องของการลงทุนทางด้านการค้า เราก็คิดกันว่า ถ้ารัฐจะต้องลงทุนต่อไปในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน เรื่องของการสื่อสาร การคมนาคม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ถ้ารัฐอย่างเดียวไม่ทันเวลา อาจจะต้องมีการตั้งกองทุน กองทุนเกี่ยวกับสื่อสาร เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งมีอยู่บ้างแล้ว ทีนี้ทำยังไงจะเพิ่มมากขึ้น ทำยังไง ประชาชนจะมีส่วนร่วม ผมว่าคนมีสตางค์ประเทศไทยก็เยอะนะ ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าตั้งกองทุนแบบนี้ขึ้นมา ก็ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทน ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงพอสมควร อาจจะสูงกว่าการไปกู้จากสถาบันการเงินอื่นๆ ก็ต้องไปทบทวนอีกที แต่ยังไงก็เริ่มแน่นอน มีอยู่บ้างแล้วแต่จำนวนไม่มากนัก อันนี้เป็นเรื่องของการลงทุน

ในส่วนของการส่งเสริมธุรกิจ วันนี้เราจำเป็นต้องส่งเสริมทั้งในส่วนของระดับชาติ ในระดับต่างประเทศด้วย แล้วก็ภายในประเทศด้วย ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เคยกราบเรียนไปแล้วในเรื่องของธุรกิจ SME ต้องให้ความสำคัญนะครับ เรามีถึงเป็นล้านๆ แห่ง เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลาง เราต้องส่งเสริมให้จากขนาดเล็กเป็นกลาง กลางเป็นขนาดใหญ่ขึ้น เราตั้งกองทุนแล้วขณะนี้ก็กำลังปรับแก้คณะกรรมการต่างๆ แล้วก็ปรับแก้กองทุนต่างๆ ว่าจะโยกงบไหนมาใส่ตรงนี้ได้บ้างไหม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็เป็นกองทุน ในการที่จะขยายธุรกิจต่างๆ ก็ขอความร่วมมือนะครับ พี่น้องที่ประกอบการธุรกิจร้านค้าขนาดเล็กนี่ หลายประเภทนะ 6-7 ประเภท การเกษตรก็มี ในเรื่องของการบริการก็มีนะครับ คงต้องไปหาช่องทางที่เข้าหากองทุนเหล่านี้ได้ วันนี้ก็มีสมาคมการค้า กับอุตสาหกรรมอยู่แล้วนะ ก็ลองไปติดต่อจากทางโน้นเข้ามานะครับ เรามีการประชุมร่วมกันของ กรอ.

พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวต่อว่า อยากขับเคลื่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้าเรามัวแก้ปัญหาในประเทศอย่างเดียวคงไม่ได้ ก็ต้องไปเดินต่างประเทศด้วย ในประเทศ ก็วันนี้ทุกคนในรัฐบาล ทุกรัฐมนตรี แต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายก็เดินหน้าอยู่แล้วนะ เพียงแต่บางครั้ง อาจจะสร้างการรับรู้ได้ไม่มากนัก เพราะอยู่ในขั้นตอนกระบวนการ ถ้าพูดไปทั้งหมดก็อันตราย พูดไปแล้วจะเป็นปัญหาอะไรหรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราก็จะค่อยๆ สร้างการรับรู้ไปให้กับพี่น้องประชาชนไปเรื่อยๆ

คำต่อคำ : รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557

“สวัสดีครับ วันนี้ก็ถือว่าเป็นอีกบรรยากาศหนึ่งนะครับ เป็นการพูดคุย เล่าสู่กันฟังแล้วกัน สบายๆ เพราะว่าเราก็ทำงานมาเยอะกันมาหลายวันแล้ว ในเรื่องของการประชุมบ้าง ในการพบปะกับหลายๆ หน่วยงาน ที่มีการจัดงานภายนอกบ้าง เดี๋ยวเกรงว่าฟังผมบ่อยๆ แล้วก็จะรำคาญเสียเปล่าๆ วันนี้ก็จะมาพูด เล่าให้ฟัง ใช้เวลาให้น้อยๆ เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง เพราะว่าเราพูดกันมานานแล้วว่าเราจะรักษาบรรยากาศในการปฏิรูป

ก่อนการประชุม ครม.ในวันนี้ ก็ได้มีการพบกับอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ ของกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของการป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ซึ่งเราได้รับคำชมเชย เป็นที่น่ายินดี จากผู้อำนวยการองค์กรโรคเอดส์ของยูเอ็น ท่านประธานท่านมาเองเมื่อเดือนที่แล้ว แล้วก็มาชื่นชมประเทศไทยว่าเหมาะสมที่จะเป็นประเทศที่เป็นตัวอย่างได้ แล้วก็เป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหาโรคเอดส์ ในภูมิภาคด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ได้ แล้วในโอกาสต่อไปก็คงเป็นของโลกด้วย เพราะเราแก้ปัญหาทั้งระบบนะครับ ทั้งในเด็ก ทั้งในผู้ใหญ่ แล้วก็ในส่วนของการรณรงค์การใช้โรคเอดส์ ที่เกี่ยวกับการรณรงค์การใช้เข็มสะอาด ซึ่งเป็นการริเริ่มของกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการมานานแล้ว

ผมนับว่าเป็นสิ่งที่ดีของประเทศไทยว่า ทำอย่างไรเราจะมีคนติดโรคเอดส์น้อยลงหรือในอนาคต ในอีก 25 ปี ข้างหน้า จะต้องไม่มีอีกเลย เราได้รับความไว้วางใจในเรื่องนี้ มีทั้งนักวิชาการ มีทั้งหมอ ทั้งนักแสดงต่างๆ มาร่วมด้วย ผมถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างกัน ก็เตือนๆ กันไปแล้ว ระมัดระวังโรคเอดส์ นี่มันอันตราย วันนี้โรคเอดส์ เราควบคุมได้ โรคซาร์สเราพอได้มาแล้ว ตอนนี้ก็เหลือโรคอีโบลา ก็เป็นที่น่ายินดีอีกเหมือนกันที่มีข่าวว่า มีบุคคลที่อยู่ในการควบคุมนั้นได้ออกมาจากสถานควบคุม วันนี้ก็ได้พบแล้ว ตรวจสอบแล้วไม่ได้ติดเชื้ออะไร เป็นการเดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของอีโบลา

ในส่วนของการทำงานในปัจจุบันนั้น ผมกราบเรียนว่า เราอยากจะรับฟังความเห็นของทุกพวกทุกกลุ่ม ในเรื่องของการปฏิรูป ในเรื่องของการทำงาน มีหลายท่านทั้งอดีตผู้นำรัฐบาล ทั้งในส่วนของนักวิชาการนักศึกษา ก็ออกมาพูดในทำนองว่า ขอให้เรารับฟังความคิดเห็นของคนในทุกระดับบ้าง ผมก็ทำอยู่แล้ว วันนี้รับฟังจนเยอะไปหมดเลย ก็เพียงแต่ว่าขออย่าให้มีการต่อต้านการทำงานของรัฐบาล และของ คสช. เลย ถ้าหากว่าท่านจะรวมกลุ่มกันแล้วก็สรุปผลการประชุมมา สรุปข้อคิดเห็นมา ส่งมาที่เราก็ได้ ส่งมาที่ กกต.ก็ได้ ส่งมาที่สภาปฏิรูปก็ได้ ผมรับทุกช่องทางขอให้สรุปมา วันนี้ก็มีหลายประการที่เรารับมาแล้วเช่น การพูดคุยของธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ เราก็รับเข้ามา ก็ฟังดูน่าจะมีเหตุผลดีพอสมควร

ประเด็นก็คือว่า ไม่ว่าใครจะเสนอมารับทั้งหมดนะ กลุ่มไหนก็ตามรับหมด แต่เข้าช่องทางซะ ถ้าไปพูดแล้วสร้างความขัดแย้ง มันเดินไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้กำจัดศัตรู เราไม่มีศัตรู แล้วไม่ได้จะตัดสิทธิ์ของใครเลยในวันนี้ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ในวันนี้นั้น ผมคิดว่าเราต้องเดินหน้าประเทศ พูดหลายครั้งแล้วว่าเราต้องเดินหน้าประเทศไปสู่ความมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต วางพื้นฐานประเทศ เพราะงั้นถ้าเราจะถอยหลังกลับไปหลัง ก่อน 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา มันก็ถอยไปไม่ได้ วันนี้เรามีแต่เดินหน้ากันอย่างเดียว ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้ง คสช. ทั้งรัฐบาล และภาคประชาชน นิสิต นักศึกษา ต้องช่วยกัน เคารพซึ่งกันและกัน วันนี้มีหลายพวก ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ประชาชน ธุรกิจ พ่อค้า ประชาชน หลายคน หลายพวกฟังทั้งหมดนะ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน ใครมีส่วนร่วม เขาเรียกว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในเรื่องของการปฏิรูปต้องเข้ามาแล้วเสนอมา แต่ขอให้มีพื้นฐาน มีแนวทาง มีหลักการบ้าง ถ้าคิดตามใจชอบมันไปไม่ได้ วันนี้เราก็บอกแล้ว บอกให้ไปเอาข้อเสนอแนะต่างๆ มา เอาหลักการของต่างประเทศมา ประเทศโน้นประเทศนี้เขามีการดำเนินการทางด้านการเมืองอย่างไร การบริหารประเทศในลักษณะที่เป็นการใช้ระบบรัฐสภาเป็นอย่างไร ประชาธิปไตยในสิ่งที่ถูกต้องมันควรจะเป็นอย่างไร

ในเรื่องของการตรวจสอบการทุจริต การโปร่งใส หรือการใช้จ่ายงบประมาณ ก็ไปว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง มันต้องพูดให้ครบตั้งแต่ตอนเริ่มต้น การควบคุม การใช้จ่าย การตรวจสอบความสุจริตอะไรต่างๆ ไปว่ามา แต่ถ้าทั้งหมดมาพันกันในเวลาเดียว มันเดินไม่ได้ มันหาข้อยุติไม่ได้ ก็ขอกรุณาด้วยนะครับ วันนี้มีคนเห็นต่างกันมากมาย เพราะฉะนั้นต่างคนต่างทำบทบาทของตัวเองให้ดีที่สุดแล้วกัน คสช.ก็จะกำหนดบทบาทของตัวเองชัดเจน รัฐบาลก็จะเกื้อกูลในการปฏิรูปให้ได้ โดยจะใช้เวลาให้น้อยที่สุดนะครับ

ในเรื่องของการประชุม ครม.วันนี้มีการประชุมนานนะครับ ตั้งแต่ 09.00 น. ตอนเช้า แล้วก็ไปเสร็จเกือบบ่ายโมง ทานอาหารนิดหนึ่งก็มีการประชุมต่ออีกแล้ว เป็นการประชุมบีโอไอ ซึ่งวันนี้ที่ผ่านมาของบีโอไอก็มีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขทางยุทธศาสตร์ระยะยาว 7 ปี เราบอกแล้วว่า ประเทศเราต้องเดินหน้า อย่างน้อยก็ 5 ปี 10 ปี วันนี้เรามีตามแผนเก่าอยู่ เข้าปีที่ 2 เราก็เหลืออีก 2 ปี แล้วก็อีก 10 ปี ข้างหน้าก็อีก 2 แผนพัฒนา ทำอย่างไรจะสอดคล้อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลต่อไปจะดำเนินการ ถ้าหากว่ามันถึงเวลานั้นถ้าเราไม่วางวันนี้ไว้ วันหน้าก็ไปไม่ได้

วันนี้การประชุม ครม.ที่ยาวนั้นเพราะมีการประชุมในวาระปกติ 28 วาระด้วยกัน ก็แถลงกันนานพอสมควรนะ หลายประเด็น กลุ่มงานในวันนี้ก็มีเรื่องความมั่นคง ในเรื่องของสังคมจิตวิทยา ในเรื่องของขบวนการยุติธรรม ในเรื่องของการปฏิรูป เหล่านี้มันก็เข้ามาสู่ในกระบวนการขับเคลื่อน การทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง วันนี้มี 28 วาระ เร่งด่วนอีก 11 วาระ ก็ 30 กว่าวาระ ถกแถลงใช้เวลานานพอสมควรนะครับ

