xs
xsm
sm
md
lg

“เทียนฉาย-บวรศักดิ์” นั่งปธ.-รองปรธ. สปช.ตามโผ พร้อมผนึกพลังดันปฏิรูป

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ตามคาด “เทียนฉาย” ได้รับเลือกจากสมาชิก นั่งปธ.สปช. ลั่น ผนึกพลังสปช.ดันปฏิรูปประเทศยึดสุจริต โปร่งใส “บวรศักดิ์” นั่งรองปธ.คนที่ 1 ไร้คู่แข่งเช่นกัน พร้อมอาสานั่งกมธ.ยกร่างรธน. เชื่อมโยงทุกภาคส่วน แนะสปช.ตั้งกมธ.เกาะติดคู่ขนานอนุกมธ. ดันปฏิรูปสนองเจตนารมณ์ 67 ล.คน “ทัศนา” เข้าวินโหวตชนะ นั่งรองปธ.คนที่สอง



วันนี้ (21ต.ค.) การประชุมสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 09.30 น. โดยมีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา สมาชิกสปช. ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดคือ 87 ปี ทำหน้าที่ประธานการประชุมชั่วคราว โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมจำนวน 244 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเริ่มการประชุมนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ได้อ่านพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกทั้ง 250 คน จากนั้นสมาชิกได้กล่าวปฏิญาณตน และเปิดวีดีทัศน์กรอบการทำงานของสปช ความยาวประมาณ 5 นาที

จากนั้นที่ประชุมได้เข้าสู่วาระสำคัญคือการคัดเลือกตำแหน่งประธานและรองประธานภายใต้ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติ พ.ศ. 2557 โดย นายชัย ชิดชอบ สมาชิกสปช ได้.เสนอนายเทียนฉาย กีรนันท์ เป็นประธานสปช. ขณะที่นายชัย เจริญสุข สมาชิกสปช.ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จ.ฉะเชิงเทรา ขอเสนอนายอลงกรณ์ พลบุตร ชิงตำแหน่งประธาน แต่นายอลงกรณ์ได้กล่าวขอบคุณผู้เสนอชื่อตน แต่ทุกคนที่เป็นประธานจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง เป็นที่ยอมรับของสังคม มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์นักบริหาร นำพาสภาให้เป็นที่ยอมรับ บรรลุวัตถุประสงค์ ตอบสนองความคาดหวังของประชาชน ซึ่ง ตนมีบุคคลที่จะเป็นประธานอยู่ในใจแล้ว คือนายเทียนฉายตนจึงขอถอนตัว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อไม่มีสมาชิกเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้าแข่งขัน ทำให้นายเทียนฉายได้รับเลือกให้เป็นประธานสปช.โดยไม่ต้องมีการลงคะแนน แต่มีสมาชิกบางส่วนได้เสนอให้มีการแสดงวิศัยทัศน์เพื่อให้ทราบว่าจะนำพาไปในทิศทางใด ขณะที่สมาชิกบางส่วนแย้งว่าเมื่อควรคัดเลือกตำแหน่งปรานและรองประธานให้ครบถ้วนก่อน แล้วเปิดให้มีการพูดจาปราศรัยกับสมาชิก ทำหลังจากถกเถียงในประเด็นนี้อยู่ประมาณ 5 นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสปช. ได้เสนอให้มีการโหวตว่าควรจะยกเว้นข้อบังคับการประชุมในส่วนที่ให้มีการแสดงวิศัยทัศน์หรือไม่ แต่นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสปช. ท้วงติงว่าสปช.กำลังเข้ามาทำหน้าที่กำหนดกติกาของบ้านเมือง หากมีการยกเว้นข้อบังคับตั้งแต่ยกแรกแล้วจะมีกติกาทำไม สปช.ควรทำสิ่งที่งามสง่า และหากจะให้นายเทียนฉายแสดงวิศัยทัศน์กับสมาชิกก็ไม่น่าเสียหายหรือเสียเวลาดีกว่าให้สมาชิกโหวตงดเว้นข้อบังคับ

ในที่สุดประธานได้อนุญาตให้นายเทียนฉายแสดงวิศัยทัศน์ โดยกล่าวขอบคุณสมาชิกและผู้เสนอชื่อรับรองและสนับสนุน ตนพร้อมและตั้งใจจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด งานของสปช.ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราวปี 57 โดยบัญญัติภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ มีส่วนหลักสองส่วนคือ การร่างรัฐธรรมนูญและที่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูป ในความหมายที่กว้าง โดยมีประเด็นหลักกำหนดเบื้องต้น10 ด้านขึ้นไป ตนคิดว่าแนวทางการทำงานของสปช.จะต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส นำพาสปช. ได้รับรู้และเข้าใจและเข้าถึงในสิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนโดยทั่วไป ต้องดำเนินการทำในส่วนการยกร่างรัฐธรรมนูญ แม้จะมีคระกรรมาธิการเฉพาะ แต่สปช.ต้องช่วยให้ความเห็นเป็นลำดับขั้นตอน คงต้องระมัดระวังและให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามกรอบเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันการปฏิรูปด้านต่างที่ประชาชนสนใจต้องมาหารือโดยกว้างว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุกรอบโดยเร็วที่สุด ส่วนผลอาจจะทอดออกไปได้ แต่กรอบน่าจะบรรลุสำเร็จระดับหนึ่ง

“สิ่งสำคัญเราต้องคิดร่วมกันในเรื่องเป้าหมายการปฏิรูปที่อยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทา ลดภาระความเหลื่อมล้ำทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของประเทศกับทุกองค์กร ทั้งราชการ ภาครัฐ เอกชน และอื่นๆ ซึ่งสำคัญสุดการทำงานของสปช.คือต้องประสานกันให้มากทั้งความคิด และพลัง โดยเฉพาะการที่จะต้องฟังเสียงประชาชนทั้งส่วนที่เขานำเสนอ และที่เราผลักดันให้เขาเสนอความเห็นด้วย นั้นคืออุดมการณ์และความหวังของประชาชนให้เราปฏิรูปประเทศ เราจะเริ่มทำงานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปและจะประสานกับทุกฝ่ายให้บรรลุสำเร็จตามที่ปรารถนา”

จากนั้นที่ประชุมได้ดำเนินการคัดเลือกรองประธานสปช. โดยนายพารณ ได้ถามสมาชิกว่าควรจะมีรองประธานสภากี่คน ซึ่งสมาชิกได้เสนอให้มี2 คน ขณะที่ที่ประชุมเห็นชอบด้วย

ต่อมานายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสปช. ได้เสนอชื่อนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานสปช.คนที่1 โดยไม่มีสมาชิกเสนอชื่อบุคคลอื่น จากนั้นนายบวรศักดิ์ได้แสดงวิศัยทัศน์ว่า มี ตนจะทำหน้าที่ช่วยประธานดำเนินการประชุมและกิจการอื่นของสภาตามข้อบังคับให้ดีที่สุดเพื่อให้สมาชิกได้แสดงความเห็น และใช้ความรู้ความสามารถแก้ปัญหาให้บ้านเมืองให้ดีที่สุด สภานี้มีอำนาจหน้าที่2 ประการเท่านั้น คือ ทำหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเรื่องต่างๆในการปฏิรูป แล้วเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.)คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(.คสช.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสอง เสนอแนะไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยสปช.จะแต่งตั้งสมาชิกหรือที่ไม่ใช่สมาชิก เข้าร่วมเป็นกรรมิการยกร่างฯ20 คน และให้ข้อคิดเสนอแนะ และเห็นชอบไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการจัดทำขึ้น แปลว่าสภานี้มีส่วนร่วมในการทำรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในอนาคต เป็นผู้ลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ แต่ในมาตรา 37 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีความเป็นกึ่งอิสระจากสภานี้ แต่เชื่อมโยงและต้องผ่านความเห็นชอบไม่เห็นชอบสภานี้

นอกจากนี้ ตนเห็นว่าสปช.ควรตั้งคณะกรรมาธิการติดตามประสานร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อรวมความเห็นเสนอไปยังกรรมาธิการยกร่างฯ ขณะเดียวกันคณะกรรมาธิการยกร่างฯควรมีอนุกรรมาธิการ รับข้อเสนอแนะของสปช. ทำงานคู่ขนานกันไปซึ่งตนสามารถทำหน้าที่ตรงนี้ หากได้รับความไว้วางใจให้เข้าไปกรรมาธิการยกร่างฯ ตนจะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างสปช.และคระกรรมาธิการยกร่างฯให้ดีที่สุด