ประเด็นสำคัญก็คือ การหารือกันในเรื่องการปฏิรูปว่า จะทำยังไงเราจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสมแล้วก็ทันเวลา แล้วอะไรที่สำคัญก่อนสำคัญหลัง วันนี้ตกลงกันว่า ถ้าเราจะมีการเลือกตั้งกันในระยะเวลาอันใกล้ จะต้องทำอะไรบ้างคือ การสร้างกระบวนการในการเข้ามาสู่การบริหารราชการแผ่นดิน แล้วในการบริหารราชการจะทำกันอย่างไร แล้วทำให้ข้าราชการฝ่ายบริหารมีความสมดุลกันกับข้าราชการ ที่ต้องทำงานตามกรอบระเบียบของกฎหมายที่กำหนดไว้แล้วเดิม ว่าจะทำยังไง มันไม่เกิดความขัดแย้งกัน คือถ้าเราบอกว่าข้าราชการทำได้ ไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งฝ่ายบริหารมันก็ไม่ถูก มันต้องสมดุลกันทั้งคู่ รับฟังซึ่งกันและกัน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาว่ามีความขัดแย้ง แล้วก็มีการก้าวล่วงซึ่งกันและกัน

ในส่วนของกระบวนการบริหาร และนิติบัญญัตินี่จะทำกันยังไงไม่ให้มีการทับซ้อน อีกเรื่องคือเรื่องของกระบวนการตุลาการจะทำอย่างไร อย่าใช้เครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งเป็นการอำนาจ 3 อำนาจมาพันกันไปพันกันมา ทำให้เกิดปัญหาในอนาคตด้วยในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ เคยเรียนมาหลายครั้งแล้วว่า ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลก็มีแผนงานบริหารจัดการน้ำมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ต่อเป็นภาพที่ครบวงจร วันนี้ผมให้แนวทางไปแล้วไปคิดมาตั้งแต่สมัยที่เรามีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำใหม่แห่งชาติทั้งระบบโดย คสช. วันนี้ผมให้เขานำมาเสนอ ซึ่งมีท่านพลเอกฉัตรชัย เป็นหัวหน้า เขาทำมาตั้งแต่ คสช. วันนี้ทำมาให้ ครม.รับทราบ เราจะพูดถึงว่าต้นทุนน้ำนี่มาจากไหน อย่างไร มีต้นทุนน้ำจากน้ำฝนใช่ไหม ปริมาณน้ำจากน้ำฝนนั่นแหละที่ล้นไปท่วม ในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมากๆ เราจะทำอย่างไรนี่คือน้ำต้นทุนต้องเก็บไว้ให้มากที่สุด เพราะฉะนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำอะไรก็แล้วแต่จะต้องชัดเจน ตั้งแต่พื้นที่ตอนเหนือ ตอนกลาง แล้วก็พื้นที่ท้ายน้ำ จะขยายกันอย่างไร ทั้งเก็บน้ำแล้วก็ระบายน้ำให้ได้ พร่องน้ำให้เร็ว เราเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ไม่ใช่ว่าพอน้ำมา ปล่อยไปทีเดียว ฟืดเดียวก็หมด กลัวน้ำท่วมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องวางแผนให้มันทีเดียว ทั้งป้องกันภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วมด้วย

เพราะปัญหาบ้านเรานั้นยังมีพื้นที่อีกมากมาย ซึ่งมีปัญหาเรื่องการใช้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้เรามีพื้นที่การเกษตรที่เราสามารถจัดส่งน้ำไปได้จำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง อีกจำนวนมากซึ่งเราส่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อส่งไม่ได้ มันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช ให้เหมาะสมกับสภาพดิน สภาพน้ำ หรือปริมาณน้ำที่มีอยู่ สภาพอากาศ นี่ก็ต้องไปตรงกับโซนนิ่งในวันข้างหน้าด้วย ถ้าเราแก้ทั้งระบบ เรื่องน้ำ เรื่องการโซนนิ่งไปด้วยกัน มันก็แก้ได้ แต่วันนี้ผมบอกว่า ไปกำหนดความเร่งด่วนมาว่า เราจะทำอันไหนก่อน อันไหนหลัง ตั้งแต่ต้นน้ำ ในเรื่องของการเก็บกักน้ำ เส้นทางที่จะลำเลียงน้ำมา ทำยังไง แล้วจะพร่องน้ำเหล่านี้อย่างไร แล้วเก็บไว้ใช้ในฤดูแล้ง นี่เป็นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่แล้วนะ ท่านทรงรับสั่งไว้นานแล้ว เรื่องแก้มลิงบ้าง เรื่องอ่างเก็บน้ำ อ่างพวง เรื่องเขื่อนอะไรต่างๆ ยังไม่เคยมีใครพูดถึงเลยนะ ที่ไปถกเถียงกันอยู่ทุกวันนี้ ยังไม่มีใครคิดจะสร้างกันทั้งสิ้นเลยนะ เป็นโครงการเก่าๆ ก็อย่าเอามาล้วงแคะแกะเกามันออกมาอีกก็แล้วกัน ถ้ามันทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็ทำอย่างอื่น วันนี้มันอาจจะทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป ในเรื่องของการที่จะทำให้ต้องไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ซึ่งประชาชนก็คงไม่ยอมตรงนี้ แต่ทำยังไงเขาจะได้มีน้ำไว้ใช้ เพราะฉะนั้นประชาชนก็ต้องเข้าใจเราเหมือนกันว่า ต้องหาทางออกซิ จะทำยังไง ทำเขื่อนไม่ได้ จะทำอ่างเก็บน้ำได้มั้ย แล้วจะช่วยดูแลยังไงในอนาคต ระยะยาว

ในส่วนของน้ำมันเป็นประเด็นก็คือว่า เคยมีโครงการบริหารจัดการน้ำแล้ว ตัวเลขเดิมๆ ทราบอยู่แล้ว ผมไม่อยากจะเอ่ยจำนวนตัวเลข วันนี้เราไม่พูดถึงตัวเลขกัน จริงๆ แล้วก็ประมาณการไว้คร่าวๆ ก็ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร อาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ถ้าจะทำครบ ใช้งบประมาณสูงมาก แต่เราก็จะพยายามใช้งบประมาณประจำปี ปีนี้ปี 58 บางส่วนเราบรรจุใช้งบประมาณปี 58 ดำเนินการ จะเริ่มดำเนินการได้เลย อันนี้เป็นเสี้ยวหนึ่งเท่านั้นเอง น้อยมากในแผนงานจัดการภาพใหญ่ แต่อย่างน้อยจะบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนได้ในระดับหนึ่ง ในบางพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาน้ำแล้ง ในเรื่องของการใช้อุปโภค บริโภค แหล่งน้ำประปาหรือไม่ก็เปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในระยะเวลาสั้น ถ้าทำนาปรังไม่ได้ วันนี้เราทำนาปรังไม่ได้ตั้งเยอะหลายพื้นที่ด้วยกัน ในส่วนนี้คงต้องใช้งบประมาณประจำปี ถ้าจะต้องไปหางบประมาณอื่นๆ มาร่วมทุน หรือกู้เงินต่างๆ ไปว่ากันอีกที ต้องพิจารณากันให้ละเอียดอีกครั้งว่า เราพร้อมจะรับสถานการณ์ในการกู้ต่างๆ หรือไม่ในอนาคต เรื่องหนี้สาธารณะด้วย

ในเรื่องของความเหลื่อมล้ำ วันนี้มีกฎหมายหลายตัวที่เข้าเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆ คือตอนนี้ก็มีการ กระทรวงยุติธรรมมีการเสนอตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นมา เคยกราบเรียนไปแล้วว่า ทำอย่างไรคนที่มีรายได้น้อย หรือคนที่มีปัญหาเรื่องทางกฎหมาย เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมจะตั้งกองทุนนี้ไว้ให้ คงจะต้องจัดหาเม็ดเงินเข้าไปเติม นอกจากเหนือจากงบประมาณจะไปเอาเงินที่ไหนมาดี เอาใส่เข้าไปแล้วก็ไปเป็นการต่อสู้คดีความอะไรก็แล้วแต่ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ หลักการอนุมัติไปแล้ว เดี๋ยวคงต้องไปทำเรื่องกฎหมาย เรื่องงบประมาณต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง จะทำให้โดยเร็วนะครับ

ในเรื่องการลงทุนทางด้านการค้า เราเคยคิดกันว่า ถ้ารัฐจะต้องลงทุนต่อไปในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องของการสื่อสาร การคมนาคม อะไรต่างๆ เหล่านี้ ถ้ารัฐอย่างเดียวไม่ทันเวลา เพราะฉะนั้นอาจจะต้องมีการตั้งกองทุน กองทุนเกี่ยวกับสื่อสารเกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งมีอยู่บ้างแล้วทีนี้ทำอย่างไรจะเพิ่มมากขึ้น ทำอย่างไรประชาชนจะมีส่วนร่วม ผมว่าคนมีสตางค์ประเทศไทยก็เยอะ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าตั้งกองทุนแบบนี้ขึ้นมา ก็ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทน ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงพอสมควร มันอาจจะสูงกว่าการที่ต้องไปกู้จากสถาบันการเงินอื่นๆ ก็ต้องไปทบทวนอีกที แต่อย่างไรก็เริ่มแน่นอน มันมีอยู่บ้างแล้ว แต่จำนวนไม่มากนัก อันนี้เป็นเรื่องของการลงทุน ในส่วนของการส่งเสริมธุรกิจนี่ วันนี้เราจำเป็นต้องส่งเสริมทั้งในส่วนของระดับชาติ ในระดับต่างประเทศด้วย แล้วก็ภายในประเทศด้วย ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เคยกราบเรียนไปแล้วในเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอีต้องให้ความสำคัญนะครับ เรามีถึงเป็นล้านๆ แห่งในวันนี้ เป็นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เราต้องส่งเสริมให้จากขนาดเล็กเป็นกลาง กลางเป็นขนาดใหญ่ขึ้น เราตั้งกองทุนแล้วขณะนี้ ก็กำลังปรับแก้คณะกรรมการต่างๆ แล้วก็ปรับแก้กองทุนต่างๆ ว่าจะโยกงบไหนมาใส่ตรงนี้ได้บ้างไหม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็เป็นกองทุน ในการที่จะขยายธุรกิจต่างๆ ก็ขอความร่วมมือนะครับ พี่น้องที่ประกอบการธุรกิจร้านค้าขนาดเล็กนี่ หลายๆ ประเภท 6-7 ประเภท การเกษตรก็มี ในเรื่องของการบริการก็มีนะครับ คงต้องไปหาช่องทางที่เข้าหากองทุนเหล่านี้ได้ วันนี้ก็มีสมาคมการค้ากับอุตสาหกรรมอยู่แล้วนะ ก็ลองไปติดต่อจากทางโน้นเข้ามานะครับ เรามีการประชุมร่วมกันของ กรอ. วันนี้อยากกราบเรียนอย่างนั้นก่อน

เรื่องการสร้างแบรนด์ในประเทศผมคิดว่า มีความสำคัญ ถ้าเราไม่คิดแบรนด์อะไรใหม่ๆ เลย จะเป็นปัญหาแน่ในอนาคตนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสมุนไพร เกี่ยวกับเรื่องผลิตผลทางการเกษตร ทำยังไงให้มูลค่าสูง ผมยกตัวอย่าง วันนี้ก็คุยกันง่ายๆ นะครับ จะใช่หรือไม่ใช่ ก็ไปคิดแบบนี้ ง่ายๆ เช่น วันนี้มีคนบางคนแนะนำให้ทานบวบ ทานแล้วก็จะป้องกันมะเร็งได้ ไปหาทีว่ามันจริงไหม ถ้าจริงก็จะได้ปลูกบวบมากขึ้นไง ยกตัวอย่างง่ายๆ เท่านั้นเอง หลายๆ อย่างนะครับ บางคนก็บอกว่าใบย่านางบ้างอะไรบ้าง สมุนไพรทั้งหมด มีมากมายในประเทศไทย ไม่งั้นคนก็รับประทานไป แล้วก็ไม่รู้คุณค่าของเขา บางทีก็ไปทำลายทิ้ง กำจัดวัชพืชซะ วันนี้ต้องไปเพิ่ม เริ่มตั้งแต่เล็กๆ ในระดับหมู่บ้านชุมชนเขามีอยู่แล้ว เรียกว่าความรู้ในท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น ทางการแพทย์ หมอยาสมุนไพรไปดูว่าทำได้แค่ไหนอย่างไร แล้วเรามาพัฒนาไปสู่การผลิตคือ การเพาะปลูกแล้วทำสินค้าซื้อขายกัน เพิ่มมูลค่า

ในส่วนของการลงทุนเหล่านี้นั้น ผมอยากให้มีการลงทุนมากขึ้น ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในชุมชนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ด้วย ในทุกๆเรื่องเลยนะ มันมีหลายสาขาที่เรียนไปแล้ว 7 สาขาที่จำได้นะครับ การเกษตร นวดแผนโบราณนี่ก็ใช่นะครับ เรื่องของการท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพ มันต่อเนื่องกัน ก็ไปดูแล้วกัน