“วันนี้การปฏิรูปเป็นวาระของชาติที่คน67ล้านคนตั้งความหวังไว้ เราจะนั่งทำงานแต่ในสภาไม่ได้ การประสานงานกับสมาชิกทั้ง250 คนภายใต้การนำประธานต้องเชื่อมโยงกับประชาชนให้เป็นการปฏิรูปของคนทั้งประเทศ และยังต้องทำหน้าที่ประสาน สนช. คสช. ให้ดีที่สุด ภายในเวลาจำกัด จำเป็นต้องมีเอกลักษณ์ของตนเอง เราไม่ใช่สภาการเมืองและไม่มีอำนาจในนิติบัญญัตินอกจากเห็นชอบรัฐธรรมนูญ ผมไม่อยากเห็นการดำเนินการอย่างสภาการเมือง และให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าเราจะเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ทำให้การปฏิรูปที่ประชาชนคาดหวังล้มเหลว”

ส่วนรองประธานสปช.คนที่สอง นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา สปช. ได้เสนอชื่อน.ส.ทัศนา บุญทอง เป็นรองประธานคนที่ 2 ขณะที่ นายนิมิต สิทธิไตร ได้เสนอนายประชา เตรัตน์ สปช.จังหวัดชลบุรี ทำให้ต้องมีการแสดงวิศัยทัศน์ โดยน.ส.ทัศนา กล่าวว่า หน้าที่ สปช.ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจะต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจ ตนคิดว่า เราเป็นผู้แทนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ โดยใช้ความสามารถและประสบการณ์เพื่อจะมาทำงานร่วมกัน จึงต้องร่วมใจเป็นหนึ่งเพื่อที่จะงานนี้ให้ประสบความสำเร็จ เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน หากตนได้รับเลือกเป็นรองประธาน ฯ ตนก็จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยการช่วยงานของ ประธานและรองประธานที่ 1 และอีกหลาย ๆ ด้านที่จะนำไปสู่การปฏิรูปที่ดีขึ้น ตนจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยการเสียสละ และยึดมั่นผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ตนขอโอกาสให้ผู้หญิงได้ทำหน้าที่

ด้านนายประชา กล่าวว่าหน้าที่ของ สปช.กำหนดไว้อย่างชัดเจนคือ สนับสนุนช่วยเหลือประธานสปช.ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งในฐานะรองประธานสปช.คนที่ 2 จะต้องทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง ซึ่งดูได้จากประวัติการทำงานของตนที่ไม่เคยเข้าข้างพรรคการเมืองพรรคใดเลย ถ้าตนได้เป็น ตนจะเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.ทุกจังหวัด ทุกภาค ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

จากนั้นที่ประชุมได้มีการลงคะแนนลับโดยให้สมาชิกหย่อนบัตรลงในหีบเลือกตั้งตามลำดับรายชื่อ ผลการนับคะแนนปรากฏว่า น.ส.ทัศนา ได้รับเลือก 151 เสียง นายประชาได้ 88 เสียง ไม่ลงคะแนน 3 เสียง บัตรเสีย 1 เสียง จากนั้นนายพารณได้รายงานผลการคัดเลือกตำแหน่งประธาน และรองประธานทั้งสอง โดย เลขาธิการสภา จะนำรายชื่อที่ได้เสนอต่อคสช.เพื่อนำความกราบบังคมทูลเกล้าต่อไป

จากนั้นที่ประชุมได้มีการหารือถึงประเด็นการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ โดยสมาชิกบางส่วนเห็นว่าไม่ควรให้คนนอกเข้ามาในสัดส่วนของสปช. เพราะมีคนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมากอยู่แล้ว อีกทั้งคนบอกสามารถเข้ามาได้ตามช่องทางอื่นเช่นทางคสช. ขณะที่นายพารณ เสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ2 คณะ คือ คณะกรรมาธิการ สรรหารายชื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมควรเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 20คน และคณะกรรมาธิการสรรหาบุคคลเป็นกรรมาธิการปฏิรูปต่างๆ 11 ด้าน โดยทั้งสองชุดนี้จะทำไปจนกว่าข้อบังคับการประชุมสปช.จะมีผลบังคับใช้ ด้านนายเสรีเห็นแย้งว่าตรวจสอบประวัติยุ่งยาก ใช้เวลามาก ขณะที่การทำงานของสปช.กระชั้นชิดเวลาน้อย

นอกจากนี้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นกรณีการเริ่มกรอบเวลาการสรรหากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ต้องคัดเลือกภายใน 15 วัน นั้นต้องเริ่มนับวันใด วันที่มีการประชุมจริง หรือวันที่สำนักงานเลขาธิการสภาออกหนังสือเชิญประชุม
































































































































กำลังโหลดความคิดเห็น