ในการขับเคลื่อนปัญหาในประเทศเกี่ยวกับเรื่องทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญวันนี้ก็เป็นเรื่องข้าว เรื่องยาง คิดกันทั้งวันทั้งคืน ก็บอกพี่น้องชาวนา ชาวสวนยางว่า เราก็พยายามอย่างเต็มที่ ว่าทำอย่างไรจะให้ราคามันไม่ตกลงไปมาก เพราะนี่ก็ใช้เวลาในการแก้ปัญหา วันนี้ก็เห็นมีหลายคณะมาพบที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ก็เห็นเชิญไปคุยกันที่กระทรวงเกษตรฯ แล้ว ว่าจะต้องใช้เวลาอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าจะใช้เงินมากๆ มันก็ไม่ไหวแล้ว ตอนนี้ก็ช่วยไปเยอะแล้ว ก็คงต้องใช้เวลานิดหนึ่งในการที่จะสร้างมาตรฐานราคาให้สูงขึ้น ผมคิดว่าวันนี้ราคาน่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่อาจจะกำไรน้อยหน่อยสำหรับชาวนาที่ลงทุนสูง ผมถึงบอกแล้วว่า การลงทุนมันต้องไปลดยังไงในค่าการลงทุนในการทำนา หรือการทำสวนยาง สวนยางก็ไปคุยซิว่าการดูแลสวนยาง การพัฒนา หรือการให้ปุ๋ย จะทำยังไง ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้มั้ย แล้ววันนี้ที่มีปัญหามากที่สุดคือเจ้าของสวนยาง กับผู้ผลิตยางรับจ้าง ทั้งสองอย่างนี้สัดส่วนมันต้องปรับอะไรกันหรือเปล่า แล้วจะต้องยอมรับกันอย่างไร ถ้าทั้งสองส่วนนี้ต้องการเพิ่มทั้งคู่ รัฐบาลก็ไปไม่ไหวนะ ไปไม่ไหว ทุกประเทศเป็นหมดนะ วันนี้ได้เสนอให้มีการประชุมร่วมกัน 4 ประเทศ มีไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ที่ในส่วนอาเซียนด้วยกัน ในส่วนของจีน ส่วนของญี่ปุ่น ผมก็ได้ขอความร่วมมือไปแล้วว่าจะทำอย่างไรที่จะยกระดับสินค้าการเกษตรเหล่านี้

ในส่วนของการแก้ไขกฎหมายนั้น ผมเรียนว่า ทั้งหมดนี้ เท่าที่ไล่มาขณะนี้ ถ้าเรามองแล้ว กฎหมายทั้งหมดที่จะต้องแก้ไขในหลายๆ ประเภท ทั้งกฎหมายปกติ กฎหมายที่ออกยังไม่ได้ คั่งค้างอยู่ กฎหมายที่จะเป็นสากล กฎระเบียบเกี่ยวกับการทำสัญญาทางการค้าเหล่านี้ ทั้งหมด 300-400 ฉบับ แล้วมีบางอย่างต้องออกใหม่เพิ่มเติมด้วย เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ เรื่องการศึกษา เรื่องการเข้าถึง เหล่านี้มากมาย ก็ปรับมา ขณะนี้ได้ประมาณ 163 ฉบับมั้ง ที่จะต้องออกให้ทันภายใน 1 ปี ภายใน 1 ปีที่มีการปฏิรูป

เพราะฉะนั้นวันนี้ได้กำหนดไปว่าแต่ละเรื่องๆ มันควรจะเท่าไร จำนวนสักเท่าไร ใน 3 เดือนแรก 3 เดือนต่อไป อันนี้ก็กราบเรียนทางสภานิติบัญญัติฯ แล้วก็สภาปฏิรูปฯ ด้วยนะ มันต้องสอดคล้องกันทั้งหมด แม่น้ำ 5 สายที่ว่า รัฐบาลก็จะขับเคลื่อนไป อะไรที่ทำได้ ทำเลย อะไรที่ต้องแก้กฎหมาย ก็แก้ให้ทันภายใน 1 ปี อะไรที่ยังทำไม่ได้ ต้องไปเพิ่มเติมรายละเอียดอีกหลายอย่าง ก็ไปว่ากันในระยะยาวโน่น วันนี้อะไรที่ออกได้ ต้องออกก่อน แต่ต้องฟังความคิดเห็นก่อนนะครับ อันนี้ขอย้ำ เราก็พูดกันหลายครั้งแล้ว ผมเกรงว่าหลายๆ คนจะไม่เข้าใจว่า ถ้าเรามุ่งหวังชุมชนอย่างเดียว หมู่บ้าน ตำบลอย่างเดียวมันก็คงไม่ได้ เราก็คงต้องสร้างทั้งในส่วนของการเทรดดิ้ง เขาเรียกว่าการค้า ถ้าเราสร้างสังคมที่เป็นผู้ผลิตอย่างเดียว คือไม่มีการทำการค้าเองมันไม่ได้ วันนี้หลายอย่างที่เราต้องแก้ ระดับประชาชนก็ทำนะครับ พี่น้องประชาชนต้องหาทางว่าทำอย่างไรจะเกิดตลาดชุมชนให้ได้ ตลาดกลุ่มจังหวัดให้ได้ ลดในเรื่องของการควบคุมราคาต่ำ โดยเฉพาะพ่อค้าคนกลางเหล่านี้ ต้องแก้ไข ถ้าเราเทรดดิ้งเอง ค้าขายกันเอง ผมว่าจะได้รายได้ดีขึ้น แล้วเรารวมกลุ่ม ถ้าใครมาซื้อของถูกเราก็ไม่ขาย ทำนองนี้ รัฐบาลจะดูแลในเรื่องนี้นะครับ ในเรื่องของการเทรดดิ้งทั้งในระดับท้องถิ่น และในระดับรัฐบาลกับต่างประเทศด้วย วันนี้ก็มีการเตรียมการในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนในลักษณะบริษัทการเงินจากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศเรา เหมือนกับประเทศที่มีการลงทุนมากมายในปัจจุบัน ปัญหาของเราคือ ความยากง่ายในการประกอบการ และในเรื่องของการสร้างบุคลากรเพื่อรองรับเรื่องเหล่านี้ เราต้องเตรียมการให้พร้อม วันนี้ได้สั่งกระทรวงศึกษาฯ ไปแล้ว เรื่องของการเตรียมการเรื่องเหล่านี้

ในเรื่องของการตั้งบริษัทเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนด้านการเงิน วันนี้มีหลายประเทศสนใจ และเราต้องแก้ไขกฎหมายเหมือนกัน มันจะได้เร็วขึ้น และทำได้โดยเร็ว

ในเรื่องของการแก้ปัญหาการขาดน้ำ หรือน้ำท่วมปี 58 ผมบอกไปแล้วว่า ถ้าเราทำแผนใหญ่ออกมาแล้ว ทั้งประเทศมาแล้ว ทุกระบบแล้ว ปี 58 มันต้องเกิดผล ในปี 58 ตรงไหนไม่ควรจะท่วมอีกแล้วก็ต้องไม่ท่วม ตรงไหนที่จะไม่แล้งอีกแล้ว ก็ต้องไม่แล้ง คงเป็นพื้นที่ไม่ใหญ่โตมากนักเป็นบางพื้นที่เท่านั้น คงทั้งประเทศไม่ได้ ผมเรียนไปแล้วว่า ถ้าทั้งประเทศใช้เวลาในการทำหลายปี เป็นสิบๆ ปีใช้งบประมาณสูงมาก เราก็ค่อยๆ ทำในช่วงที่มีความเดือดร้อนมากที่สุดก่อนก่อน ตรงไหนที่พอประคัยประคองไปได้ก็ค่อยๆ ทำไป แต่ทั้งหมดต้องบูรณาการงบประมาณทั้งหมดที่รัฐบาลได้ให้ไปแล้วกับทุกกระทรวง ทบวง กรม ในการดูแลพ่อแม่พี่น้องต้องเฉลี่ยให้เข้าถึงมากน้อยก็ว่ากันมา อะไรที่เติมได้ก็เติม งบเหลือจ่าย งบกลางปีอะไรต่างๆ ก็ไปว่ามา งบเงินกู้ก็ไม่มีปัญหา ทั้งกู้ในประเทศ กู้ต่างประเทศด้วย ฉะนั้นก็เป็นเรื่องการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้วกัน หลายเรื่องที่มีปัญหา ก็มีเรื่องเงินทุน เรื่องคุณภาพของการทำงาน คือบริษัทต่างๆ ที่มารับไปแล้วบางทีคุณภาพไม่ได้ แล้วก็เรื่องการผ่านการทำประชาพิจารเหล่านี้จะเป็นปัญหาหมด ถ้าไม่ยอมกันเลยก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น ฉะนั้นวันนี้เรามีปัญหาเรื่องน้ำอุปโภค-บริโภค แหล่งน้ำประปา การส่งน้ำประปาให้ทั่วถึง ยังมีปัญหานะครับ ก็รับว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุด เท่าที่สามารถดำเนินการได้ ก็โชคดีที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ก็ขอบคุณในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนะครับ ในการที่จะดูแลประชาชน

ในเรื่องของการไปประชุมร่วมกับต่างประเทศ วันนี้ก็ให้นโยบายไปกับทุกกระทรวงว่า เวลาประชุม มีเรื่องหลายเรื่องที่ต้องไปพูดกับเขา ไปรับอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีข้อเสนอจากเราไปด้วย ไม่ว่าจะเรื่องโลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงานสีเขียว มันต้องมีข้อเสนอของประเทศเราไปด้วย ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องโลกร้อน เราไม่ใช่ประเทศที่สร้างโลกร้อน มลพิษมากนักแต่เรามีป่าไม้ ทำยังไงให้เขาสนใจเราตรงนี้ ประเทศใดที่รักษาป่าไม้ได้ดี เคยพูดกันมาแล้วนะครับ ในเรื่องคาร์บอนเครดิตก็คงต้องทำให้ต่อเนื่อง ว่าทำอย่างไรประเทศเหล่านี้จะได้เงินมาสนับสนุนในเรื่องของการดูแลป่าไม้ ในเรื่องของการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้เป็นปอดของโลก เราสร้างความสำคัญตรงนี้ให้ได้แล้วกัน เพราะฉะนั้นการไปประชุมในทุกๆ เรื่อง ทุกกระทรวงต้องรู้ทุกเรื่องว่า เราจะไปพูดอะไรกับเขา ไปประชุมเศรษฐกิจก็พูดความมั่นคงได้ เพราะมันพันยึดโยงกันไปหมดขณะนี้ต้องมีข้อมูล

เพราะฉะนั้นจะทำงานอิสระ กระทรวงใคร กระทรวงมัน ไม่ได้แล้ว ต้องรู้กระทรวงอื่นด้วย เพราะงั้นเวลาประชุม ครม. ผมจะพูดเยอะให้เข้าใจว่า นโยบายรัฐบาลว่าอย่างไร กระทรวงนั้นกระทรวงนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกันตรงไหน อะไรหลัก อะไรรอง อะไรเสริม มันจะได้มีเรื่องไปพูดกับเขา ไปยื่นข้อเสนอเขาบ้าง ไม่ใช่ไปรับเขามาอย่างเดียว ไม่ได้นะครับ

ในเรื่องของการค้าการลงทุน วันนี้เราได้แก้ไขไปหลายอย่างด้วยกัน เรื่องกฎกติกา เรื่องขั้นตอน เรื่องระยะเวลา เดิมเคยใช้เวลาเป็นเดือนๆ วันนี้ต้องเรียบร้อยภายใน 30 วัน และการลงทุนทั้งหมดต้องไปเข้าที่บีโอไอก่อน แล้วบีโอไอจะชี้แจงได้ ถ้าเป็นต่างประเทศนะครับ ในประเทศก็ได้ คือถ้านึกอะไรไม่ออกก็ไปที่บีโอไอ ถ้านึกอะไรไม่ออกก็มาที่รัฐบาลก็ได้ ผมพร้อมที่จะชี้แจง พร้อมจะมีผู้นำพา หรือตอบรายละเอียด ผมว่าไปให้ถูกช่องดีกว่า ทางพาณิชย์ก็มี อุตสาหกรรม ทางบีโอไอมีหมด ศูนย์ One Stop Services เรื่อง One Stop Services ก็เหมือนกัน วันนี้มีปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ ผมให้ความสำคัญ ที่ทำมาทั้งหมดจดทะเบียนประเทศเพื่อนบ้านไปแล้ว แต่บางประเทศก็ยังไม่ได้จด เช่น เวียดนามได้คุยกัน หารือกันแล้วว่าจะต้องตั้งขึ้นมา และจดทะเบียนชาวเวียดนามที่ทำงานในประเทศไทย อีกประเทศหนึ่งที่ทำงานอยู่ ทางประเทศต้นทางเขาขอมา ปัญหามันอยู่ที่ไหนทราบไหม ปัญหามันอยู่ที่ว่า การพิสูจน์สัญชาติมันทำได้ช้า ต้องมีพิสูจน์สัญชาติเคลื่อนที่ไปอีก วันนี้ที่ผ่านมา 2 ประเทศก็ยังทำอยู่ และใช้บัตรชั่วคราวไปก่อน ต่อไปคงต้องทำยังไงให้เร็ว แล้วต้องเตรียมการรองรับเออีซีในปีหน้าด้วย ปีหน้าต้องเตรียมคนงาน แรงงานให้พร้อม ทั้งไทยและต่างประเทศ ต่างชาติให้ถูกกฎหมาย เดี๋ยวมันเปิดพื้นที่ขึ้นมา มีโรงงานมากขึ้น แล้วจะเอาคนงานจากที่ไหนมา ถ้าไม่เตรียมขึ้นบัญชีไว้ ก็เตรียมการไว้ด้วย

ปัจจัยวันนี้ที่อยากให้พวกเราทุกคนได้เข้าใจก็คือ ปัจจัยที่กำหนดให้ในแต่ละประเทศมีความก้าวหน้าได้อย่างไร สร้างความเข้มเเข็งได้อย่างไร มันหลายประการด้วยกัน มันไม่ใช่ปัจจัยภายในประเทศอย่างเดียว ในประเทศขออย่างเดียวเสถียรภาพมั่นคง และปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันนี้เป็นหลักอันที่ 1 แล้วก็จะเกิดเรื่องอย่างอื่นเข้าไปอีก ไม่ว่าจะเกิดปัญหาสถานการณ์ทางต่างประเทศ ด้านความมั่นคง ความขัดแย้งยังคงมีอยู่ เมื่อสักครู่ดูข่าวในทีวี ทั้งไทย และต่างประเทศก็มีความขัดแย้งหลายประเทศด้วยกัน

ฉะนั้นเราก็อย่าให้เกิดขึ้นในประเทศเราดีกว่า เราจะได้รองรับความเจริญต่างๆ ที่ไหนขัดแย้งมากๆเขาก็ไม่ไป เขาจะได้มาที่เราไง เราไม่ขัดแย้ง ก็ฝากไว้ด้วย เพราะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในวันนี้ ต้องใช้คำว่า พลวัต ก็คือต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นพลวัต ไม่ใช่เดินไปแล้วก็หยุดรอเขา ไม่ได้ มันต้องเดินไปเรื่อยๆ ก้าวทดแทนไปเรื่อยๆ เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ขยายขนาดอะไรไปเรื่อยๆ

ในเรื่องของกติกาสากล เรื่องโลกร้อน เรื่องโรคระบาด การใช้ความรุนแรง การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาส ต้องแก้ใหญ่โต วันนี้ประเทศไทยเราไม่ได้ดูแลรายละเอียดมานาน วันนี้ต้องแก้ทั้งระบบต้องใช้เวลาให้เร็ว มีเวลาปีเดียว

การพัฒนาความยั่งยืน มันเป็นเรื่องของกายภาพ สำคัญ ถนน เส้นทาง สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ อันนี้พูดหลายครั้งแล้ว ทุกหน่วยงานต้องไปช่วยกัน ประชาชนก็ต้องร่วมมือ ช่วยกัน ในการที่จะแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความต้องการ ในสิ่งที่มันเป็นไปได้นะ ถ้าต้องการในเวลาเร็วๆ มันไม่ได้หรอก

อีกอันหนึ่งที่มันจะมีผลต่อการพัฒนาประเทศ ก็คือความสัมพันธ์ที่ดีกันระหว่างประเทศ ในประเทศของเรากับประเทศเพื่อนบ้าน ความเชื่อถือระหว่างผู้นำของแต่ละประเทศ เชื่อถือกัน ให้ระดับความสนใจซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนกัน นับถือซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกัน มันก็พูดอะไรกันก็ได้ แต่อยู่ในกรอบที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติ อันนี้ก็อยากจะฝากว่า ขอเถอะ อย่าไปขัดแย้งกับใครอีกเลย ในประเทศก็ไม่ได้ ต่างประเทศก็ไม่ได้อีกแล้ว อย่าไปขัดแย้งกับเขา

วันนี้จริงๆ แล้วก็อยากจะพูดเบาๆ นะ พูดไปมันก็หลายเรื่องอีกเหมือนเดิม ปัญหามันก็เยอะนะ ก็ค่อยๆ แก้ไปแล้วกัน

ในเรื่องของการสร้างความเข้มแข็งในอาเซียน มีผลกระทบกับประชาคมโลกด้วย เพราะเราเป็นแหล่งข้าว แหล่งน้ำ แหล่งอาหารโลก แหล่งพลังงานทดแทนของโลก อนาคตผมคิดว่าประเทศเราจะเป็นผู้นำทางด้านอาหารร่วมกับประเทศหลายประเทศในอาเซียนด้วย ก็อดใจรอให้ถึงเวลานั้น วันนี้ก็เร่งมือกันก็แล้วกัน ความขัดแย้งในประเทศจะเป็นตัวถ่วงความเจริญทุกด้าน ไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าผมจะไปกดดันใคร ไม่ฟังเรื่องของใคร ใช้การคุมอำนาจมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ ไม่ใช่ วันนี้ผมถือว่าเต็มที่แล้วนะที่เราผ่อนผันให้ทุกอย่าง เพราะฉะนั้นขอร้องเรื่องการสร้างวาทกรรม สร้างผลกระทบที่มีต่อการปฏิรูป ขอเถอะครับ ขอเถอะ ไม่เกิดประโยชน์หรอก

เรื่องการทุจริตผิดกฎหมาย หลายท่านเป็นห่วงว่า คสช.ยังให้ความสำคัญ ให้เหมือนเดิม จะเห็นได้ว่ามีการสอบสวนดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้น้อย เยอะแยะไปหดก็สอบไปใช้เวลาไป ก็ว่าไป อย่าไปเร่งรัดเลย

ในส่วนของเรื่อง อปท. เรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะมีการหมดอายุ ผมได้เสนอไปให้ ครม.พิจารณาแล้วว่า จะทำอย่างไร ถ้าเลือกตั้งไม่ได้ก็ให้รักษาการก่อนได้ไหม น่าจะดีกว่า ผมคิดว่าอย่างนั้น พี่น้อง อปท.เตรียมตัวให้ดีนะว่า จะทำอย่างไรกันต่อไป ข้อสำคัญคือท่านคิดแล้วกันว่า ท่านจะทำอย่างไรให้ประเทศชาติปลอดภัย แล้วก้าวหน้าไปให้ได้ เพราะต้องสอดคล้องกันทั้งรัฐบาล ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ต้องเดินไปให้ได้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน

ในสัปดาห์นี้ผมจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ 2 ประเทศ ใกล้ๆ นี่แหละ ก็ลาวกับเวียดนาม ซึ่งมีการพบปะกับท่านผู้นำ 3 ครั้งแล้ว ในกลางปีที่ผ่านมาก็คงไปพูดคุยเฉพาะทวิภาคีกันอีกครั้ง อะไรที่ตรงกัน อะไรที่ขับเคลื่อนอะไรที่ยังค้างอยู่ไปพูดกันให้หมด แล้วจะได้เดินหน้าประเทศทั้งสองประเทศให้มีความก้าว หน้าไปให้เร็วขึ้น ในช่วงต่อไปรู้สึกจะมีประเทศทางใต้เราคงเป็นประเทศสุดท้าย ที่ใกล้ๆ รอบบ้านมาเลเซียนะครับ เนื่องจากว่าเลื่อนหลายครั้งแล้วท่านก็ไม่ว่าง ผมก็ไม่ว่าง ก็ไปว่ากันตอนสิ้นเดือนอีกที

นอกนั้นก็เป็นการประชุมตามวาระ ก็รู้สึกจะมีที่เกาหลี เป็นความร่วมมือครั้งหนึ่ง แล้วก็มีการประชุมที่ท่านรองนายกฯ กล่าวไว้คือ ที่ดาวอสอะไรนี่ก็เดี๋ยวเป็นระยะๆ ไปแล้วกัน จริงๆ แล้วผมอยากขับเคลื่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้าเรามัวแก้ปัญหาในประเทศอย่างเดียวคงไม่ได้ ก็ต้องไปเดินต่างประเทศด้วย ในประเทศวันนี้ทุกคนในรัฐบาล ทุกรัฐมนตรี แต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายก็เดินหน้าอยู่แล้ว เพียงแต่บางครั้ง อาจจะสร้างการรับรู้ได้ไม่มากนัก เพราะมันอยู่ในขั้นตอนกระบวนการ ถ้าพูดไปทั้งหมดมันก็อันตราย พูดไปแล้วจะเจอปัญหาอะไรหรือเปล่ายังไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราก็จะค่อยๆสร้างการรับรู้ไปให้กับพี่น้องประชาชนไปเรื่อยๆ ตามลำดับ ใจอย่าร้อนมากนัก ผมคิดหมด เพราะรับปัญหามาทั้งหมดอยู่แล้ว ผมก็มีประสบการณ์ยาวนานพอสมควร รับฟังปัญหามาตลอดระยะเวลารับราชการ วันนี้ก็เอาเรื่องเหล่านั้นมาทบทวน และนำเข้าสู่การปฏิบัติ การขับเคลื่อน

ก็ทุกวันเวลา 18.00 น. ถ้าว่างก็ชมรายการเดินหน้าประเทศไทยด้วยแล้วกัน 15 นาทีเอง ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง ถ้าไม่ฟังเลย มันก็ไม่รู้ พอถามผม ผมตอบไปบางทีมันไม่ครบ มันก็เป็นปัญหาต่อไปในอนาคต

และที่พิเศษอีกอันที่ผมสั่งการเพิ่มเติม ในการประชุม ครม.ทุกครั้ง ผมจะให้โฆษกรัฐบาลเขาสรุป แล้วก็อธิบาย ชี้แจงเพิ่มเติมว่า การประชุมมีรายละเอียดอะไรบ้าง ที่ผ่านมาอาจจะสร้างการรับรู้ได้ไม่มากนัก ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ครั้งที่แล้วก็มีการเอามา Rewind รายการเดินหน้าประเทศไทยด้วยแล้วกัน ก็ลองติดตามดู จะได้รู้และจะได้ลดความเป็นห่วง ว่าเรื่องนี้ผมทำหรือยัง เรื่องนั้นผมทำหรือยัง คิดหรือยัง ถ้าท่านติดตามแบบนี้มันก็จะดี ทั้งเรื่องการปฏิรูป เรื่องกฎหมาย เรื่อง สนช. สปช. เรื่องรัฐบาล อีกช่องไม่ค่อยได้ดู โทรทัศน์รัฐสภา เขาถ่ายทอดทั้งวันนะ เป็นสาระ ใครชอบกฎหมาย ชอบการทำงานของรัฐบาล ในลักษณะการบริหาร ดีไม่ดี ลองเปิดดูสิครับ ว่างๆ ก็เปิดดูก็ได้ อย่าไปดูบันเทิงมากๆ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทุกอัน จะได้รู้ว่าประเทศเรา หนึ่ง ละครก็ดูได้บันเทิงมากๆ อย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทุกอัน จะได้รู้ว่าประเทศเรา หนึ่ง ละครก็ดูได้ ภาพยนตร์ก็ไปชมได้ ไปเที่ยวไหนก็สะดวกขึ้น แล้วการปฏิรูปก็กำลังเดินหน้า สนช.ก็กำลังออกกฎหมาย เออ มันจะได้เข้าใจว่าประเทศเราไปตรงไหน ตอนนี้ ถ้ายังเอาปัญหาพันไปพันมา มันไม่ได้ วันนี้เราต้องรักษากฎกติกา ระเบียบ ให้เดินหน้าประเทศให้ได้

โอเคนะครับ ผมพร้อมรับฟังทุกท่าน พร้อมรับฟังทุกกลุ่ม ขอบคุณในคำแนะนำนะครับ จากทุกท่านที่กรุณาให้คำแนะนำกับรัฐบาล และ คสช.มา ขอบพระคุณครับ สวัสดีครับ”
ฟ้องปตท. “อม” ท่อก๊าซ 11 ขาใหญ่ผู้เกี่ยวข้องมี “เสียว” อีกแล้วครับท่าน
ฟ้องปตท. “อม” ท่อก๊าซ 11 ขาใหญ่ผู้เกี่ยวข้องมี “เสียว” อีกแล้วครับท่าน
ผู้ถูกฟ้องคดี 11 ราย ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง, นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีต รมว.คลัง, นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง,ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รมช.คลัง, กระทรวงพลังงาน,นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน, นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีต รมว.พลังงาน, นายประสิทธิ์ สืบชนะ อดีตรองอธิบดีกรมธนารักษ์, นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์, บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน)
กำลังโหลดความคิดเห็น